Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27597
Title: อุปทานการสนองตอบต่อราคาข้าวในประเทศไทย
Other Titles: Supply response to price of rice in Thialand
Authors: ศักดิ์ชัย สุวรรณไพฑูรย์
Advisors: วิวัฒน์ โชติเลอศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ข้าว -- ราคา -- ไทย
ข้าว -- อุปทานและอุปสงค์
Rice -- Prices -- Thailand
Rice -- Supply and demand
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม สาขาเกษตรนอกจากจะเป็นแหล่งจ้างงานที่ใหญ่ที่สุดแล้ว สินค้าเกษตรยังเป็นแหล่งเงินตราต่างประเทศที่สำคัญที่สุดอีกด้วย ในสาขาเกษตรนี้ ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญมากที่สุด แต่ชาวนาในฐานะผู้ผลิตข้าวยังคงความยากจนโดยตลอด ความยากจนของชาวนานั้น นอกจากจะเกิดจากปัจจัยธรรมชาติแล้ว ยังเป็นผลมาจากระดับราคาข้าวอีกด้วย นโยบายของรัฐบาลมีส่วนในการกดราคาข้าวที่ชาวนาขายมาก ดังนั้นการวิเคราะห์เกี่ยวกับการตอบสนองต่อราคาของข้าว จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับราคาข้าวที่รัฐบาลใช้อยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ ถ้าผลวิเคราะห์พบว่า ชาวนามีการตอบสนองต่อราคาที่ได้รับแล้ว รัฐบาลสามารถใช้นโยบายราคาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการทำนาได้ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหากชาวนาไม่สนองตอบต่อราคาแล้ว รัฐบาลก็จะส่งเสริมการทำนาโดยวิธีอื่นเช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หรือสภาวะทางสังคมของเกษตรกร เป็นต้น ดังนั้น ความสัมพันธ์ของระดับราคาข้าวกับชาวนาจึงเป็น เรื่องที่น่าสนใจ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาการสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาข้าวของชาวนาโดยใช้เครื่องมือวัดทางเศรษฐมิติ โดยสร้างรูปแบบจำลองของพื้นที่เพาะปลูกข้าวในประเทศไทยขึ้น เพี่อประมาณค่าและวิเคราะห์แนวโน้ม รูปแบบจำลองดังกล่าวมีพื้นฐานบน Adjustment Model การวัดการสนองตอบของชาวนานั้น กระทำทั้งเป็นรายภาคและรายประเทศ และทั้งยังได้แบ่งแยกการวิ เคราะห์ออก เป็นการปลูกข้าวในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานอีกด้วย จากการประมวลค่าปรากฏว่า ชาวนาในแต่ละภาคจะมีการสนองตอบต่อราคาทั้งสิ้น นอกจากภาคใต้ แต่สนองตอบในระดับที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยสรุปแล้ว ชาวนาไทยสนองตอบต่อราคาโดยมีความยืดหยุ่นต่อราคาเป็น 0.13421 ในขณะที่ชาวนาในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานจะสนองตอบต่อราคาโดยมีความยืดหยุ่นต่อราคา เป็น 0.15379 และ 0.12504 ตามลำดับ นอกจากนี้ความยืดหยุ่นของการปรับตัวของพื้นที่เพาะปลูกข้าว ต่างก็อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำทั้งสิ้น โดยความยืดหยุ่นของการปรับตัวของพื้นที่เพาะปลูกข้าวของประ เทศ ในเขตชลประทานและ นอกเขตชลประทานเป็น 0.13603, 0.11033 และ 0.16480 ตามลำดับ อันแสดงว่าชาวนามีการปรับตัวต่อกา เปลี่ยนแปลงของราคาที่ยังช้าอยู่ ซึ่งอาจจะมีสา เหตุจากความจำกัดของพื้นที่ เพาะปลูกข้าว เนื่องจากว่าชาวนามีการสนองตอบต่อราคาในระดับที่ต่ำและมีการปรับตัวที่ช้า ทำให้พิจารณาได้ว่า การนำนโยบายราคามาใช้เพื่อกระตุ้นการทำนาของชาวนาไทย อาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
Other Abstract: Thailand is an agricultural country. Agricultural sector is the largest source of employment and also the major source of foreign exchange. Rice is the most important crop of all. However, farmers who produce rice are classified as one of the lowest economic classes in the country. The poverty of farmers has been the result of not only the adverse natural conditions but also of the unfavorable price. A certain government's policy has been depressing the price of rice at the farm gate. An analysis of responsiveness of farmers to the price of rice may be used as a basis for the evaluation of the government policy concerned. If farmers are responsive to prices, the government will be able to use rice policy to promote rice production. On the contrary, if farmers are not responsive to prices, the government will have to resort to alternative measures such as the use of new technology or development of social status of the farmers etc. Thus, the relationship between rice prices and farmers is an interesting one. This thesis is the study of responsiveness to price change of farmers by using econometric methods. A model of rice planted area for Thailand is created to estimate and analyze the trend of area planted. This model is based on Adjustment model. The paddy farms are distin¬guished into irrigated and unirrigated area. It is treated in whole kingdom as well as in separate regions. It is found that farmers in each region are responsive to price but at difference levels. Price elasticity with respect to area planted in the Kingdom is 0.13421. The irrigated area and non-irrigated area have price elasticity of area planted as 0.15379 and 0.12504 respectively. The elasticity of adjustment is quite low. The values are 0.13603, 0.11033 and 0.16480 for the whole kingdom, irrigated area and non-irrigated area respectively. This means that the adjustment to price change is slow which may be caused by the limitation of rice area planted. Because farmers are not very responsive to price change and are slow in adjustment to its change, price policy will, therefore, not likely to be a very effective instrument to stimulate rice production.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27597
ISBN: 9745616052
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakchai_Su_front.pdf483.71 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Su_ch1.pdf563.96 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Su_ch2.pdf487.21 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Su_ch3.pdf611.49 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Su_ch4.pdf629.75 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Su_ch5.pdf691.07 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Su_ch6.pdf300.88 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_Su_back.pdf677.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.