Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29577
Title: | การศึกษาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลและที่รับผลของแบบการเรียน ของนักศึกษาพยาบาล |
Other Titles: | A study of selected antecedent and consequent factors of nursing student's learning styles |
Authors: | พัชรี เกียรตินันทวิมล |
Advisors: | ชัยพร วิชชาวุธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาแบบการเรียนของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นตัวแปรส่งผลต่อแบบการเรียน ได้แก่ สถาบันการศึกษา ระดับชั้นปี สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ภูมิลำเนาเดิมและการรับรู้ความน่าปรารถนาของวิชาชีพพยาบาล ตลอดจนศึกษาตัวแปรที่คาดว่า น่าจะเป็นตัวแปรรับผลของแบบการเรียน ได้แก่ สัมฤทธิผลทางการเรียน ความพึงพอใจในการเรียนพยาบาล และความตั้งใจที่จะประกอบวิชาชีพพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่1 และปีที่4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2529 ของสถาบันการศึกษาพยาบาล 5 สังกัด ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 584 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสำรวจแบบการเรียนที่สร้างตามทฤษฏีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของคอล์บ (Kolb, Rubin and McIntyre 1971; Kolb 1954; Wolfe and Kolb 1984)จากการนำแบบสำรวจไปทดลองใช้ พบว่าค่าความเที่ยงของลักษณะการเรียนรู้ต่าง ๆ มีค่าตั้งแต่ 0.61 ถึง 0.74 และเมื่อพิจารณาแบบสำรวจทั้งฉบับ ซึ่งรวมลักษณะการเรียน ทั้งสี่เข้าด้วยกัน พบว่า ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การทดสอบไคสแควร์ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน สมการถดถอยอย่างง่าย และสมการถดถอยพหุคูณ โดยวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส เอส เอ็กซ์ ผลการวิจัยพบว่า1. นักศึกษาพยาบาลมีแบบการเรียนแตกต่างกัน โดยที่มีการเรียนแบบดูดซึมมากที่สุด รองลงมาไค้แก่ แบบคิดเอกนัย แบบปรับปรุง และ แบบคิดอเนกนัย ตามลำดับ และเน้นที่ลักษณะสรุปเป็นหลักการนามธรรมมากกว่าลักษณะอื่น ๆ 2. ตัวแปรที่ส่งผลต่อแบบการเรียนต่าง ๆ ได้แก่ 2.1 มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในกรุงเทพฯ ส่งผลให้มีการเรียนแบบประสบการณ์เชิงรูปธรรม มากกว่าการมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในส่วนภูมิภาค 2.2 การเรียนในวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ส่งผลให้มีการเรียนแบบทดลองปฏิบัติจริงมากกว่าสถาบันอื่น ๆ 2.3 การรับรู้ความน่าปรารถนาของวิชาชีพในระดับสูง ส่งผลให้มีการเรียนแบบคิดอเนกนัย น้อยกว่าการรับรู้ ความน่าปรารถนาของวิชาชีพในระดับต่ำ 2.4 การเรียนในวิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพฯ ส่งผลให้ มีการเรียนแบบคิดเอกนัย มากกว่าสถาบันอื่น ๆ 2.5 การเรียนในวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ส่งผลให้มีการเรียนแบบปรับปรุง น้อยกว่าการเรียนในสถาบันอื่น ๆ 3. ตัวแปรที่รับผลของแบบการเรียน ได้แก่ 3.1 ความพึงพอใจในการเรียนพยาบาล รับผลทางลบจากการเรียนแบบคิดอเนกนัย 3.2 ความตั้งใจที่จะประกอบวิชาชีพพยาบาล รับผลทางบวก จากการเรียนแบบไตร่ตรอง 4. ผลการวิเคราะห์แบบจำลองเส้นโยงเต็มรูป ตามข้อมูลประจักษ์ และการสมมติ ได้ผลดังนี้ 4.1 ตัวแปรที่ส่งผลและที่รับผลโดยผ่านแบบการเรียนได้แก่ การรับรู้ความน่าปรารถนาของวิชาชีพพยาบาลในระดับสูง ส่งผลให้มีการเรียนแบบคิดอเนกนัย น้อยกว่าการรับรู้ ความน่าปรารถนาของวิชาชีพพยาบาลในระดับต่ำ และการเรียนแบบคิดอเนกนัย ส่งผลให้มีดวามพึงพอใจในการเรียนพยาบาลในระดับต่ำ 4.2 ตัวแปรที่ส่งผลและที่รับผลโดยไม่ผ่านแบบการเรียน 1) การมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูง ทำให้ นักศึกษามีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ความพึงพอใจในการเรียนพยาบาล และความตั้งใจที่จะประกอบวิชาชีพพยาบาล ต่ำกว่าการมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ 2) การเรียนในคณะพยาบาลศาสตร์ศิริราช ส่งผลให้มีความตั้งใจที่จะประกอบวิชาชีพพยาบาล น้อยกว่าสถาบันอื่น ๆ 3) การเรียนในวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ส่งผลให้ มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงกว่าสถาบันอื่น ๆ 4) การรับรู้ความน่าปรารถนาของวิชาชีพพยาบาลในระดับสูง ส่งผลให้นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนพยาบาล และมีความตั้งใจที่จะประกอบวิชารชีพพยาบาล มากกว่าการรับรู้ความน่าปรารถนาของ วิชาชีพพยาบาลในระดับต่ำ |
