Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34195
Title: อุดมการณ์ทางการศึกษาของโรงเรียนมหาดเล็ก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Other Titles: Educational ideology of the royal page's college in the reign of his Majesty King Chulalongkorn
Authors: นิสิตา กลางณรงค์
Advisors: กรรณิการ์ สัจกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โรงเรียนมหาดเล็ก
โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
อุดมการณ์ทางการศึกษา
ข้าราชการพลเรือน -- การฝึกอบรม
การวางแผนกำลังคน -- ไทย
การเลื่อนฐานะทางสังคม -- ไทย
มหาดเล็ก
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและอุดมการณ์ทางการศึกษาของโรงเรียนมหาดเล็กที่มีต่อการผลิตบุคคลเข้ารับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการวิจัยพบว่า เมื่อแรกบุคคลชั้นนำมีแนวความคิดในการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนทั่วไป แต่ด้วยข้อขัดข้องทางด้านบุคลากร งบประมาณ และมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการสรรหาข้าราชการฝ่ายปกครองของกระทรวงมหาดไทย โรงเรยีนมหาดเล็กจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อสนองต่อเงื่อนไขดังกล่าวโดยปริยาย ทั้งนี้ ยังคงอาศัยพระราชสำนักเป็นศูนย์กลางในการอบรมความรู้โดยการประสมประสานแนวความคิดในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งราชสำนักพร้อมทั้งการประยุกต์หลักสุตรการสอนวิชาการปกครองสมัยใหม่เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ทางการศึกษาให้แก่บุคคลในอุดมคติที่รัฐพึงประสงค์ ด้วยคุณสมบัติของความเป็นผู้มีความรู้ดี ความประพฤติดี มีไหวพริบในหน้าที่ราชการ มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองภายใต้ศูนย์รวมแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลชั้นนำมิได้ติดยึดกับค่านิยมในการสนับสนุนข้าราชการที่มาจากตระกูลที่ดี แต่ยังได้เปิดโอกาสให้สมาชิกในสังคมได้รับความเสมอภาคทางการศึกษา โดยมีความเชื่อว่า ข้าราชการที่ดีนั้นพิจารณาจากความรู้และความประพฤติดีเป็นสำคัญ
Other Abstract: This research is made with the aim to learn about the Royal Page’s College in regards to producing personnels to become Civil servants in the Reign of His Majesty King Chulalongkorn. The result of the research revealed that at first the elite had an idea of establishing a school to train Civil Servants in general, but cannot proceed in doing so because of lacking of tutors and budgets. Nevertheless, adding to the urgent need of acquiring civil servants for the Administration Department of the Ministry of Interior, thus the Royal Page’s College was established to fulfil the conditions stated above. It still learns on the Royal Court as center for training new civil servants. It blended ideas in administrating education to conserve traditions of the Royal court adding together the theory of modern administration education, so as to implant educational ideology to the ideal personnels that the State needs with all the characters of a man of good education, of good manners, witty in the sense of duty, having integrity and loyal to the nation centralized under the King’s Institution. It is also found out that the elite was not stuck with the status Symbol of only supporting civil servants those who come from “Good Families”, but it had given the opportunity to members of the society to have equal rights for education, believing that to consider the quality of a good civil servants from “good education and good manners”.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พื้นฐานการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34195
ISBN: 9745779288
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisita_kl_front.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_kl_ch1.pdf5.62 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_kl_ch2.pdf17.7 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_kl_ch3.pdf44.34 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_kl_ch4.pdf27.3 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_kl_ch5.pdf8.53 MBAdobe PDFView/Open
Nisita_kl_back.pdf14.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.