Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2704
Title: ฉันทลักษณ์ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ : การสืบทอด การสร้างสรรค์ และความสัมพันธ์กับสุนทรียภาพทางวรรณศิลป์
Other Titles: Prosody in modern Thai poetry: continuity, creation, and relation to literary aesthetics
Authors: กีรติ ธนะไชย, 2521-
Advisors: ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Cholada.R@Chula.ac.th
Subjects: การแต่งคำประพันธ์
ศิลปะการประพันธ์
กวีนิพนธ์ไทย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาฉันทลักษณ์ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่เพื่อชี้ให้เห็นการสืบทอดขนบ การสร้างสรรค์ และความสัมพันธ์ของฉันทลักษณ์กับการสร้างความงามทางวรรณศิลป์ โดยเลือกศึกษากวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, คมทวน คันธนู, ศิวกานท์ ปทุมสูติ, แรคำ ประโดยคำ, ไพวรินทร์ ขาวงาม, กานติ ณ ศรัทธา, โกศล กลมกล่อม และศักดิ์สิริ มีสมสืบ ผลการวิจัยพบว่าฉันทลักษณในกวีนิพนธ์สมัยใหม่สืบทอดจากวรรณคดีลายลักษณ์ทั้งร่าย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และกลบท แสดงให้เห็นว่ากวีร่วมสมัยได้ศึกษาฉันทลักษณ์ทั้งจากตำราประพันธศาสตร์และวรรณคดีโดยเฉพาะวรรณคดีแบบฉบับมาแล้วเป็นอย่างดี นอกจากนี้ กวียังใช้ฉันทลักษณ์ที่มาจากเพลงพื้นบ้านและวรรณคดีท้องถิ่นด้วย ทำให้ฉันทลักษณ์ในกวีนิพนธ์สมัยใหม่มีความหลากหลายและต่อเนื่องกับวรรณคดีในอดีตอย่างชัดเจน ความรู้ความเข้าใจขนบฉันทลักษณ์ของกวีได้นำไปสู่การยึดถือขนบฉันทลักษณ์ดังกล่าวเป็นตัวอย่างหรือต้นแบบในการปรับปรุงประยุกต์แบบแผนเดิมทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน กลบท ฉันทลักษณ์จากเพลงพื้นบ้านและวรรณคดีท้องถิ่นให้เป็นฉันทลักษณ์รูปแบบใหม่อีกหลากหลายชนิด ทำให้เห็นว่ากวีร่วมสมัยยังคงสร้างสรรค์ฉันทลักษณ์ในกวีนิพนธ์เช่นเดียวกับกวีในอดีต ฉันทลักษณ์รูปแบบใหม่จึงเป็นขนบวรรณศิลป์ร่วมสมัยที่จะสืบทอดในการสร้างสรรค์วรรณคดีต่อไป การสืบทอดขนบและการสร้างสรรค์ฉันทลักษณ์ในกวีนิพนธ์สมัยใหม่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างความงามทางวรรณศิลป์ กวีร่วมสมัยใช้เสียง คำ และจำนวนคำในบทของฉันทลักษณ์แต่ละประเภทเป็นเครื่องมือในการสร้างลีลาและลักษณะเด่นในกวีนิพนธ์ที่เอื้อให้เกิดความไพเราะ และเน้นย้ำความหมายของตัวบท กวีนิพนธ์สมัยใหม่จึงมีคุณค่าและสะท้อนภูมิปัญญาด้านวรรณศิลป์ของกวีไทยที่ดำรงอยู่อย่างไม่มีวันเสื่อมสูญ
Other Abstract: The objective of this thesis is to study Thai prosody in modern poetry in order to examine the continuity and creativity of prosodic forms and the relation between prosody and literary aesthetics. In this thesis, the works of Angkhan Kalayanaphong, Naowarat Phongphaiboon, Khomthuan Khanthanu, Siwakarn Pathumsut, Rarekham Pradoykham, Phaiwarin Khao ngarm, Kanti Na Sattha, Koson KlomKlorm, and Saksiri Meesomseub, who are contemporary poets, are selected as important data. The study reveals that prosody in modern poetry consists of written conventional verse forms: Ray, Khlong, Chan, Kap, Klon and Konlabot, including folk and local prosody. Therefore, there are various kinds of versification in modern prosody. Additionally the continuity of the ancient prosody as well as the relation to classical prosody are obvious. Regarding creativity, prosody in modern Thai poetry has become contemporary literary convention because it is improved and adapted by the poet's knowledge of traditional verse forms. Continuity and creativity not only vary in types of prosody but also evidently possess literary aesthetics. Contemporary poets use alliteration, rhythm, metre and stanza of prosody to create all styles and characteristics of both the melodies and meanings. Therefore, the prosody in modern Thai poetry is a valuable heritage of Thai literature, reflecting the literary wisdom of Thai poets from the past till the present.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2704
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.560
ISBN: 9741763859
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.560
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
keerati.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.