Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28947
Title: การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างเภสัชจลนศาสตร์ของไมโคฟิโนลิคอะซิดและผลการรักษาในผู้ป่วยโรคไตอักเสบเอสแอลอีที่ได้รับยาไมโคฟีโนเลท
Other Titles: The correlation between the pharmacokinetcs of mycophenolic acid and the short term outcomes after mycophenolate treatment in patients with proliferative lupus nephritis
Authors: พวงผกา เลิศดำรงค์ลักษณ์
Advisors: ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์
สมฤทัย วัชราวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Yingyos.A@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไมโคฟีโนเลท -- เภสัชจลนศาสตร์
เภสัชจลนศาสตร์
เอสแอลอี -- ภาวะแทรกซ้อน
เอสแอลอี -- การรักษาด้วยยา
ไต -- โรค
โรคไตอักเสบลูปุส
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมา การรักษา proliferative lupus nephritis ด้วยยา mycophenolate mofetil (MMF) ผู้ป่วยมักได้รับยาในขนาดคงที่แต่การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของ mycophenolic acid (MPA) ซึ่งเป็น active metabolite ของยาพบว่ามีระดับของ MPA ในเลือด แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคนและการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตที่ได้รับยา MMF พบว่าพื้นที่ใต้กราฟของ MPA (area under the plasma concentration-time curve of mycophenolic acid; MPA-AUC) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของยา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง MPA-AUC กับผลการรักษาในแง่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณโปรตีนใน ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง, การทำงานของไต, การเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพของเนื้อไตและการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วย proliferative lupus nephritis ที่ได้รับยา mycophenolate นาน 6 เดือน วิธีการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 20 รายที่มีผลชิ้นเนื้อไตเข้าได้กับ class III / IV lupus nephritis และได้รับการรักษาด้วยยา MMF ขนาด 1-1.5 กรัมต่อวัน (จำนวน 14 ราย) หรือยา mycophenolate sodium (MPS) ขนาด 1,080-1,440 มิลลิกรัมต่อวัน (จำนวน 6 ราย) ภายหลังการได้รับยาในขนาดคงที่อย่างน้อย 1 เดือนได้ทำการเจาะเลือดผู้ป่วยจำนวน 8 จุดเวลา (ที่ก่อนรับประทานยา, ภายหลังรับประทานยานาน 0.5, 1, 2, 3, 4, 8 และ 12 ชั่วโมง)เพื่อวัดความเข้มข้นของ MPA ในเลือดโดยวิธี EMITแล้วนำค่าที่ได้มา คำนวณหาค่าพื้นที่ใต้กราฟของ MPA (MPA-AUC) การประเมินผลการรักษาที่ 6 เดือนโดยวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณโปรตีนใน ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง, การทำงานของไต, การเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพของเนื้อไตและการตอบสนองต่อการรักษา ผู้ป่วยที่มีการ ลดลงของปริมาณโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อย 50 % หรือปริมาณโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า 2 กรัมต่อวันและมีค่าการทำงานของ ไตปกติถือว่ามีการตอบสนองต่อการรักษา ผลการศึกษา MPA-AUC ไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง, การทำงานของไตและการ เปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อไต อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อการรักษามีค่าเฉลี่ยของ MPA-AUC สูงกว่าผู้ที่ไม่ ตอบสนองต่อการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean ± SD. 65.98 ± 23.77 versus. 32.08 ± 7.97 h*mg/L; p =0.002) ผู้ป่วย ที่มีค่า MPA-AUC มากกว่า 60, 30-60 และ น้อยกว่า 30 h*mg/L มีเปอร์เซ็นต์การตอบสนองต่อการรักษา 100%, 60% และ 0% ตามลำดับ (p=0.019) MPA-AUC ไม่สัมพันธ์กับขนาดของยาที่ผู้ป่วยได้รับ ความเข้มข้นของ MPA ในเลือดที่ 1 ชั่วโมงมี ความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดกับ MPA-AUC (r=0.925, p<0.001) สำหรับยา MMF ขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง MPA-AUC กับความ เข้มข้นของ MPA ในเลือด ณ จุดเวลาใดๆสำหรับยา MPS
Other Abstract: Background: Fixed-dose (2 grams/day) of mycophenolate mofetil (MMF) is recommended for treatment of lupus nephritis. Area under the plasma concentration-time curve (AUC) of mycophenolic acid (MPA) is correlated with its efficacy in kidney transplant recipients. We determined the correlation between MPA-AUC and 6 month outcomes with mycophenolate regimen in class III / IV lupus nephritis. Methods: In this 6-month study, Twenty patients with biopsy-proven class III / IV lupus nephritis were treated with MMF (CellCept) (1-1.5 gram/day; n=14) or mycophenolate sodium (Myfortic: MPS) (1,080-1,440 mg/day; n=6). Plasma MPA AUC was measured (EMIT method) after the first month of treatment and calculated based on eight-point sampling (time 0, 0.5, 1, 2, 3, 4, 8, and 12 hours). Assessment of outcomes included changes in 24 hour urine protein excretion (UPE), estimated glomerular filtration rates (eGFR), histological activity index (AI) and clinical response (responders) defined as 50 percent reduction of urine protein or its level less than 2 g/24 hr, and normal renal function. Results: There were no correlations between MPA AUC and changes in 24 hour UPE, eGFR and histological AI after 6 months of mycophenolate treatment. However, the MPA-AUC of the responders was significantly higher than that of the non-responders (mean +/- SD 65.98 +/- 23.77 versus 32.08 +/- 7.97 h*mg/L; p = 0.002). The MPA-AUC of >60, 30-60, and < 30 h*mg/L had response rates of 100, 60 and 0 percent, respectively (p= 0.019). No correlation between drug dosage and MPA-AUC was found. In MMF group, MPA-AUC was tightly correlated with its concentration at 1 hour post-dose (r =0.925, p < 0.001) whereas no such correlation was found in MPS group. Conclusions: MPA AUC was not associated with changes in UPE, renal function and renal histology, whereas MPA AUC was correlated with therapeutic responses. MPA concentration at 1 hour post-dose was the best indicator of MPA-AUC for MMF.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28947
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.887
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.887
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paungpaga_le.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.