Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27537
Title: | ระบบบัญชีต้นทุนและการควบคุมสินค้าคงเหลือ ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนม แห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Cost accounting system and investory control dairy farming promotion organization of Thailand |
Authors: | วิมล รอดเพ็ชร |
Advisors: | วันเพ็ญ กฤตผล มะลิ จันทนะสุด |
Subjects: | องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย การบัญชีต้นทุน การบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลัง Cost accounting Accounting Inventory control |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทเกษตรกรรมและพาณิชย- กรรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2514 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1) ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมและสัตว์อื่นที่ให้น้ำนมและเนื้อ 2) ผลิตน้ำนมและเนื้อ ประกอบผลิตภัณฑ์น้ำนมและเนื้อ 3) ทำการฝึกอบรมให้บุคคลมีความชำนาญในการเลี้ยงโค และสัตว์อื่นที่ให้น้ำนมและเนื้อ การผลิตน้ำนมและเนื้อ และการประกอบผลิตภัณฑ์จากน้ำนมและเนื้อ 4) ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนและให้ซึ่งโคนม สัตว์อื่นที่ให้น้ำนมและเนื้อ น้ำนมและเนื้อและผลิตภัณฑ์จากน้ำนมและเนื้อ 5) ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการโคนมของ อ.ส.ค. จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยไม่ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 เป็นต้นมา ดังนั้นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยจึงต้องช่วยเหลือตัวเองมาตลอด การบริหารงานขององค์การฯ จึงเป็นไปในรูปของธุรกิจ ผู้บริหารจำเป็นต้องดำเนินการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่อความอยู่รอดขององค์การฯ ซึ่งต้องเผชิญทั้งปัญหาภายในและปัญหาภายนอก เป็นต้นว่า ภาวะตลาด นโยบายรัฐบาล คู่แข่งขัน ภาวะเศรษฐกิจ ฯลฯ การดำเนินงานในอดีตขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยเริ่มจะประสบผลขาดทุน ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องปรับปรุงงานในทุกๆด้านให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตและการขาย ซึ่งเป็นหลักสำคัญและจำเป็นต้องแก้ไขระบบบัญชี และงานอื่นๆ ให้สอดคล้องกันไป เพราะรายงานการเงินที่ดีจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำไปวางแผน ควบคุม วิเคราะห์ และตัดสินใจปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ได้ทันท่วงที การวิจัยเรื่องระบบบัญชีต้นทุน และการควบคุมสินค้าคงเหลือขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย กระทำโดยการรวบรวมข้อมูลจากวิธีการปฏิบัติของงานบัญชีต้นทุนและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่สำนักงานองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี รวมทั้งระเบียบและข้อบังคับขององค์การฯ โดยการศึกษาวิธีการปฏิบัติเดิมที่ใช้อยู่ และค้นคว้าหาข้อบกพร่อง เพื่อจะนำมาใช้ในการวางระบบบัญชีใหม่ โดยยังคงเหลือส่วนที่ดีไว้ให้ใช้ปฏิบัติตามเดิม สำหรับส่วนที่ไม่ดีนั้นได้พิจารณาแก้ไขใหม่ ผลการศึกษาปรากฏว่า เดิมองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย มิได้มีการจัดทำต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท การตีราคาสินค้าคงเหลือจะใช้วิธีการคิดลด 15% จากราคาขาย และมิได้บันทึกรายการบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง (Perpetual Method) กิจกรรมการผลิตขององค์การส่งเสริมการโคนมแห่งประเทศไทยจะแตกต่างกันออกไป บางกิจกรรมเหมาะสมแก่การใช้ระบบต้นทุนงาน (Job Cost System) คือ ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อ ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์แต่ละประเภท ต้นทุนการให้บริการสัตวแพทย์และผสมเทียมบางกิจกรรมเหมาะสมแก่การใช้ระบบต้นทุนตอน (Process Cost System) คือ ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์นม ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลัก ผู้บริหารได้พยายามหาทางเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุง เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลตามเป้าหมาย งานทางด้านบัญชีต้นทุนจึงเป็นเครื่องมือของผู้บริหารองค์การฯ ในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะมีผลให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง และสามารถควบคุมปัจจัยการผลิตต่างๆ ได้แก่ วัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขั้นแรกจะใช้วิธีการคิดต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ของแต่ละประเภทโดยประมาณ คือ ใช้ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าแรงงานตามที่เกิดขึ้นจริง ส่วนค่าใช้จ่ายโรงงานใช้การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายโรงงานโดยประมาณไว้ล่วงหน้า ซึ่งการคิดต้นทุนในลักษณะเช่นนี้มีผลเสีย คือ ทำให้ต้นทุนการผลิตในแต่ละเดือนต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงานในแต่ละเดือนอันจะผลกระทบถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายโรงงานจัดสรรด้วย และหากมีการประมาณการค่าใช้จ่ายโรงงานผิดพลาดไปจากความเป็นจริงมาก ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตคลาดเคลื่อนไป ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ระบบบัญชีต้นทุนที่ อ.