Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31819
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตสารออกฤทธิ์ฆ่าแมลงโดย Streptomyces spp. สายพันธุ์ 442, 449 และ O145702
Other Titles: Factors affecting the production of insecticidal substances by Streptomyces spp. strains 442, 449 and O145702
Authors: วารุณี ตันติธนากรกุล
Advisors: ไพเราะ ปิ่นพานิชการ
วาสนา โตเลี้ยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ppairoh@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สเตรปโตมัยซิส
ยาฆ่าแมลง -- การผลิต
Streptomyces
Insecticides -- Production
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะเหมาะสมในการผลิตสารออกฤทธิ์ฆ่าแมลงจาก Streptomyces spp. สายพันธุ์ 442, 449 และ O145702 ซึ่งแยกได้จากดินในประเทศไทย และการทดสอบการออกฤทธิ์ฆ่าแมลงทำโดยสกัดน้ำเลี้ยงเชื้อและเส้นใยด้วยเอทิลอะซิเทต แล้วทดสอบการฆ่าไรทะเลโดยบ่มเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลการแปรชนิดของแหล่งคาร์บอน และแหล่งไนโตรเจน พบว่าในสายพันธุ์ 442 แป้งมันสำปะหลัง 1.5 % (w/v) เป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุด เมื่อใช้ร่วมกับแหล่งอินทรีย์หรือแหล่งอนินทรีย์ไนโตรเจนที่เหมาะสมคือ สารสกัดจากยีสต์ หรือไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต ที่ความเข้มข้นเทียบเท่ากับไนโตรเจน 0.025 และ 0.05 %(w/v) ให้ประสิทธิภาพในการฆ่าไรทะเลสูงถึง 91.16 และ 70.42 % ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นสารสกัดหยาบ 25 ppm ขณะที่สายพันธุ์ 449 พบว่าแป้งมันสำปะหลัง 1.5 % (w/v) เป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุด เมื่อใช้ร่วมกับแหล่งอินทรีย์หรือแหล่งอนินทรีย์ไนโตรเจนที่เหมาะสมคือ สารสกัดจากยีสต์ หรือไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต ที่ความเข้มข้นเทียบเท่ากับไนโตรเจน 0.075 % (w/v) ให้ประสิทธิภาพในการฆ่าไรทะเลสูงถึง 98.58 และ 93.80 % ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นสารสกัดหยาบ 5 ppm ส่วนสายพันธุ์ O145702 พบว่าแป้งมันสำปะหลังที่ย่อยด้วยอะไมเลส มีค่า DE เท่ากับ 38 % เป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุด โดยความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 0.5 % (w/v) และใช้ร่วมกับแหล่งไนโตรเจนที่เหมาะสมคือผสมระหว่าง สารสกัดจากยีสต์ และโพแทสเซียมไนเตรท 0.2 และ 0.38 % (w/v) ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นเทียบเท่ากับไนโตรเจน 0.0744 % (w/v) ให้ประสิทธิภาพในการฆ่าไรทะเลสูงถึง 91.5 % เมื่อใช้ความเข้มข้นสารสกัดหยาบ 50 ppm นอกจากนี้ยังได้หาความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ฆ่าแมลงจากสารสกัดหยาบที่ทำให้ ไรทะเลตาย 50 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเริ่มต้น (LD50) จากทั้ง 3 สายพันธุ์ พบว่า สายพันธุ์ 442, 449 และ O145702 ให้ค่า LD₅₀ ที่ 10, 3.5 และ 12.5 ppm ตามลำดับ และจากการทดลองแยกสารออกฤทธิ์ฆ่าแมลงจากสารสกัดหยาบโดย Preparative TLC พบว่าสามารถแยกสารออกฤทธิ์ฆ่าแมลงจากสารสกัดหยาบได้สารผสม 3 ชนิด จากสายพันธุ์ 442 และ 4 ชนิด จากสายพันธุ์ 449 และ O145702 ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดที่แยกได้ในแต่ละชนิดไปทดสอบกับไรทะเล พบว่าสายพันธุ์ 442 สารผสมที่ 1 ซึ่งมีค่า Rf 0.18, สายพันธุ์ 449 สารผสมที่ 4 ซึ่งมีค่า Rf 0.86 และสายพันธุ์ O145702 สารผสมที่ 3 ซึ่งมีค่า Rf 0.59 ให้ประสิทธิภาพที่ดีในการฆ่าไรทะเล และเมื่อนำแต่ละชนิดที่มีฤทธิ์ฆ่าไรทะเลจากทั้ง 3 สายพันธุ์มาวิเคราะห์โดย analytical TLC และ HPLC เทียบกับสารมาตรฐาน avermectins พบว่าสารดังกล่าวให้ค่า Rf จาก TLC และค่า retention time จาก HPLC ที่ต่างจาก avermectins ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าทั้ง 3 สายพันธุ์สร้างสารออกฤทธิ์ฆ่าแมลงชนิดใหม่
Other Abstract: Optimal conditions for the production of insecticidal substances by Streptomyces spp. 442, 449 and O145702 isolated from Thai soil were investigated. Insecticidal activity was determined from the culture extracted with ethyl acetate by testing against brine shrimp for 24 h. For 442, cassava starch at 1.5% (w/v) and yeast extract or (NH₄)₂HPO₄ at the concentration equivalent to 0.025 and 0.05 % nitrogen (w/v), respectively gave maximum insecticidal activity of 91.16 and 70.42%, respectively with 25 ppm of the crude extract. For 449, cassava starch at 1.5% (w/v) and yeast extract or (NH₄)₂HPO₄ at the concentration equivalent to 0.075 % nitrogen (w/v) gave maximum insecticidal activity of 98.58 and 93.80%, respectively with 5 ppm of the crude extract. For O145702, 0.5% (w/v) of partial hydrolyzed cassava starch at 38%DE and the mixture of 0.2% yeast extract and 0.38% KNO₃ having total N-content of 0.074 % (w/v) gave maximum insecticidal activity of 91.5% with 50 ppm of the crude extract. LD₅₀ values were determined from the crude extracts to be 10, 3.5 and 12.5 ppm for 442, 449 and O145702, respectively. The components in the crude extracts were subjected to separation by preparative TLC and found 3, 4 and 4 mixtures for strains 442, 449 and O145702, respectively. Analysis against brine shrimp indicated that the first mixture with Rf value of 0.18 from 442, the fourth mixture with Rf value of 0.86 from 449 and the third mixture with Rf value of 0.59 from O145702 possessed insecticidal activities. They were then analyzed by analytical TLC and HPLC comparing to avermectins, commercial insecticidal compounds, and found that all separated compounds showed different TLC-Rf values and HPLC-retention times from those of avermectins indicating possible novel insecticidal compounds might be produced from these strains.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31819
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1377
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1377
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warunee_ta.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.