Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29765
Title: ความคุ้มกันขององค์การระหว่างประเทศในประเทศไทย
Other Titles: Immunities of the international organizations in Thailand
Authors: อรชา ธนากร
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันนี้เมื่อองค์การระหว่างประเทศวิวัฒนาการ และมีความก้าวหน้าไปมากขึ้น การประกอบกิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศก็ได้ขยายขอบเขตออกไปทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และนอกจานั้นแล้วองค์การระหว่างประเทศได้เริ่มต้นประกอบกิจการใหม่ขึ้นในอีกลักษณะหนึ่งคือ การประกอบกิจการในเชิงพาณิชย์เช่นเดียวกับเอกชน ตัวอย่างขององค์การระหว่างประเทศที่ประกอบกิจการในเชิงพาณิชย์ดังกล่าวก็คือ สถาบันทางการเงินระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนาการ การที่รัฐสมาชิกทั้งหลายรวมตัวกันจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศนั้น ก็เพื่อที่จะให้เป็นองค์กรกลางในการประกอบกิจกรรมเพื่อประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมของรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกทั้งหลายต่างตระหนักดีว่า วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ถ้าหากองค์การระหว่างประเทศนั้นถูกแทรกแซงจากอำนาจของรัฐท้องถิ่น หรือรัฐใดรัฐหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นรัฐสมาชิกจึงมีวัตถุประสงค์ในการให้ความคุ้มกันแค่องค์การระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่อองค์การระหว่างประเทศ มิให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศได้ โดยที่องค์การระหว่างประเทศนั้นแยกออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการประกอบกิจกรรมคือ องค์การระหว่างประเทศที่ประกอบกิจกรรมในลักษณะทั่วไป เช่น ทางด้านการเมือง หรือวิชาการดังที่กล่าวข้างต้น และองค์การระหว่างประเทศที่ประกอบกิจการในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นความคุ้มกันที่ให้แก่องค์การระหว่างประเทศนั้น จึงแบ่งตามลักษณะหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เป็นสำคัญ สำหรับความคุ้มกันที่ให้แก่พนักงานขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์การระหว่างประเทศนั้น ก็คำนึงถึงความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้น พนักงานที่มีความรับผิดชอบสูงย่อมได้รับความคุ้มกันมากกว่าพนักงานในระดับทั่วไป ลักษณะของความคุ้มกันที่ให้แก่องค์การระหว่างประเทศและพนักงานนั้น ได้แก่ ความคุ้มกันจากกระบวนการทางกฎหมาย ความละเมิดมิได้ในสถานที่หรือเอกสาร ความคุ้มกันในทรัพย์สินและสินทรัพย์ ความคุ้มกันจาการเข้าเมืองและจดทะเบียนคนต่างด้าว ความคุ้มกันในด้านการสื่อสารและคมนาคม โดยหลักการแล้ว ถ้าหากความคุ้มกันนั้นได้ถูกนำไปใช้โดยต้องตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้ว ปัญหาย่อมจะไม่เกิดขึ้น แต่การนำความคุ้มกันไปใช้โดยไม่ตรงตามวัตถุประสงค์นั้น ทำให้เกิดความบกพร่องและปัญหาตามมา ตัวอย่างของการนำความคุ้มกันไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมนั้น ได้แก่ การแอบอ้างความคุ้มกันเพื่อประโยชน์ส่วนตัว การนำประโยชน์ของความคุ้มกันไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงแห่งชาติ การแอบอ้างความคุ้มกันไปใช้โดยผู้ไม่มีสิทธิ ประเทศไทยเป็นประเทศเจ้าภาพที่ยินยอมให้องค์การระหว่างประเทศมาตั้งอยู่ ดังนั้นประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้ความคุ้มกัน และเป็นประเทศที่รับผลกระทบจากความคุ้มกันที่ได้ให้แก่องค์การระหว่างประเทศนั้นโดยตรง เป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะศึกษาอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยมีมาตรการทางกฎหมายหรือวิธีการใด ๆ ที่เกี่ยวกับความคุ้มกันขององค์การระหว่างประเทศ และผลที่ประเทศไทยได้รับในฐานะเป็นรัฐเจ้าภาพ
Other Abstract: International organizations, created for the promotion of common benefits of member States, are given immunity from undue interference by local authorities of the host State in order that they may properly discharge their functions. As the nature of the activities of the organization varies, so do the functions, and, therefore, also the immunities. Immunities should be granted in accordance with the objectives of the organization, and with the functions of the officials. In this respect, international organizations may be divided into two categories: first, those engaged in political, sociological, cultural and economic activities; and, secondly, those engaged in commercial activities more typical of private institutions (eg. The International Bank for Reconstruction and Development). The immunities granted to international organizations and their officials include immunity from legal process; the inviolability of premises, archives, property and assets; exemption from immigration restrictions and alien registrations, from national service obligations; and immunities in respect of communications and telecommunications. In principle, the personal immunity of officials varies according to their functions and rank. Common abuses include the assertion of immunities for personal interests, the assertion of immunities which could compromise national security, and the assertion of immunities by unqualified persons. Because Thailand is host of several international organizations, it can be directly and adversely affected by any inappropriate, inadequate or imprecise determination of immunities. This dissertation seeks, first, to examine how and to what extent such immunities are defined, granted and upheld in local Thai practice; secondly, to examine existing devices for coping with abuses; and, thirdly, to propose new ways of preventing and dealing with such abuses. Comparisons are made with the practice of certain Western countries, notably the United States.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29765
ISBN: 9745682187
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oracha_ta_front.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open
Oracha_ta_ch1.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Oracha_ta_ch2.pdf8.35 MBAdobe PDFView/Open
Oracha_ta_ch3.pdf58.98 MBAdobe PDFView/Open
Oracha_ta_ch4.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open
Oracha_ta_back.pdf34.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.