Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27531
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลำดวน เศวตมาลย์
dc.contributor.advisorสุษม ศุภนิตย์
dc.contributor.authorอมรินทร์ นันทวิทยาภรณ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-11T15:15:48Z
dc.date.available2012-12-11T15:15:48Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745665223
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27531
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารในประเทศไทย โดยการรวบรวมข้อมูลจากผลการวิเคราะห์คุณภาพหรือมาตรฐานอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ในระหว่าง พ.ศ. 2512 ถึง 2527 โดยอาศัยคุณภาพตามที่กฎหมายอาหารกำหนดไว้เป็นมาตรฐานของความปลอดภัยในการบริโภค พบว่า อาหารควบคุมเฉพาะ 14 ประเภทซึ่งได้แก่ สีผสมอาหาร น้ำมันพืชปรุงอาหาร น้ำนมโค และผลิตภัณฑ์นมโค ไอศกรีม ผงชูรส ซอส น้ำปลา น้ำส้มสายชู ชา น้ำบริโภค เครื่องดื่ม และเครื่องดื่มเข้มข้น อาหารกระป๋อง กาแฟ และน้ำแข็ง ซึ่งเป็นอาหารที่ประชาชนบริโภคเป็นประจำวันนั้น ส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดมาตลอดระยะเวลา 15 ปีทีผ่านมา ยกเว้นแต่กาแฟซึ่งนับว่ามีความปลอดภัยต่อการบริโภคสูงมาก และถ้าพิจารณาแนวโน้มของความปลอดภัยในการบริโภคอาหารควบคุมดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า สีผมอาหาร น้ำนมโคและผลิตภัณฑ์นมโค ผงชูรส ซอส ชา อาหารกระป๋อง และน้ำแข็ง มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกือบเท่ามาตรฐานที่กฎหมายอาหารกำหนด ตรงกันข้าม น้ำมันพืชปรุงอาหาร ไอศกรีม น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำบริโภค เครื่องดื่มและเครื่องดื่มเข้มข้น มีคุณภาพไม่แน่นอน เป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่าจะไม่ปลอดภัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้แต่อาหารควบคุมเฉพาะ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดมาตรฐานไว้อย่างรัดกุมแล้ว ส่วนใหญ่ยังมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด ส่งผลให้จำนวนคดีที่เกี่ยวกับอาหาร ทั้งอาหารควบคุมเฉพาะและอาหารทั่วไปที่พบว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร กฎกระทรวง และประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มจำนวนขึ้น เช่นในระหว่าง พ.ศ. 2507 ถึง 2517 มีจำนวนคดีไม่ถึง 50 คดีต่อปี ซึ่งมักเป็นความผิดอันเนื่องมาจากการไม่มีใบอนุญาตในการผลิตอาหาร ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์ และแสดงฉลากไม่ถูกต้องเป็นหลัก ครั้นต่อมาจำนวนคดีกลับเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2520 มีจำนวนคดีสูงสุดเป็น 462 คดีต่อปี ในฐานความผิดทั้ง 3 ที่กล่าวมาแล้ว กับในความผิดฐานผลิตอาหารปลอมและผลิตอาหารที่ใส่สีที่ทางราชการไม่อนุญาตให้ใช้กับอาหารเพิ่มขึ้นด้วย ความปลอดภัยหรือความไม่ปลอดภัยในการบริโภคอาหารเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากปัจจัยทั้ง 4 ประการดังต่อไปนี้คือ กฎหมายอาหาร การดำเนินการควบคุมของทางราชการ ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร และผู้บริโภค แม้ว่าจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติอาหารกฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงสาธารณสุขตลอดมาก็ตาม ยังพบว่ามีความบกพร่องของกฎหมายอยู่หลายประการที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการบริโภคอาหารได้ การขาดอัตรากำลังและงบประมาณสำหรับหน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร การที่ผู้ผลิตอาหารหรือผู้ประกอบธุรกิจอาหารขาดความรู้ ขาดเงินทุน และขาดความรับผิดชอบต่อสังคมเหล่านี้ ต่างเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอาหารทั้งนั้น ยิ่งผู้บริโภคไม่รู้จักการบริโภคอย่างฉลาด ยิ่งได้รับความไม่ปลอดภัยในการบริโภคอาหารสูงยิ่งขึ้น แนวทางในการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยในการบริโภค จึงอยู่ที่การปรับปรุงแก้ไขปัจจัยทั้ง 4 ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันนั้นเอง โดยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาหารให้ทันสมัยและรัดกุม สนับสนุนงานควบคุมมาตรฐานอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ด้วยงบประมาณและอัตรากำลัง ส่งเสริมการผลิตอาหารในด้านการลงทุน ความรู้ในการผลิตและความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมกับสร้างผู้บริโภคที่ฉลาดขึ้นมาด้วย
dc.description.abstractalternativeFood safety in Thailand was a retrospective study, conducted by compiling and analyzing a Specific Controlled Food quality data, collected by Food and Drug Administration Division, Ministry of Public Health, during 1969 to 1984. The quality data of 14 Specific Controlled food items which were commonly consumed in daily life were analyzed by legal definition. It was shown that all except coffee were under legal standard. Trend of safety of the other 13 items through 15 years revealed that tea, canned foods, monosodium glutamate, milk and dairy products gained better quality than food dyes, ice and sauces. But ice cream, cooking oil, soft drink and concentrated soft drink, drinking water, fish sauce and vinegar were unreliable and risky. The data also showed that there were less than 50 cases of illegal food activators per year during 1963 to 1973. No food production license, food impurities and illegal labeling were commonly practiced. Later, the number of cases became increased, the highest were 462 cases per year in 1977. Food adulteration and illegal color additives were included as well as mentioned above. Food safety and hazard were impacted by four factors, food legislation, official food administration, food production and consumption. Although food laws had been amended quite often during 15 years. Some Loopholes were taken advantageously. The most modern and effective laws were emphasized. More budget and good management of the Food and Drug Administration Division were recommended. Food industry promotion, through financial support and technical knowledge, were suggested. And consumer education was also advised.
dc.format.extent575862 bytes
dc.format.extent406151 bytes
dc.format.extent2238852 bytes
dc.format.extent1309506 bytes
dc.format.extent832481 bytes
dc.format.extent591995 bytes
dc.format.extent454451 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความปลอดภัยในการบริโภคอาหารในประเทศไทยen
dc.title.alternativeFood safety in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amarint_Na_front.pdf562.37 kBAdobe PDFView/Open
Amarint_Na_ch1.pdf396.63 kBAdobe PDFView/Open
Amarint_Na_ch2.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Amarint_Na_ch3.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Amarint_Na_ch4.pdf812.97 kBAdobe PDFView/Open
Amarint_Na_ch5.pdf578.12 kBAdobe PDFView/Open
Amarint_Na_back.pdf443.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.