Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32774
Title: การเปรียบเทียบความไวในการรับรู้เชิงสุนทรีย์ และความสามารถทางเหตุผลเชิงนามธรรม ระหว่างนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับนักเรียนปกติ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparison of aesthetic sensitivity and abstract between hearing impaired students and normal students at the lower secondary education level Bangkok Metropolis
Authors: ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล
Advisors: สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
สุนทรียศาสตร์
Hearing
Hearing impaired children
Aesthetics
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความไวในการรับรู้เชิงสุนทรีย์ของนักเรียนที่มีความบก พร่องทางการได้ยินกับนักเรียนปกติ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางเหตุผลเชิงนามธรรมของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับนักเรียนปกติ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโรงเรียนเศรษฐเสถียร และโรงเรียนพิบูล ประชาสรรค์ จำนวน 109 คน นักเรียนปกติโรงเรียนบางกะปิและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จำนวน 654 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2534 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความไวในการรับรู้เชิงสุนทรีย์ของซายด์ และแบบทดสอบความสามารถทางเหตุผล เชิงนามธรรมของ เบนเนทห์, ซีซอร์ และ เวสแมน ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่างประชากรด้วยตนเอง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่างที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยการทดสอบค่า Z (Z-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.คะแนนจากแบบทดสอบความไวในการรับรู้เชิงสุนทรีย์ระหว่างนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ ยินกับนักเรียนปกติ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน 2.คะแนนจากแบบทดสอบความสามารถทางเหตุผลเชิงนามธรรมระหว่างนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยินกับนักเรียนปกติ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this research were to study a comparison of aesthetic sensitivity of hearing impaired impaired students and normal students, and to study a comparison of abstract reasoning ability of hearing impaired students and normal students at the lower secondary education level, Bangkok metropolis. The population were the students at the lower secondary education level of academic year 1991. These were consisted of 109 hearing impaired students of Setsatian school and Piboonprachason school and 654 normal students of Bangkok school and Traimudomseuksa pattanakarn school. The research instruments were the Aesthetic Sensitivity Test by Child and the Abstract Reasoning Ability Test by Bennett, Seashore and Wesman. The tests were administered by researcher. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic means, standard deviations and statistic testing by means of Z-test with a statistical significant difference at the level of .05. The results of this research were as follows : 1.There was a statistically significant difference of the Aesthetic Sensitivity Test between hearing impaired students and normal students at the lower secondary education level, Bangkok Metropolis 2.There was a statistically significant difference of the Abstract Reasoning Ability Test between hearing impaired students and normal students at the lower secondary education level, Bangkok Metropolis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32774
ISBN: 9745811556
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyasaeng_ch_front.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open
Piyasaeng_ch_ch1.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open
Piyasaeng_ch_ch2.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Piyasaeng_ch_ch3.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open
Piyasaeng_ch_ch4.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Piyasaeng_ch_ch5.pdf8 MBAdobe PDFView/Open
Piyasaeng_ch_back.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.