Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32857
Title: การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
Other Titles: Development of science and technology research co-operation model for Thai public higher education institutions
Authors: เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@chula.ac.th
Arunee.Ho@Chula.ac.th
Subjects: ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
วิจัย
วิทยาศาสตร์ -- วิจัย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาความร่วมมือด้านการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา 8 แห่ง ที่เปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รวม 24 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 27 คน และคณาจารย์ บุคลากร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 332 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาร่างรูปแบบ และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ รวม 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สาระ ผลการวิจัยพบว่า สถาบันอุดมศึกษาขาดการสร้างความร่วมมือทำวิจัยบูรณาการ เพราะขาดเงินทุนทำวิจัย ขาดแคลนอุปกรณ์การทำวิจัยชั้นสูง และขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ผู้บริหารไม่มีนโยบายสนับสนุนในการสร้างความร่วมมือวิจัยที่เป็นรูปธรรมชัดเจน องค์กรกลางสร้างความร่วมมือวิจัยที่ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือให้สำเร็จ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการสร้างความร่วมมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ เงินทุน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เครื่องมืออุปกรณ์ชั้นสูงที่มีราคาแพง องค์กรกลางสร้างความร่วมมือที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะทำให้งานวิจัยสำเร็จ รูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. ด้านการบริหารจัดการความร่วมมือ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด คือ 1.1 จัดโครงสร้าง 1.2 นโยบาย, วิสัยทัศน์, พันธกิจ 1.3 การส่งเสริมความสามารถ 1.4 แนวทางสร้างความร่วมมือ 1.5 การประเมินผลและการตรวจสอบ 2. ด้านการจัดการทรัพยากรวิจัย ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด คือ 2.1 บุคลากร 2.2 เครื่องมืออุปกรณ์ 2.3 เงิน 3. ด้านเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด คือ 3.1 เครือข่าย 3.2 ทวิภาี 3.3 ไตรภาคี 3.4 การทำบันทึกข้อตกลงสร้างความร่วมมือวิจัย (MoU) 4. ด้านความยั่งยืนของเครือข่ายประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด คือ 4.1 การปรับวัฒนธรรม เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติการให้ชัดเจนต่อเนื่อง, การให้อิสระในการคิดเรื่องที่สนใจ และให้นับว่างานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน, มีการจัดประชุมสัมมนาต่างสถาบันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ, ทีมวิจัยต้องมุ่งเป้าไปที่ความสำเร็จร่วมกัน, ต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และต้องยอมรับซึ่งกันและกัน 4.2 การให้รางวัลและแรงจูงใจ เช่น การให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นธรรม, การให้รางวัลแก่นักวิจัย, ให้ทุนวิจัย การยกย่องเชิดชูเกียรติ 4.3 การบริหารกลุ่ม เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มสมาชิก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในเครือข่าย, มีการแบ่งปันทรัพยากรให้กับเครือข่าย, มีความพร้อมที่จะร่วมมือกันทำวิจัย, กำหนดเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน, การบริหารจัดการที่ดี, การควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประโยชน์สูงสุด ประหยัดทั้งทรัพยากรและประหยัดเวลา
Other Abstract: The purpose of this were to 1) study the current conditions problems, and obstacles of cooperation in scientific and technology research of government higher education institutes. 2) analyze the factors that affect success in creating cooperation in scientific and technology research, and development of science and technology research cooperation model for Thai public higher education institutions. Sample used in research is 1) Executive in universities, 8 of scientific sessions board of faculty of engineering including 24 people. 2) Phutrong qualifications research science and technology, 27 and Faculty personnel branch of science and technology number of 332 people. And 3) Klu phutrong example of choice in determining the shape of qualifications and evaluate the suitability of a total 18 people. Tools to use in research is an analysis of the document a simple survey questionnaires and interviews and a reasonable estimate of the model. Analysis of the data by use statistics setting percent average deviation mot base and content analysis. The results showed that edurch cational institutes don’t have cooperation in doing integrated research, budget, tools and equipment section in doing advanced advanced research, deficiencies: Skilled and knowledgeable staffs in specific field, executive not having the supportive policy in explicit creating reseach cooperation, and the main organization in creating research and coordinating Cooperffs; tools and equipments successfully. However, budget is the factor affecting the success in science and technology coorperation. Analysis of the data by use statistics setting percent average deviation mot base and content analysis.Skilled person in each field, high and expensive tools, organizations creating skills and knowledgeable reseach cooperation successfully. The forms of science and technology research cooperation in educational institutes can be divided into 4 sections. The first section is administration and management in cooperation commitment; encouraging abilities; ways to create cooperation; assessment and verification. The second is managings resources in research : staffs; tools and equipments, money. The third is indicators in signing memorandum of understanding (MoU) in research cooperation. The fourth is network sustainability consisting of 3 indicators: cultural adjustment such making explicit working plan continuously, having freedom to think of interesting issues and taking research into a part of working, arranging seminars and conferences between the institues continuously, having trust and accepting each others; giving rewards and motivation such as having the fair rights in intellectual property, giving the rewards to researchers, giving research fund and praise; group administration : having good retations with the groups, being aware of the importance in network cooperation; distributing resources to network groups ; havingreadiness to cooperate in doing research ; identifying the success goal together; having good management, controlling expenses approprixtely and Highly benefits saving the resources and times.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32857
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.416
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.416
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
katesunee_bu.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.