Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28350
Title: รีฟอร์มมิงของก๊าซ มีเทน คาร์บอนไดออกไซดื ไอน้ำบนตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิล อลูมินาในฟลูอิไดซ์เบด
Other Titles: Carbon dioxide-methane p steam reforming on Nickel-Alumina catalyst in fluidized bed
Authors: ลาวัลย์ เธียรถาวร
Advisors: ธราพงษ์ วิฑิตศานต์
สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาปฏิกิริยารีฟอร์มมิงก๊าชมีเทนด้วยไอน้ำและก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกล/อลูมีนาในฟลูอิไดซ์เบดโดยใช้ก๊าชมีเทนจากโรงแยกก๊าชธรรมชาติของการปิโตรเลียมแห่งประเทศ ไทย ในเครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์เบดรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10.7 เซนติเมตร สูง 30.0 เซนติเมตร ภายในบรรจุด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินาทีมีพื้นที่จำเพาะ 230 ตารางเมตร ต่อกรัม ความหนาแน่น 1,610 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่อัตราส่วนสาร ตั้งต้น อุณหภูมิ อัตราเร็วในการป้อนสารตั้งต้นและปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา จากการศึกษาทดลอง พบว่า การใช้ไอน้ำและก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมกันเป็นสารตั้งต้นทำ ปฏิกิริยากับก๊าชมีเทน จะช่วยปรับอัตราส่วนก๊าชไฮไดรเจนต่อคาร์บอนมอนนอกไซด์ให้อยู่ในช่วงที่นำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมบิโตรเคมีได้เป็นอย่างดีที่สภาวะอุณหภูมิ 650 ถึง 800 องศาเซลเซียส อัตราส่วนสารตั้งต้นไอน้ำต่อก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ต่อมีเทนตั้งแต่ 1.0:4.0:1.0 ถึง 3.0:4.0:1.0 ในการทดลองครั้งนี้ พบว่า อัตราเร็วในการป้อนสารตั้งต้นและปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยามีผลต่อเปอร์เซ็นต์การ เปลี่ยนแปลงของก๊าชมีเทน ในการวิเคราะห์ทางเทอร์โมไดนามิกส์เปรียบเทียบกับผลการทดลอง พบว่า แบบจำลองการเกิด ปฏิกิริยารีฟอร์มมิงก๊าชมีเทนด้วยไอน้ำและก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นดังนี้ CH4 + H2O ⇋ CO + 3H2 , CH4 + CO2 ⇋ 2CO + 2H2 , CO + H2O ⇋ CO2 + H2
Other Abstract: The study of carbon dioxide-methane-steam reforming on nickel/ alumina catalyst in fluidized bed was made by using methane from the Separation Gas Plant of Petroleum Authority of Thailand. The number of spherical catalyst particles, 230 m2/g specific area and 1,610 kg/m3 density were fluidized in the cylindrical reactor with 10.7 cm. diameter and 30.0 cm. in height. The experimental variables were ratio of reactants, temperature, velocity of reactants and volume of catalyst. The experimental results could be concluded that the optimum conditions to produce synthesis gas for petrochemical industries are temperature range from 650 to 800 ๐C and ratio of steam, carbon dioxide, methane between 1.0:4.0:1.0 and 3.0:4.0:1.0. Moreover, they explicated that the percent conversion of methane depends on the velocity of reactants and volume of catalyst. Comparing the experimental data with thermodynamics acknowledgement finally found that three reactions occured in the reforming methane with steam and carbon dioxide are CH4 + H2O ⇋ CO + 3H2 , CH4 + CO2 ⇋ 2CO + 2H2 , CO + H2O ⇋ CO2 + H2
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28350
ISBN: 9745813141
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lawan_th_front.pdf16.01 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_th_ch1.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_th_ch2.pdf61.83 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_th_ch3.pdf26.81 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_th_ch4.pdf10.53 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_th_ch5.pdf20.01 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_th_ch6.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_th_back.pdf24.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.