ส.ค. ควรจะนำมาใช้ในขั้นต่อไป คือ การใช้ระบบบัญชีต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost Accounting System) ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า เมื่อนำระบบบัญชีต้นทุนมาตรฐานมาใช้แล้ว การบริหารงาน การควบคุมต้นทุนการผลิต และการควบคุมสินค้าคงเหลือขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The Dairy Farming Promotion Organization of Thailand (D.P.O.) is a state enterprise under the control of Ministry of Agriculture and Cooperatives. When it was first established in A.p. 1971, by a Royal Decree, the main objectives were stated as follows; 1. Promoting dairy farming and the other animals that can provide meat and milk. 2. Producing meat and milk, and the products from meat and milk3. Training people to have skill in dairy farming and other animals that can provide meat and milk, producing meat and milk as well as other products from meat and milk. 4. Purchasing, selling, exchanging and giving dairy cows, other animals that can provide meat and milk, meat and milk and products from meat and milk. 5. Engaging in other enterprises compatible with the above mentioned main objectives On the study of DPO's financial statement it was found that the Organization has never received any budget from the Government since 1980. As a result, in order to help itself and maintain its stability, DPO should be managed as a business concern. The executives of the Organization are at present trying to solve many problems, both internal and external, encountered by the Organization, namely, problems stemming from wavering Government policy, general economic conditions, marketing problems etc. The Organization has incurred loss throughout its operation, improvements in all aspects of the orgainzation thus become imperative, especially on production, sales and accounting system, since effective reporting could facilitate management in its role of planning, controlling, analysing and making decision as well as taking timely corrective actions. A study of Cost Accounting System and Inventory Control of Dairy Farming Promotion Organization of Thailand was carried out by the way of a study of data in operating method obtained from the cost accounting section, documentary research, regulation and rules of the Organization and other official units involved, at the Organization office in Muak Lek District, Saraburi Province. From the study it was found that the Organization did not have the cost of production of each product. Inventory valuation was done by taking off 15 percent from selling price and no entry of inventory was made in perpetual method. Also the production methods of the various products of the Organization vary from each other, some activities were suitable for Job Cost System such as the production of meat products, the cost of cow's food products and the cost of veterinary service while milk production was suitable for Process Cost System. In trying to improve the effectiveness of their management, the executive board realized that good cost accounting system would be an effective tool in improving production efficiency and effecting cost reduction through controlling each elements of cost. In the first step of revising cost accounting system, the author suggested that estimated cost should be recorded both under job cost and process cost systems, using actual cost of raw materials, direct labour and applied manufacturing overhead rate. As the culculation. of cost per unit in this method will differ month by month, the author suggested the eventually the organization should use standard cost accounting system. The author believes that the suggested cost accounting system and inventory control method would be effective in cost control as well as helpful to the management in planning and improving the operation of the organization. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27537 |
ISBN: | 9745666092 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vimol_Ro_front.pdf | 532.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vimol_Ro_ch1.pdf | 292.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vimol_Ro_ch2.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vimol_Ro_ch3.pdf | 5.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vimol_Ro_ch4.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vimol_Ro_ch5.pdf | 532.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vimol_Ro_back.pdf | 63.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.