Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31475
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรื่นฤทัย สัจจพันธุ์
dc.contributor.advisorอุดมศิลป์ ศรีแสงนาม
dc.contributor.authorอริน พินิจวรารักษ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-05-28T07:50:36Z
dc.date.available2013-05-28T07:50:36Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745633666
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31475
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งวิเคราะห์การนำเรื่องรักร่วมเพศมาใช้ในนวนิยายไทยช่วงเวลา พ.ศ.2516 - 2525 โดยศึกษาถึงเรื่องรักร่วมเพศทางทฤษฎีจิตวิทยา ปรากฏการณ์ทางสังคมและลักษณะที่นักเขียนนำไปใช้ในนวนิยาย โดยมีลำดับขั้นตอนการศึกษาดังนี้ คือ ในขั้นแรก เป็นการศึกษาเรื่องรักร่วมเพศทางทฤษฎีจิตวิทยา โดยศึกษาถึงความหมายของคำว่ารักร่วมเพศ ประเภทของคนรักร่วมเพศ ลักษณะทางจิตวิทยา ปัญหาของคนรักร่วมเพศ สาเหตุและการรักษา จากการศึกษาพบว่า ความหมายของคนรักร่วมเพศในทางทฤษฎีบางประเภท เช่น กะเทย มีความแตกต่างจากความหมายที่ใช้ในสังคม และนักประพันธ์ใช้ลักษณะคนรักร่วมเพศในนวนิยายตามความเข้าใจของสังคม ขั้นที่สอง เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคม โดยศึกษาถึงความเป็นมาของพฤติกรรมรักร่วมเพศในสังคมตะวันตก และในสังคมไทย พบว่าเรื่องรักร่วมเพศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแต่โบราณ อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษยชาติ การยอมรับหรือปฏิเสธคนรักร่วมเพศนั้นขึ้นอยู่กับกาลเวลาและความนิยมของสังคมแต่ละสมัย สำหรับสังคมไทยจากหลักฐานเท่าที่ปรากฏ แสดงว่าคนไทยส่วนใหญ่ในอดีตยังไม่ยอมรับ ทำให้คนรักร่วมเพศอับอายในการแสดงความเป็นรักร่วมเพศให้ปรากฏ ตราบจนสมัยต่อมา การเปิดเผยตนจึงมีมากขึ้นด้วยแรงผลักดันประการใหญ่ ๆ 3 ประการคือ เกิดจากการพัฒนาการทางวิชาการและวัตถุเกิดจากค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง และเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของครอบครัว การเปิดเผยตนของกลุ่มคนรักร่วมเพศนี้ส่งผลกระทบถึงวงการนวนิยายไทยในแง่ที่กลายเป็นวัตถุดิบสำหรับนักประพันธ์ใช้ในการสร้างนวนิยาย ขั้นที่สาม เป็นการศึกษาถึงการใช้เรื่องรักร่วมเพศในวรรณกรรมไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ หนึ่ง ในยุควรรณกรรมก่อนนวนิยาย สองในนวนิยายก่อน พ.ศ. 2516 และสามในนวนิยายช่วง พ.ศ. 2516 - พ.ศ.2525 จากการศึกษาพบว่าในสองช่วงแรก คือ ในยุคก่อนนวนิยายและในนวนิยายก่อน พ.ศ.2516 นั้น มีการนำเรื่องรักร่วมเพศไปใช้ในการประพันธ์น้อยมาก ลักษณะการใช้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การเสนอความบันเทิงเป็นสำคัญ ขั้นที่สี่ ผู้วิจัยศึกษาถึงการนำเรื่องรักร่วมเพศมาใช้ในนวนิยายไทย พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2525 อย่างละเอียด พบว่าเรื่องรักร่วมเพศปรากฏในนวนิยายเป็นที่แพร่หลายสามารถแบ่งได้เป็นลักษณะใหญ่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่หนึ่ง นำมาใช้เป็นแก่นเรื่องผู้ประพันธ์มุ่งเสนอถึงเรื่องราวของคนรักร่วมเพศโดยตรง โดยเสนอทั้งปัญหาของคนรักร่วมเพศ ผู้เกี่ยวข้องและทัศนคติทางสังคมที่มีต่อคนรักร่วมเพศ ทั้งนี้ผู้ประพันธ์ได้ศึกษาถึงข้อมูลทางจิตวิทยาและใช้ข้อมูลนั้นประกอบในนวนิยายด้วย ลักษณะที่สอง คือการนำมาใช้สร้างเป็นตัวละครในนวนิยายที่มีแก่นเรื่องประเภทอื่น การนำมาใช้สร้างตัวละครนี้พบว่านักประพันธ์ใช้สร้างทั้งตัวละครเอกและตัวละครรอง ในกลุ่มตัวละครรอง ผู้ประพันธ์ได้เสนอเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่หนึ่งแทรกทัศนคติทางสังคมและแสดงปัญหาของคนรักร่วมเพศแฝงไว้ด้วย ในขณะที่ลักษณะที่สอง ผู้ประพันธ์เพียงนำลักษณะคนรักร่วมเพศมาใช้สร้างเป็นตัวละคร โดยไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะเสนอถึงปัญหาของคนเหล่านี้อย่างจริงจัง การวิจัยนี้ทำให้พบว่า การแพร่หลายของกลุ่มคนรักร่วมเพศมีผลกระทบต่อวงการนวนิยายไทยอย่างมาก อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของนวนิยายไทยว่ามีความสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งเรื่องรักร่วมเพศที่ถูกนำมาใช้ในนวนิยายนี้นอกจากจะเพิ่มคุณค่าให้แก่นวนิยายในแง่พัฒนาการด้านเนื้อหาแล้ว ในเรื่องที่ผู้ประพันธ์ตั้งใจศึกษาถึงข้อมูลทางวิชาการ และสอดแทรกความรู้นั้นไว้ในนวนิยาย ยังเป็นการเสริมสร้างเนื้อหาให้มีสาระและความลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น การนำเรื่องรักร่วมเพศมาใช้ในนวนิยายไทย แม้จะอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ได้สร้างความแปลกใหม่ให้แก่วงการในแง่ตัวละครเอก ซึ่งเคยเป็นชายจริงหญิงแท้ได้เปลี่ยนเป็นคนรักร่วมเพศ ในกาลเวลาเบื้องหน้า แม้ความนิยมในการใช้เรื่องรักร่วมเพศในการสร้างเป็นแก่นเรื่องจะลดน้อยลง แต่สันนิษฐานได้ว่าเรื่องรักร่วมเพศที่จะคงเหลืออยู่ในนวนิยาย คือตัวละครรักร่วมเพศที่อาจปรากฏในบทบาทต่างกันตามความเหมาะสมของเนื้อเรื่อง
