Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27253
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ความทนทาน พฤติกรรมเผชิญสถานการณ์ชีวิตกับระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Relationships between psychological self care, hardiness, coping behavior, and stress levels of professional nurses in governmental hospitals Bangkok metropolis |
Authors: | ศรีรัตนา ศุภพิทยากุล |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความเครียด การดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ความทนทาน พฤติกรรมเผชิญสถานการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานครและศึกษากลุ่มตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด รวมทั้งสัมประสิทธิ์ของกลุ่มตัวแปรที่ร่วมกันทำนายระดับความเครียด ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรเกี่ยวกับการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ได้แก่ การพัฒนา การรู้จักตนเอง การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การบริหารเวลา การเผชิญปัญหา การพัฒนาระบบสนับสนุนทางสังคม และการดูแลตนเองโดยทั่วไป ความทนทาน ได้แก่ ความยึดมั่น ความสามารถในการควบคุมและความท้าทาย และพฤติกรรมเผชิญสถานการณ์ชีวิต ตัวอย่างประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 371 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้จัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงแล้ว และแบบสำรวจความเครียดซึ่งเป็นแบบสอบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.ความเครียด การดูแลคนเองด้านสุขภาพจิต ความทนทาน ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมเผชิญสถานการณ์ชีวิตของพยาบาลอยู่ในระดับต่ำ 2. การดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความทนทานมีความสัมพันธ์ทางลบ กับระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 พฤติกรรมเผชิญสถานการณ์ชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หมายความส่า พยาบาลที่มีการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และควาทนทาน ในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะมีความเครียดในระดับต่ำ ส่วนพยาบาลที่มีพฤติกรรมเผชิญสถานการณ์ชีวิตในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะมีความเครียดในระดับสูง 3. การรู้จักตนเอง การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การบริหารเวลา การเผชิญปัญหา การพัฒนาระบบสนับสนุนทางสังคม การดูแลตนเองโดยทั่วไป ความยึดมั่น ความสามารถในการควบคุม ความท้าทาย พฤติกรรมเผชิญสถานการณ์ชีวิต สามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพได้ ร้อยละ 19.74 (R² = .1974) โดยมีตัวแปรการดูแลตนเองโดยทั่วไป และความสามารถในการควบคุม ที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the level of stress, psychological self care, hardiness, and coping behavior of professional nurses in Governmental Hospitals located in Bangkok Metropolis, and to search for the variables that would be correlated and could predict the stress level. These variables included psychological self care which devided into 6 aspects : development of self awareness, effective communication, time management, coping with problem, establishment of social support system, and universal self care, hardiness which composed of commitment, control and challenge, and coping behavior. The subjects consisted of 371 professional nurses selected by multi-stage random sampling. The instruments developed by the investigator was the questionnaire which was validated and tested for internal consistency and the standardized HOS. The findings were as the followings : 1. The level of stress, psychological self care, hardiness of professional nurses were at the medium level, whereas coping behavior of professional nurses was at the low level. 2. Psychological self care, and hardiness of professional nurses were significantly and negatively related to stress level at the .001 level, while coping behavior of professional nurses was significantly and positively related to stress level, at the .05 level. Therefore, nurses who possessed high level of self care and hardiness score tended to have low-level of stress and those who possessed high level of coping behavior tended to have high level of stress. 3. The 19.74 percents of variance of stress level was explained by all variables in which only universal self care and control were significantly able to predict the stress level at the .001 and .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27253 |
ISBN: | 9745786071 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sriratana_su_front.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriratana_su_ch1.pdf | 4.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriratana_su_ch2.pdf | 17.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriratana_su_ch3.pdf | 2.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriratana_su_ch4.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriratana_su_ch5.pdf | 7.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriratana_su_back.pdf | 7.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.