Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29652
Title: การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบอิงเกณฑ์ โดยใช้วิธีการกำหนดจุดตัดด้วยวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์ วิธีการใช้ทฤษฏีการตัดสินใจของแกลส และวิธีนับถอยหลัง
Other Titles: A comparison of the qualities criterion referenced test of cut-off score with the application of Rasch model, Glass's decision theoretic approaches, and counting backward
Authors: พานิช ศรีงาม
Advisors: สุภาพ วาดเขียน
ชูศักดิ์ ธัมภลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แบบทดสอบ -- ความเที่ยง
ข้อสอบ -- ความเที่ยง
แบบทดสอบ -- ความตรง
ข้อสอบ -- ความตรง
การวัดผลทางการศึกษา
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเที่ยงและความตรงของแบบสอบอิงเกณฑ์ โดยใช้วิธีการกำหนดจุดตัดด้วยวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์ วิธีการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลส และวิธีนับถอยหลังกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 17 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสอบอิงเกณฑ์วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 66 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอน และคะแนนผลการสอนก่อนการเรียน และหลังการเรียนของนักเรียนปรากฏข้อค้นพบโดยสรุปดังนี้ 1. วิธีกำหนดจุดตัดที่ให้ค่าจุดตัดสูงสุดได้แก่ วิธีนับถอยหลัง รองลงมาคือวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์และต่ำสุดคือ วิธีการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลส 2. ความเที่ยงของแบบสอบอิงเกณฑ์ที่ได้จากวิธีการกำหนดจุดตัดด้วยวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์ วิธีการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลสและวิธีนับถอยหลัง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เมื่อความเที่ยงดังกล่าวแปลงให้อยู่ในรูปของคะแนนฟิชเชอร์ซี (Fisher-Z) 3. ความตรงของแบบสอบอิงเกณฑ์ที่ได้จากวิธีการกำหนดจุดตัดด้วยวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์ วิธีการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลสและวิธีนับถอยหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เมื่อความตรงดังกล่าวแปลงให้อยู่ในรูปของคะแนนฟิชเชอร์ซี (Fisher-Z)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเที่ยงและความตรงของแบบสอบอิงเกณฑ์ โดยใช้วิธีการกำหนดจุดตัดด้วยวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์ วิธีการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลส และวิธีนับถอยหลังกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 17 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสอบอิงเกณฑ์วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 66 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอน และคะแนนผลการสอนก่อนการเรียน และหลังการเรียนของนักเรียนปรากฏข้อค้นพบโดยสรุปดังนี้ 1. วิธีกำหนดจุดตัดที่ให้ค่าจุดตัดสูงสุดได้แก่ วิธีนับถอยหลัง รองลงมาคือวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์และต่ำสุดคือ วิธีการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลส 2. ความเที่ยงของแบบสอบอิงเกณฑ์ที่ได้จากวิธีการกำหนดจุดตัดด้วยวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์ วิธีการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลสและวิธีนับถอยหลัง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เมื่อความเที่ยงดังกล่าวแปลงให้อยู่ในรูปของคะแนนฟิชเชอร์ซี (Fisher-Z) 3. ความตรงของแบบสอบอิงเกณฑ์ที่ได้จากวิธีการกำหนดจุดตัดด้วยวิธีประยุกต์รูปแบบของราสซ์ วิธีการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลสและวิธีนับถอยหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เมื่อความตรงดังกล่าวแปลงให้อยู่ในรูปของคะแนนฟิชเชอร์ซี (Fisher-Z)
Other Abstract: The main purpose of this study was to compare the validity and reliability coefficients of a criterion referenced test resulted from different cut-off score techniques, namely an application of Rasch model, Glass’s decision theoretic approaches and the counting backward. The used were 17 teachers of science and 380 mathayom-suksa 2 students and a set of a questionnaire and a 66-item criterion referenced test in science were used as the instruments. The data were collected from the teachers, a pretest and a post-test. The major finding can be summarized as follows : 1. The counting backward yields the highest cut-off score, the application of Rasch model yields the second highest and the Glass’s decision theoretic approaches yields the lowest. 2. When tested by a Fisher-Z test, the reliability coefficients resulted from the 3 mentioned techniques are non-significantly different (p=.05). 3. When tested by a Fisher-Z test, the validity coefficients results from the 3 mentioned techniques are significantly different (p=.01).
The main purpose of this study was to compare the validity and reliability coefficients of a criterion referenced test resulted from different cut-off score techniques, namely an application of Rasch model, Glass’s decision theoretic approaches and the counting backward. The used were 17 teachers of science and 380 mathayom-suksa 2 students and a set of a questionnaire and a 66-item criterion referenced test in science were used as the instruments. The data were collected from the teachers, a pretest and a post-test. The major finding can be summarized as follows : 1. The counting backward yields the highest cut-off score, the application of Rasch model yields the second highest and the Glass’s decision theoretic approaches yields the lowest. 2. When tested by a Fisher-Z test, the reliability coefficients resulted from the 3 mentioned techniques are non-significantly different (p=.05). 3. When tested by a Fisher-Z test, the validity coefficients results from the 3 mentioned techniques are significantly different (p=.01).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29652
ISBN: 9745690112
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panit_sr_front.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open
Panit_sr_ch1.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open
Panit_sr_ch2.pdf18.05 MBAdobe PDFView/Open
Panit_sr_ch3.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open
Panit_sr_ch4.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open
Panit_sr_ch5.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Panit_sr_back.pdf14.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.