Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32712
Title: กรรมสิทธิ์ในแร่ตามกฎหมายไทย
Other Titles: Mineral ownership under Thai law
Authors: อานุภาพ นันทพันธ์
Advisors: กมลินทร์ พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สิทธิของรัฐและเอกชนในแร่ซึ่งมีอยู่ในอาณาเขตของรัฐจะมีอยู่อย่างไรนั้น หลักการสำคัญที่ต้องทราบคือ กรรมสิทธิ์ในแร่ซึ่งอยู่ในดินแดนอาณาเขตของรัฐเป็นของผู้ใด และมีการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในแร่อย่างไร ในกฎหมายของหลายประเทศมีข้อกำหนดในเรื่องดังกล่าวไว้ค่อนข้างชัดเจน ทำให้ทราบถึงสิทธิของรัฐและเอกชนที่มีอยู่ในแร่ แต่สำหรับกฎหมายไทยไม่มีข้อกำหนดในเรื่องดังกล่าวโดยชัดเจ้งมีเพียงข้อกำหนดวิธีการได้มาซึ่งแร่ และยอมรับการโอนและรับโอนแร่ที่ได้กระทำภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น จึงก่อให้เกิดปัญหาทางแพร่งหลายประการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และการใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงหลักการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้ข้อสรุปและความเห็นว่า บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องแสดงได้ว่ากรรมสิทธิ์ในแร่งเป็นของรัฐ การที่กฎหมายกำหนดวิธีการได้มาซึ่งแร่เป็นการอนุญาตให้เอกชนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในแร่ ซึ่งทำให้แร่เป็นทรัพย์ที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้หลักกรรมสิทธิ์และการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในแร่มีความชัดเจนแน่นอน และเป็นการแก้ไขปัญหาในทางแพ่ง ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยกำหนดให้กรรมสิทธิ์ในแร่งเป็นของรัฐ และกำหนดให้เอกชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในแร่ได้โดยการได้รับอนุญาตจากรัฐตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด
Other Abstract: The title and the ownership of mineral found in the territory of Thailand by the state and private person are to be observed. The principle which must be understood is that who is the owner of the mineral and how the mineral ownership was acquired. The law of many countries clearly specifies the right of ownership whether the mineral belongs to the state or to the private person. However the Thai law has not clearly specified such ownership. It only defines the regulations on how the mineral is acquired by the private person, the transfer and receipt of the mineral. Therefore, there are case of dispute relating to the ownership, the acquisition of ownership and illustrates that the ownership belongs to the state. The law defined the regulations on how mineral is acquired reflects that the state permits the private person to acquire the ownership of mineral. Therefore, mineral is the property which can be used to pay out debt according to the law. For the sake of clarity on the ownership and also as a mean to resolve many disputes, the author suggests that the low be amended on the issue that the mineral ownership belongs to the state. The private person can acquire the ownership of mineral from the state as defined by the provision of the law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32712
ISBN: 9746344668
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anupap_na_front.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
Anupap_na_ch1.pdf18.31 MBAdobe PDFView/Open
Anupap_na_ch2.pdf9.56 MBAdobe PDFView/Open
Anupap_na_ch3.pdf18.64 MBAdobe PDFView/Open
Anupap_na_ch4.pdf8.24 MBAdobe PDFView/Open
Anupap_na_ch5.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Anupap_na_back.pdf12.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.