Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26282
Title: สถานีวิทยุสถาบันการศึกษากับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
Other Titles: University radio and political participation
Authors: กรรณิการ์ โต๊ะมีนา
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: วิทยุเพื่อการศึกษา
Issue Date: 2548
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของสถานีวิทยุสถาบันการศึกษา 3 แห่ง คือ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีซึ่งการเลือกสถานีวิทยุสถาบันการศึกษา 3 แห่งดังกล่าวนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และศึกษาพฤติกรรมการรับฟังรายการจากสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาในแต่ละแห่ง กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ฟังของสถานีวิทยุ สถาบันการศึกษา ทั้ง 3 แห่งจำนวน 450 คน โดยแต่ละพื้นที่ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน ประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานีวิทยุสถาบันการศึกษาทั้งสามแห่งมีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน 2. กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองจากรายการของสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาแตกต่างกันตามสถานีวิทยุสถาบันการศึกษา 3. กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจข้อมูลข่าวสารทางการเมืองจากรายการของสถานีวิทยุสถาบันการศึกษาแตกต่างกัน 4. กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับต่ำ 5. พฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสถานีวิทยุสถาบันการศึกษามีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
Other Abstract: The purpose of this research is to study the performance results of three University Radio station, namely Chulalongkorn University Radio, Voice of Mass Communication(Chiangmai University radio) and Prince of Songkhla University Radio, Pattani Campas concerning their roles on civic participation in politics. Sample groups participated in this study comprised 450 people. The method applied include questionnaire, frequency data analysis by percentage average and coefficient using Pierson’s product moment correlation. Evaluation assessment was made by SPSS/PC instant computer program. Results from the research : 1. The three radio stations were run under different administration model. 2. The public hold a behavior of openly receiving political information from university radio stations with different views. 3. The public pay attention differently in political news and information aired by university radio stations. 4. The public showed political participation behavior at low level. 5. Relationship between listening behavior of university radio programs were significantly to political participation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26282
ISBN: 9741438524
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kannika_to_front.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_to_ch1.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_to_ch2.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_to_ch3.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_to_ch4.pdf20.13 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_to_ch5.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open
Kannika_to_back.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.