Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31960
Title: ความต้องการเสริมสมรรถภาพการนิเทศวิชาพลศึกษา ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12
Other Titles: Needs for enhancing the competency of physical education supervisors of the Office of the National Primary Education Commission, Educational Region Twelve
Authors: เสาวภา โอทาน
Advisors: รัชนี ขวัญบุญจัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ศึกษานิเทศก์
การนิเทศการศึกษา
พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเสริมสมรรถภาพการนิเทศวิชาพลศึกษาของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12 และเปรียบเทียบความต้องการเสริมสมรรถภาพการนิเทศวิชาพลศึกษาของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12 ที่มีประสบการณ์การนิเทศต่างกัน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอที่ปฏิบัติงาน ในเขตการศึกษา 12 จำนวน 173 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืนมา 167 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.53 นำข้อมูลที่ได้จากการสอบถามมาวิเคราะห์โดยคิดเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่า “ที” (t-test) นำเสนอข้อมูลด้วยตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการเสริมสมรรถภาพการนิเทศวิชาพลศึกษาของศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12 โดยส่วนรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน 2. เมื่อเปรียบเทียบความต้องการเสริมสมรรถภาพการนิเทศวิชาพลศึกษา ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12 ที่มีประสบการณ์การนิเทศต่างกัน พบว่า มีความต้องการเสริมสมรรถภาพการนิเทศวิชาพลศึกษา ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this research were to study the needs for enhancing the competency of physical education supervisors of the office of the National Primary Education Commission, Educational Region twelve and to compa the needs between the less experienced physical education supervisors and the more experienced physical Education supervisors. The questionnaires were constructed and sent to 173 office primary education supervisors and 167 questionnaires or 96.53 percent were returned. The obtained data were analyzed in terms of means, stand are deviations and the t-test was also employed to test statistically significant differences. Results of the study were as follows: 1. The needs for enhancing the competency of physical education supervisors primary were at the “high” level in all aspects. 2. There was no significant difference between the less experienced supervisors and the more experienced in physical education supervisor at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31960
ISBN: 9745775444
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saovapa_ot_front.pdf4.7 MBAdobe PDFView/Open
Saovapa_ot_ch1.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open
Saovapa_ot_ch2.pdf37.14 MBAdobe PDFView/Open
Saovapa_ot_ch3.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Saovapa_ot_ch4.pdf13.36 MBAdobe PDFView/Open
Saovapa_ot_ch5.pdf8.41 MBAdobe PDFView/Open
Saovapa_ot_back.pdf16.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.