Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26722
Title: ทฤษฎีเกี่ยวกับการอ้างเหตุผลสนับสนุนความเชื่อ : มูลฐานนิยมหรืออมูลฐานนิยม
Other Titles: Theories of belief justification : foundationalism or nonfoundationalism
Authors: สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ
Advisors: มารค ตามไท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การอ้างเหตุผล
ความเชื่อ
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาของงานวิจัยนี้ คือปัญหาว่า ในโครงสร้างของการอ้างเหตุผลสนับสนุนความเชื่อใด ๆ จะมีข้อความพื้นฐานหรือไม่ โดยความเชื่อซึ่งกล่าวถึงนี้เป็นความเชื่อในข้อความเกี่ยวกับโลก ในวงการญาณวิทยามีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหานี้ที่แตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น ในการวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะตีความปัญหานี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และประการที่สอง เพื่อที่จะแสวงหาทฤษฎีที่เป็นไปได้มากที่สุด ในขั้นต้น ข้าพเจ้าจะกำหนดขอบเขตของมูลฐานนิยมและอมูลฐานนิยม โดยอาศัยเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งสองทฤษฎี และเนื่องจากข้าพเจ้ามีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า อมูลฐานนิยมเป็นทฤษฎีที่เป็นไปได้มากที่สุด ดังนั้น ในขั้นที่สองข้าพเจ้าจะพยายามชี้ให้เห็นว่า มูลฐานนิยมเป็นทฤษฎีที่ไม่เหมาะสม โดยแสดงว่า ทฤษฎีมูลฐานนิยมที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปสองทฤษฎี ต่างก็มีปัญหาอยู่หลายปัญหาในการที่จะอธิบายโครงสร้างของการอ้างเหตุผลสนับสนุนความเชื่อ ทั้งสองทฤษฎีนี้ได่แก่ทฤษฎีของ ซี.ไอ.ลูวิส ซึ่งได้อธิบายไว้ใน “การวิเคราะห์เรื่องความรู้และคุณค่า” และทฤษฎีของ อาร์.เอ็ม.ซิซัล์ม ซึ่งอธิบายไว้ใน “ทฤษฎีความรู้” (ฉบับ พิมพ์ครั้งที่ 2 ) ในขั้นสุดท้าย ข้าพเจ้าจะพยายามให้เหตุผลสนับสนุนความคิดที่ว่า มีทั้งข้อความพื้นฐานและข้อความที่ไม่ใช่ข้อความพื้นฐาน แต่เราไม่ได้ใช้ข้อความพื้นฐานในการอ้างเหตุผลสนับสนุนข้อความที่ไม่ใช่ข้อความพื้นฐานใด ๆ เลย ดังนั้น สำหรับปัจจุบันอมูลฐานนิยมจึงเป็นทฤษฎีที่เป็นไปได้มากที่สุด และทฤษฎีอมูลฐานนิยมที่ว่านี้ก็คือ ทฤษฎีของ ดับเบิลยู.วี.โอ.ไควน์ ใน ”ความเชื่อที่รับโดยไม่พิจารณาสองประการของประสบการณ์นิยม”
Other Abstract: The problem of this thesis is the problem of whether there are any basic statements in any structure of belief justification, when these beliefs are statements about the world. In epistemological discussion there are many diverse opinions about this problem. The aims of the thesis are, to interpret this problem clearer, and secondly, to find the most possible theory. At the first stage, I will try to demarcate the approaches of foundationalism from nonfoundationalism by referring to their necessary conditions. Because of my tendency to believe that the most possible theory is nonfoundationalism, at the second stage, I will try to indicate that foundationalism is not a good theory by showing that two distinguished foundational theories, C. I. Lewis’ theory in “An Analysis of Knowledge and Valuation” and R.M. Chisholm’s theory in “Theory of Knowledge” (second edition) -, run into many difficulties in explaning the structure of belief justification as foundationalism. And, finally, I will defend the position that there are basic statements and non-basic statements, but we do not use any basic statement in justification of the non-basic statements. So, for the present, the most possible theory is nonfoundationalism, and this nonfoundational theory is similar to that W.V.O. Quine’s in “Two Dogmas of Empiricism.”
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26722
ISBN: 9745631167
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriphen_Pi_front.pdf357.62 kBAdobe PDFView/Open
Siriphen_Pi_ch1.pdf485.63 kBAdobe PDFView/Open
Siriphen_Pi_ch2.pdf463.8 kBAdobe PDFView/Open
Siriphen_Pi_ch3.pdf992.22 kBAdobe PDFView/Open
Siriphen_Pi_ch4.pdf577.61 kBAdobe PDFView/Open
Siriphen_Pi_ch5.pdf270.91 kBAdobe PDFView/Open
Siriphen_Pi_back.pdf276.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.