Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33021
Title: การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของตัววัดทางคลินิกของโรคสะเก็ดเงิน (พาซี่สกอร์) กับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเซลล์ที่ผลิตอินเตอร์ลิวคิน 17 ในผื่นรอยโรคของผู้ป่วยเรื้อรังโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาและรุนแรงระดับปานกลางถึงมากที่ได้รับการรักษาด้วยยาแอนตี้อินเตอร์ลิวคิน 12/23 โมโนโคลนัล แอนติบอดี้
Other Titles: The association between the change of Psoriasis Area and Severity Index (PASI) score and the change of number of IL-17 producing cells in the lesional skin of moderate to severe chronic plaque-type psoriasis treated with anti IL12/23 monoclonal antibody
Authors: ชนัทธ์ กำธรรัตน์
Advisors: นภดล นพคุณ
จงกลนี วงศ์ปิยะบวร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์
Advisor's Email: fmednnk@md2.md.chula.ac.th, Nopadon.N@Chula.ac.th
fmedjup@md2.md.chula.ac.th
Subjects: โรคสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงิน -- การรักษาด้วยยา
โรคสะเก็ดเงิน -- การรักษา
อินเตอร์ลิวคิน -17
ผิวหนัง -- โรค
การรักษาด้วยยา
Psoriasis
Psoriasis -- Treatment
Interleukin-17
Skin -- Diseases
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มา: โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ที่พบได้บ่อย แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ยังไม่แน่ชัดปัจจุบันเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับเซลล์เม็ดเลือดขาว T helper (Th) cells โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชนิด Th1 และ Th17 ซึ่งเปลี่ยนแปลงมากจาก naïve T cells โดยการกระตุ้นของ อินเตอร์ลิวคิน (Interleukin, IL) 12 และ 23 ตามลำดับ จึงเป็นที่มาของการรักษาผู้ป่วยโดยใช้ยายูสเตคินูแมบ (ustekinumab) ซึ่งเป็นแอนตี้ อินเตอร์ลิวคิน 12/23 โมโนโคลนัลแอนติบอดี้ (Anti IL 12/23 monoclonal antibody) วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของอาการทางคลินิกของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินซึ่งวัดโดยใช้ Psoriasis Area and Severity Index (PASI) score และจำนวนเซลล์ที่ผลิต IL-17 ในรอยโรคของผู้ป่วย หลังได้รับการรักษาด้วยยายูสเตคินูแมบ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยสะเก็ดเงินชนิด chronic plaque type รุนแรงระดับปานกลางถึงมาก จำนวน 14 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยายูสเตคินูแมบ ที่ 0, 4, 16, 28, 40 และ 52 สัปดาห์ ได้รับการประเมิน PASI score และตัดชิ้นเนื้อ ขนาด 4 มม. ที่สัปดาห์ที่ 0 และ 16 โดยแพทย์ผิวหนัง หลังทำการย้อมชิ้นเนื้อด้วยวิธีการ H&E และ immunohistochemical stain แพทย์ผิวหนังเป็นผู้นับเซลล์ที่ย้อมติด IL-17 ในผิวหนัง โดยการสุ่มเลือกนับจาก 10 บริเวณด้วยกำลังขยาย 40 เท่า เพื่อหาค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา: ค่า median ของ PASI score และจำนวน IL-17 producing cells ในรอยโรคของผู้ป่วยเปรียบเทียบที่ baseline และ สัปดาห์ที่ 16 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) และมีความสันพันธ์ระหว่างร้อยละการเปลี่ยนแปลงของ PASI score และร้อยละการเปลี่ยนแปลงของจำนวน IL-17 producing cells อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.56, p = 0.037) สรุปผลการศึกษา: ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน IL-17 producing cell และอาการทางคลินิก สามารถเป็นหลักฐานที่อธิบายส่วนหนึ่งของพยาธิกำเนิดของโรคสะเก็ดเงินและกลไกการออกฤทธิ์ของยา anti IL 12/23 monoclonal antibody
Other Abstract: Background: Current studies of psoriasis pathogenesis are pointing toward T helper 1 (Th1) and 17 (Th17) cells induced by interleukin (IL) 12 and 23, respectively. The use of anti IL 12/23 monoclonal antibody, ustekinumab, is one of the most effective treatments. Objectives: To determine the association between the Psoriasis Area and Severity Index (PASI) score change and the change of number of IL-17 producing cells biopsied from the lesional skins in psoriatic patients treated with ustekinumab. Materials and methods: Fourteen psoriatic patients were treated with ustekinumab (Stelara®, Johnson&Joshnson) 45 mg subcutaneously injection at 0, 4, and every 12 weeks. The PASI scores and 4 mm skin biopsies were performed in the lesional areas at week 0 and 16 by dermatologists. The Hematoxylin & Eosin and immunohistochemical staining were done from paraffin embedded sections. The IL-17 positive cells were counted manually in ten different randomized areas under 40X light microscopy. The mean of PASI score and number of IL-17 producing cells were analyzed. Results: There were significant differences in the term of PASI score and IL-17 producing cells between week 0 and week16 (p<0.01). The study also showed a statistically significant correlation between the percent change of PASI score and cell count (r = 0.56, p = 0.037). Summary: The moderate correlation between IL-17 producing cells in lessions and the clinical manifestation assessed by of PASI scores provides indirect evidence of the mechanism of ustkinumab and the pathogenesis of psoriasis in psoriasis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33021
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1322
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1322
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanat_ku.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.