Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26992
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคล ความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารและความพึงพอใจในการทำงาน ของอาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี |
Other Titles: | The relationships among demographic variables, communication satisfaction and job satisfaction of the medical staffs, Faculty of Medicine, Ramathibodi hospital |
Authors: | สมศรี ศานติเกษม |
Advisors: | ธนวดี บุญลือ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคล ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับตำแหน่ง และระยะเวลาของการทำงาน กับความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยบุคคลกับความพึงพอใจในการทำงาน ปัจจัยบุคคล และความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารกับความพึงพอใจในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ อาจารย์แพทย์ภายในภาควิชา และหน่วยงานต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 181 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคล ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับตำแหน่ง และระยะเวลาของการทำงานกับความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร พบว่า ระดับตำแหน่งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพศ อายุ และระยะเวลาของการทำงานไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคลซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับตำแหน่ง และระยะเวลาของการทำงาน กับความพึงพอใจในการทำงาน พบว่า ระดับตำแหน่งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระยะเวลาของการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพศ อายุ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับความพึงพอใจในการทำงาน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารและความพึงพอใจในการทำงานพบว่า ความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคล ความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารและความพึงพอใจในการทำงาน พบว่า ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาของการทำงาน และความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .05 และ .01 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดพบว่า ระดับตำแหน่งมีความสัมพันธ์ กับความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารและความพึงพอใจในการทำงาน เพศ และอายุไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร และความพึงพอใจในการทำงานสำหรับระยะเวลาของการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร และความพึงพอใจในการทำงาน |
Other Abstract: | The purpose of this study is to determine the following relationships : a) demographic variables such as sex, age, position classification and job experience and communication satisfaction b) demographic variables and job satisfaction c) communication satisfaction and job satisfaction d) demographic variables, communication satisfaction and job satisfaction. Structured questionnaires were filled by 181 medical staffs of the Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital. Statistical techniques such as percentage, Pearson’s Product Moment Coefficient of correlation and Multiple Regression Analysis were used in data analysis. The Findings are as follows. Among demographic variables such as sex, age, position classification and job experience, position classification is the best indicator of communication satisfaction. There is a significant positive relationship between position classification and communication satisfaction. Other demographic variables such as sex, age and job experience have no significant positive relationship with communication satisfaction In terms of job satisfaction, findings show that sex and age have no significant relationship with job satisfaction. On the other hand, position classification is still the best indicator of job satisfaction. It is worth noticing that there is a significant negative relationship between job experience and job satisfaction. A significant positive relationship was found between communication satisfaction and job satisfaction in a pearson product moment analysis. In a multiple regression analysis finding shows that demographic variables, communication satisfaction can mutually explain approximately 29 percent variation of job satisfaction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26992 |
ISBN: | 9745666807 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somsri_Sa_front.pdf | 466.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsri_Sa_ch1.pdf | 447.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsri_Sa_ch2.pdf | 993.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsri_Sa_ch3.pdf | 357.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsri_Sa_ch4.pdf | 792.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsri_Sa_ch5.pdf | 520.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsri_Sa_back.pdf | 821.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.