Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32050
Title: อิทธิพลของละครโทรทัศน์ไทยที่มีผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย
Other Titles: The influence of Thai drama series on Thai tourism promotion
Authors: นิตยาวดี วัชโรบล
Advisors: สุชาติ ทวีพรปฐมกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Suchart.Ta@Chula.ac.th, suchart_ta@hotmail.com
Subjects: ละครโทรทัศน์ไทย
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
Television plays, Thai
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของละครโทรทัศน์ไทยที่มีผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ คนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 25 - 60 ปี ที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครและชมละครโทรทัศน์ไทย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ([x-bar]) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดย การทดสอบค่าที (t-test) จะใช้เปรียบเทียบปัจจัยของละครโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศระหว่างเพศชายและเพศหญิง และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยของละครโทรทัศน์ที่มี อิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศกับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนในแต่ละช่วง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way Analysis of Variance: ANOVA) ด้วยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) กรณีพบค่าความแตกต่าง จะวิเคราะห์ความแตกต่างนั้นเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Different) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25 – 30 ปี มีอาชีพเป็นข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท มีระดับการศึกษาสูงสุด 2. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เปิดรับชมละครโทรทัศน์ไทยมากที่สุดในช่วงเวลา 20.01 - 00.00 น. ชมละครโทรทัศน์ไทยเฉลี่ย 4 – 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ชอบชมละครโทรทัศน์ไทยประเภทตลกหรือเบาสมอง ส่วนละครโทรทัศน์ไทยในอดีตที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการไปท่องเที่ยวตามรอยละครมากที่สุด คือ เรื่อง “ดวงใจอัคนี” ทางช่อง 3 โดยใช้สถานที่ถ่ายทำที่ Villa Maroc Hotel อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ Palio เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา และส่วนใหญ่อยากจะไปเที่ยวตามรอยละครโทรทัศน์หลังจากที่ชมละครโทรทัศน์แล้ว 3. ปัจจัยของละครโทรทัศน์ไทยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศมากที่สุด คือ ด้านภาพ ([x-bar] = 3.23) และปัจจัยทั่วไปที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวมากที่สุด คือ สภาพทางภูมิศาสตร์ ([x-bar] = 3.34) 4. เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยของละครโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า ด้านตัวละคร, ด้านสาระของเรื่อง, ด้านภาษา, ด้านเสียง และด้านภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยของละครโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศ ระหว่างรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่มีช่วงต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the influence of Thai drama series on Thai tourism promotion. The samples were 400 Thai people aged between 25 - 60 years old, who worked or lived in Bangkok Metropolitan area and watched Thai drama series. A questionnaire was used as a survey tool and data were analyzed statistically using the percentage, means and standard deviation. The test value “t” was used in order to compare Thai drama series factors which influenced Thai tourism promotion between male and female. One way analysis of variance (ANOVA) was used to compare the average of monthly income. If the results had been significantly different at 0.05, LSD (Least Significant Different)’s method was employed. The results were as follows; 1. Respondents mainly were female, aged between 25 - 30 years old, working as government official and state enterprise employed. Their average monthly income was about 10,001 - 20,000 Baht and highest education level was Bachelor degree. 2. Respondents mainly watched Thai drama series between 20.01 - 00.00 hours for an average of 4 - 10 hours a week and preferred watching comedy or lighthearted drama. The motivation of previous Thai drama series was “Duangjai Akkanee” by channel 3, shooting at Villa Maroc Resort, Pranburi & Palio Khao Yai, and mainly joined a drama tour after watching. 3. Thai drama series factors which had an influence in Thai tourism promotion was at high level in plot factors ([x-bar] =3.23), and the general factors which had an influence in tourism promotion was at high level in geographic factors ([x-bar] =3.34). 4. When comparing Thai drama series factors by gender, there were significant differences at 0.05 level in character factors, theme factors, diction factors, sound factors and spectacle factors. 5. When comparing Thai drama series factors by the average of monthly income, there was a significant difference at 0.05 levels in sound factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32050
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nittayavadee_va.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.