Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31790
Title: การปรับปรุงการวางแผนและควบคุมการบำรุงรักษาในโรงงานผลิตบล็อคคอนกรีตปูถนน
Other Titles: Improvement of maintenance planning and control in concrete paving block factory
Authors: ต่อศักดิ์ หิรัญโญภาส
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th, fieckp@eng.chula.ac.th
Subjects: การบำรุงรักษาโรงงาน -- การวางแผน
การบำรุงรักษาโรงงาน -- การควบคุม
โรงงานผลิตบล็อคคอนกรีตปูถนน
Plant maintenance -- Planning
Plant maintenance -- Control
Concrete paving block factory
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการวางแผนและควบคุมการบำรุงรักษาเครื่องจักร ในโรงงานผลิตบล็อคคอนกรีตปูถนน ลักษณะการผลิตของโรงงานนี้เป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง เมื่อเกิดการขัดข้องของเครื่องจักรทำให้เกิดการหยุดของเครื่องจักรเป็นเวลานาน สาเหตุการขัดข้องนี้เกิดจาก (1) ขาดการวิเคราะห์และปรับปรุงแผนงานบำรุงรักษาเครื่องจักร (2) ไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของเครื่องจักรที่ทำการบำรุงรักษาให้สัมพันธ์กับทรัพยากรที่มีอยู่ (3) การควบคุมแผนงานให้ดำเนินการตามแผนงานยังไม่ดี ทำให้เกิดงานค้างและงานซ่อมที่ล่าช้า ดังนั้นในการศึกษานี้จึงได้ดำเนินงานปรับปรุงแผนงานและควบคุมการบำรุงรักษาสำหรับเครื่องจักร 11 เครื่อง เครื่องจักรเหล่านี้ก่อให้เกิดการหยุดคิดเป็น 80% ของเวลาที่ขัดข้องทั้งหมด ในการศึกษานี้ยังได้ทำการวิเคราะห์สาเหตุเชิงลึกเพื่อหาวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องโดยการจัดทำโครงสร้างประวัติเครื่องจักร ทำการวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของชิ้นส่วนเครื่องจักร ทำการวิเคราะห์เหตุขัดข้องและผลกระทบด้วยวิธี FMECA และทำการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดความผิดพลาดด้วยแผนผังก้างปลาและแผนภูมิต้นไม้ แล้วนำไปเข้าสู่การปรับปรุงแผนงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน แผนงานนี้ประกอบด้วยแผนงานหลัก 4 ปี แผนงานย่อย 3 เดือนและแผนการตรวจเช็คประจำวัน รวมทั้งจัดการควบคุมให้มีการบำรุงรักษาตามแผนงานประกอบด้วยการควบคุมงานบำรุงรักษานอกแผน งานบำรุงรักษาตามแผนงานและการกำหนดเป้าหมายดัชนีชี้วัดเพื่อติดตามผล ซึ่งผลที่ได้เป็นดังนี้ (1) ทำให้ความพร้อมของเครื่องจักรที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้นจาก 94.98% เป็น 98.23% (2) ค่าเวลาเฉลี่ยระหว่างการเกิดเหตุขัดข้อง (MTBF) เพิ่มขึ้นจาก 1,336 นาที เป็น 2,381 นาที (3) ค่าเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการซ่อม (MTTR) ลดลงจาก 67.1 นาที เป็น 42.1 นาที และ (4) ค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) เพิ่มขึ้นจาก 60.15% เป็น 70.91% นอกจากนี้ยังสามารถช่วยบริหารทรัพยากรงานบำรุงรักษาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: The aim of this research was to improve maintenance planning and control for machinery in the concrete paving block factory. The production is a continuous process. When machines failed, long downtime had occurred. The causes of machine failures were (1) lacking of analysis and improvement of maintenance planning, (2) lacking of maintenance priority setting due to exist resources, (3) lacking of properly maintenance control. According to improperly control, it had backlogs and delay maintaining. For this research maintenance planning and control for 11 machines was managed. The machine downtime of these machines were 80% of total machine downtime. In this research, in-depth cause analysis methods were used in order to find the proper corrective actions. These methods were structuring the machine history, analyzing the priority setting for machinery parts, using FMECA, fishbone and tree diagrams for analyzing the causes of failures and effects. The results were used for preventive maintenance planning improvement. The improved plans were consists of 4 years master plan, 3 months sub plan, daily checking plan. The improved maintenance control was also provided. It was maintenance control for both in and out of maintenance plans. The indices for maintenance control were set and monitored. After implementing, the results had shown that (1) the machine availability was increased from 94.98% to 98.23%, (2) the mean time between failure (MTBF) was increased from 1,336 minutes to 2,381 minutes, (3) the mean time to repair (MTTR) was reduced from 67.1 minutes to 42.1 minutes, and (4) the overall equipment effectiveness (OEE) was increased from 60.15% to 70.91%. Moreover, the efficiency of maintenance resource management was higher.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31790
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.617
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.617
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Torsak_hi.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.