Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28123
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรกับการสนับสนุนทางพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ที่เข้ารับเคมีบำบัดในโรงพยาบาล
Other Titles: Relationships between selected variables and nursing support of professional nurses caring for uterine cervical carcinoma patients receiving chemotherapy in hospitals
Authors: รัตนา เกาะกายสิทธิ์
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายในลักษณะการวิจัย เป็นสหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาการ สนับสนุนทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่เข้ารับเคมีบำบัดในโรงพยาบาล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรร ได้แก่ ความเชื่อแนวองค์รวม ความร่วมรู้ศึกของพยาบาลวิชาชีพ ต่อผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับเคมีบำบัด ความรู้เกี่ยวกับเคมีบำบัด และภูมิหลังด้านอายุ สถานภาพสมรสประสบการณ์ในการทำงาน และการได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับเคมีบำบัด และหากลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การสนับสนุนทางการพยาบาล ตัวอย่างประชากรคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสามัญที่รับผู้ป่วยสตรีที่เป็นมะเร็ง รวมจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและ แบบสังเกตพฤติกรรมการสนับสนุนทางการพยาบาล การสังเกตทั้งหมดจำนวน 360 ครั้ง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1 . การสนับสนุนทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การสนับสนุนทางการพยาบาลด้านการรับรู้ความต้องการของผู้ป่วย และด้านการสนองตอบความต้องการ เพื่อให้ เกิดผลลัพธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง แต่ด้านการประคับประคองทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ 2. ความร่วมรู้ศึกของพยาบาลวิชาชีพต่อผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับ เคมีบำบัด มีความ สัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการสนับสนุนทางการพยาบาลโดยรวมทุกด้านและด้านการสนองตอบ ความต้องการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 ตามลำดับ (r = .3312, .4575) 3. ประสบการณ์ในการทางานมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการสนับสนุนทาง การพยาบาล โดยรวมทุกด้านและด้านการประคับประคองทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.3241 , -.3535 ตามลำดับ) นอกจากนี้อายุยังมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการสนับสนุนทางการพยาบาลด้านการประคับประคองทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.3324) 4. ความร่วมรู้ศึกและประสบการณ์ในการทำงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์การสนับสนุนทางการพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .4225 (r = .4225) และสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ร้อยละ 17.85 (R2 = .1 785) เมื่อสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้สมการดังนี้ z ̃1 = .0605Z6 - . 0280Z3
Other Abstract: This correlational study was designed to study the nursing support of professional nurses caring for uterine cervical carcinoma inpatients receiving chemotherapy, and to investigate the relationships between selected variables which were holistic belief, empathy, knowledge on chemotherapy, age, marital status, working experience and the attendance in the chemotherapy in service program, and to determine if these variables would be able to predict nursing support. Research samples consisted of 60 professional nurses working with female carcinoma patients. Research instruments included questionnaire and the observation tool designed by the researcher to collect data on nursing support. Data analysis was based on 360 observations. Major findings were as followed :- 1. Nursing support of professional nurses was at the lower level. Nursing support in the aspect of the perception of patients' needs and the aspect of responding to provide positive outcome were at the medium level, whereas nursing support in the aspect of providing emotional support was at the lower level. 2. Empathy was significantly and positively related to nursing support in total and in the aspect of responding to provide positive outcome at the .01 and .001 level (r = .3312 and .4375 consequently). 3. Working experience was significantly and negatively related to nursing support in total and in the aspect of providing emotional support at the .01 level (r = -.3241 and -.3536 consequently). Moreover, age of nurses was significantly and negatively related to nursing support in the aspect of providing emotional support at the .01 level (r = -.3324). 4. Empathy and working experience were able to predict nursing support at .01 level and the coefficient of multiple correlation was .4225 (R = .4225) with the estimated coefficient of determination was 17.85 percent (R2 = .1785). The predicted equation in standard score form could be stated as followed. z ̃1 = .0605Z6 - . 0280Z3.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28123
ISBN: 9745787485
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_ko_front.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ko_ch1.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ko_ch2.pdf12.06 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ko_ch3.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ko_ch4.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ko_ch5.pdf9.79 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_ko_back.pdf10.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.