Other Abstract: | This research investigates nursing student's learning styles and their antecedent and consequent factors. The subjects are 584 undergraduates in five nursing schools, from four different ministries and one private organization, during the second semester of the academic year 1986. The instrument of this research is the Learning Style Inventory develops from Kolb's Experiential Learning Theory (Kolb, Rubin and McIntyre 1 971 ; Kolb 1984; Wolfe and Kolb 1984). The reliability of each of the four parts in the Instrument ranges from 0.61 to 0.74 and the reliability of the total Inventory is 0.83. The Chi-square test, pearson's correlation, the simple and stepwise multiple regression are used to test the hypotheses. The results of the study are as follow: 1. Nursing students have different learning styles. The assimilative style is the predominant learning style among nursing students, followed by the convergent, the accommodative and the divergent learning style, in descending order. When the four basic steps of the learning cycle are compared, nursing students are found to prefer the abstract conceptualization to other steps. 2. The antecedent factors are as follow: 2.1 Domicile in Bangkok results in greater preference for the concrete experience style. 2.2 Learning in Kuakarun Nursing School results in greater preference for the active experimentation style. 2.3 Perception of the desirability of the nursing profession results in lower preference for the divergent style. 2.4 Learning in Bangkok Nursing School results in greater preference for the convergent style. 2.5 Learning in the Red Cross Society Nursing School results in lower preference for the accommodative style. 3. The consequent factors are as follow: 3.1 Satisfaction in studying nursing is negatively affected by the divergent style. 3.2 Intention to he nurse is positively affected by the reflective observation sty1e. 4. The results from path analysis using the empirical / assumptive approach are as follow: 4.1 The relationship between antecedent and consequent factors, mediated by the learning styles, are as follow: 1) Perception of the desirability of the nursing profession results in less preference for the divergent style. 2) Preference for the divergent style results in lower satisfaction in studying nursing. 4.2 The relationship between antecedent and consequent factors, not mediated by learning styles, are as follow: 1) High socio-economic status results in lower achievement in learning, lower satisfaction in studying nursing, and lower intention to enter the nursing profession. 2) Learning in the Siriraj Hospital Faculty of1 Nursing results in lower intention to enter the nursing profession. 3) Learning in Kuakarun Nursing School results in higher achievement in learning, as indexed by grade-point average. 4) Perception of the desirability of the nursing profession results in greater satisfaction in studying nursing and higher intention to enter the nursing profession. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29577 |
ISBN: | 9745678767 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patcharee_ki_front.pdf | 8.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ki_ch1.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ki_ch2.pdf | 24.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ki_ch3.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ki_ch4.pdf | 43.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ki_ch5.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Patcharee_ki_back.pdf | 21.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.