Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31722
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพุทธกาล รัชธร
dc.contributor.advisorภิรมย์ กมลรัตนกุล
dc.contributor.authorอารี สหัสานันท์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-05-30T12:09:10Z
dc.date.available2013-05-30T12:09:10Z
dc.date.issued2536
dc.identifier.isbn9745831751
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31722
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและขนาดของต้นทุนต่อครั้งในการตรวจและรักษาผู้ป่วย 7 กลุ่ม โรคพร้อมทั้งเปรียบเทียบต้นทุนต่อครั้งของการตรวจและรักษาผู้ป่วยแต่ละโรค โดยจะวิเคราะห์ในแง่ผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่มีอยู่แล้วของปีงบประมาณ 2533 นำมาปรับเป็นมูลค่าในปี 2534 โดยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นแนวทาง สำหรับข้อมูลบางส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บ ข้อมูลปฐมภูมิ แล้วนำมาคำนวณหาต้นทุนต่อไป มีการแบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 กลุ่มคือ หน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หน่วยงานที่ก่อให้เกิดรายได้และหน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วย ต้นทุนของทุกหน่วยงานประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรงงาน ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน ซึ่งรวมเป็นต้นทุนโดยตรงของแต่ละหน่วยงาน หน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วยจะได้รับการกระจายต้นทุนจาก 2 หน่วยงานด้วยวิธี Simultaneous equation method ทำให้ได้ต้นทุนรวมทั้งหมด เมื่อหารด้วยจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการ ก็จะได้ต้นทุนต่อครั้งของแต่ละแผนกที่ให้บริการ สำหรับต้นทุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการและรังสีวินิจฉัย รวมทั้งต้นทุนค่ายาในการรักษาแต่ละครั้ง ได้ดำเนินการแยกศึกษาในแต่ละกลุ่มโรค แล้วนำไปรวมกับต้นทุนต่อครั้งของแผนกที่ให้บริการ ก็จะได้ต้นทุนทั้งหมดในการตรวจและรักษาแต่ละครั้งของแต่ละกลุ่มโรค ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มโรคที่มีต้นทุนรวมทั้งหมดในการตรวจและรักษาโรคแต่ละครั้งสูงที่สุด คือ กลุ่มโรคเบาหวาน คิดเป็นเงิน 454.38-11,101.73 บาท รองลงมา คือ กลุ่มโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มโรคปาราสิต กลุ่มโรคที่มีอาการปวดท้อง กลุ่มโรคตา กลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนต้น และ กลุ่มโรคหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยที่แต่ละกลุ่มโรคจะมีช่วงราคาต้นทุนทั้งหมดต่อหน่วยแตกต่างกัน ถ้าแพทย์มีความเชี่ยวชาญมาก สั่งตรวจสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเท่า ที่จำเป็นและเลือกใช้ยาประเภทที่มีชื่อสามัญซึ่งมีคุณภาพดี ราคาถูก ก็จะทำให้ต้นทุนในการตรวจและรักษาผู้ป่วยไม่สูงมากจนเกินไป ดังนั้น ผลของการศึกษานี้น่าจะเป็นแนวทางในการกำหนดและควบคุมราคาค่าบริการต่อครั้งของผู้ป่วยนอก แต่ละกลุ่มโรคอย่างเหมาะสม และเป็นธรรม เพื่อความอยู่รอดทางการเงินของโรงพยาบาล รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณค่าใช้จ่ายด้านประกันสังคมต่อไป
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to analyse the component and size of unit cost of investigation and treatment of 7 groups disease at the out patient department of Chulalongkorn hospital in the fiscal year 1991. All sections of the out patient department were classified into three cost centre categories: non-revenue producing cost centre (NRPCC), revenue producing cost centre (RPCC) and patient service (PS). Direct cost of all cost centres will be calculated from labour cost, material cost and capital cost. Total cost of patient service was summed up with indirect cost allocated from NRPCC and RPCC by simultaneous equation method. The final total cost of patient service will be devided by the total number of patients visit to produce the unit cost. The unit cost of laboratory, radiology, and drug were separately study in each group disease then to combine with unit cost of patient service that will come up the unit cost of investigation and treatment of each group disease. The result of study found that the highest unit cost of group diseases on investigation and treatment are Diabetes Mellitus group disease amount of 454.38-11,101.73 Baht. The runner ups are hypertension group, parasitic infestation group, abdominal pain group, eye group, upper respiratory tract infection group and uncomplicated gonococcal urethritis. The unit cost of each disease group will differ according to doctor’s specialization, laboratory and drug used. Therefore, the result of study could be a guideline for control and specify the proper prices of service per case of outpatient of each group disease and shall be data for calculation of insurance cost.
dc.format.extent4347963 bytes
dc.format.extent5878664 bytes
dc.format.extent8121876 bytes
dc.format.extent10264989 bytes
dc.format.extent19630057 bytes
dc.format.extent3945917 bytes
dc.format.extent9834624 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาต้นทุนแบบกลุ่มโรคในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativeA study of unit cost of diagnosis related groups of the out parient department in Chulalongkorn hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aree_sa_front.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open
Aree_sa_ch1.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open
Aree_sa_ch2.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open
Aree_sa_ch3.pdf10.02 MBAdobe PDFView/Open
Aree_sa_ch4.pdf19.17 MBAdobe PDFView/Open
Aree_sa_ch5.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Aree_sa_back.pdf9.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.