Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26225
Title: ปฏิสัมพันธ์ของรูปต่างๆ ของตัวชี้ภาพกับระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The interaction of types of visual cues and levels of cognitive learning of lower secondary school students
Authors: สังวาลย์ สุสุข
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของตัวชี้ภาพกับระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างประชากรได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2527 ของโรงสว่างอารมณ์วิทยาคม จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 82 คน เครื่องมือการทดลองมี 2 ส่วน คือภาพสไลด์ที่มีตัวชี้ภาพ 3 รูปแบบคือสี, เครื่องหมายกราฟิคและรายละเอียดส่วนสำคัญของภาพ จำนวน 60 ภาพ และแบบทดสอบสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ระดับความจำและความเข้าใจ จำนวน 120 ข้อ ดำเนินการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างดูภาพสไลด์นานภาพละ 5 วินาที และทำแบบทดสอบ 2 ข้อเมื่อการดูภาพนั้น ๆ สิ้นสุดลง การตรวจให้คะแนนผลการทดสอบ ให้ 1 คะแนนสำหรับผู้ที่ตอบถูก และให้ 0 คะแนนสำหรับผู้ที่ตอบผิด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 องค์ประกอบ และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ พบว่า 1. รูปแบบของตัวชี้ภาพมีผลต่อการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของนักเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยระดับความจำและความเข้าใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของตัวชี้ภาพกับระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ตัวชี้ภาพที่เป็นสีมีผลต่อการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยในระดับความจำน้อยกว่าระดับความเข้าใจ และมีผลน้อยกว่าตัวชี้ภาพที่เป็นเครื่องหมายกราฟิคและรายละเอียดส่วนสำคัญของภาพทั้งในระดับความจำและความเข้าใจอีกด้วย ส่วนคู่อื่น ๆ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: Objectives; The purpose of this study was to investigate the interaction of types of visual cues and levels of cognitive learning of lower secondary school students. Methodology; The experiment was conducted under 2 factors: one was visual cues; and other was levels of cognitive learning. Subjects were 82 students of Sawang –Arom Wittayakhom School, Uthaithani which were randomly sampling. Tests were 60 slides and 120 achievement test items. Procedures; The test picture was presented for 5 seconds each, then the subjects were asked to give correct responses. The subjects get one mark for their correct responses and got zero mark for their uncorrected responses. The data were analyzed by means of Two Way ANOVA at the significant level was .01, and Sheffe’s test was used to test for all possible comparison. Finding; 1. There was significant difference between 3 types of visual cues at F (2,486) =24.70, P .01. 2. There was significant difference between 2 levels of cognitive learning at F (1,486) =10.67, P .01. 3. There was significant difference between types of visual cues and levels of cognitive learning at F (2,486) =12.59, P .01. The significant difference showed that if the level of knowledge was used to compare, the scores of color cues were less than the scores of graphic devices and visual details, and still less than when the level of comprehension was used. 4. There were no significant differences between other comparisons at the level .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26225
ISBN: 9745639192
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sangwan_Su_front.pdf412 kBAdobe PDFView/Open
Sangwan_Su_ch1.pdf545.09 kBAdobe PDFView/Open
Sangwan_Su_ch2.pdf962.52 kBAdobe PDFView/Open
Sangwan_Su_ch3.pdf337.03 kBAdobe PDFView/Open
Sangwan_Su_ch4.pdf330.36 kBAdobe PDFView/Open
Sangwan_Su_ch5.pdf395.47 kBAdobe PDFView/Open
Sangwan_Su_back.pdf652.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.