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims as analysis the theme of homosexuality in Thai novels, 1973-1982. The research is carried out through a detailed study of homosexuality in terms of theoretical psychology, phenomena and topic in the novel as follows: First, it is the study of homosexuality in theoretical psychology. In this study the emphasis is made on the meaning and category of homosexuality, psychological aspects of the homosexuality, the problems of homosexuals, causes and treatments. As a result of the studies, it was found that theoretically the meaning of some types of homosexualities such as hermaphroditism is different from the meaning that is implied socially and which is used by writers in the novels. Secondly, it is a study of the social behaviour of the homosexuals. Being studied is also the history of the behaviour of homosexuals in Western and Thai society and it was found that homosexuality has its root in ancient times. The acceptance or rejection of homosexuality depends upon the particular times and the tendency of each period. As for Thai society, according to the evidence available, the majority of the Thai people do not accept homosexuality. It is therefore some what embarrassing to homosexuals to manifest themselves. Not until the later periods, homosexuals started to surface in the society by dint of 3 main forces: the development of intellectualism and materialism, the changing social values and the change in family structure. The emergence of homosexuals has effected the Thai novel to a certain extent in terms of its becoming a new material for the writers. Thirdly, it is a study of the theme of homosexuality in Thai literature. This study can be divided into 3 periods: 1) The pre-novel literature period, 2) The novels before 1973 and 3) The novels from 1973 to 1982. As a result, it was found that in the first two periods, the use of homosexuality as a main theme of the novel is rarly used. The main use is for the purpose of entertaining. Fourthly, the researcher has studied in detail the use of homosexuality in the Thai novels written from 1973 to 1982. As a result, it was found that the homosexuality widely used in Thai novels has 2 characteristies: first it is used as a theme of the story directly narrating the history of homosexuality as well as the problems of homosexuals, people concerned and social attitudes towards them. For this purpose, the writer also studied psychological data and used such data in the novel. The second characteristic is that a homosexual is used as a main character. The writer presents homosexuality in two aspects. The first aspect is inserted the social attitudes and problems of the homosexuals. The second aspect is only for entertainment without serious presentation of the problems of these homosexuals. The result of this research shows that the ubiquity of homosexuals has certainly affected the realm of Thai novels to a great extent. This clearly shows that the development of Thai fiction is in step with the social movements. In fiction the writer intends to study about homosexual’s information and to express that knowledge in novel which helps add more life and profundity to the novel. The theme of homosexuality in Thai novels, even in its initial stage, is a novelty in terms of the protagonist who used to be a heterosexual, but now a protagonist is a homosexual. Even though the use of homosexuality as a theme of the story may become less popular, but it is assumed that the character will be left in the novel and play different roles according to the essence of the story.
dc.format.extent5824914 bytes
dc.format.extent3547699 bytes
dc.format.extent7812953 bytes
dc.format.extent8389562 bytes
dc.format.extent12554667 bytes
dc.format.extent18367201 bytes
dc.format.extent22569080 bytes
dc.format.extent3215580 bytes
dc.format.extent6742324 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้เรื่องรักร่วมเพศในนวนิยายไทย พ.ศ. 2516-พ.ศ. 2525en
dc.title.alternativeThe theme of homosexuality in Thai, 1973-1982en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวรรณคดีเปรียบเทียบes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arin_pi_front.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open
Arin_pi_ch1.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open
Arin_pi_ch2.pdf7.63 MBAdobe PDFView/Open
Arin_pi_ch3.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open
Arin_pi_ch4.pdf12.26 MBAdobe PDFView/Open
Arin_pi_ch5.pdf17.94 MBAdobe PDFView/Open
Arin_pi_ch6.pdf22.04 MBAdobe PDFView/Open
Arin_pi_ch7.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Arin_pi_back.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.