Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34480
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสริน ปุณณะหิตานนท์-
dc.contributor.authorอนันต์ ลิขิตประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-09T10:19:39Z-
dc.date.available2013-08-09T10:19:39Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745619744-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34480-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำหมู่บ้านในการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน โดยมีจุดรวมความสนใจอยู่ที่บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้นำซึ่งคาดว่าความแตกต่างในเรื่องต่างๆ นี้เป็นสิ่งที่ทำให้การพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานก้าวหน้าไปได้ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งตัวแปรเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้นำที่เห็นว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานได้แก่ความทันสมัย พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตลอดจนการยอมรับนับถือของชาวบ้านที่มีต่อผู้นำในหมู่บ้านของตน ในการศึกษาครั้งนี้ได้สร้างดัชนีวัดความต้องการขั้นพื้นฐานและมาตรฐานความเป็นอยู่ขั้นต่ำของหมู่บ้าน ซึ่งจะใช้ผลของการวัดเป็นเครื่องมือจัดระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้านออกเป็น 3 ระดับ คือ หมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสูง (ระดับ 3) หมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาปานกลาง (ระดับ 2) หมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่ำ (ระดับ 1) และในขั้นตอนต่อมาได้คัดเลือกหมู่บ้านในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์มา 3 แห่ง โดยแต่ละแห่งอยู่คนละตำบล หมู่บ้านทั้งสามแห่งนี้มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานต่างกันเป็น 3 ระดับ ตามนัยดังกล่าวข้างต้น แต่ก็มีระยะทางใกล้ตัวอำเภอพอๆ กัน นอกจากนั้นยังได้เลือกหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานอยู่ในขั้นสูง (ระดับ 3) มาอีก 1 แห่ง เพื่อให้ทำหน้าที่คล้ายๆ กับกลุ่มควบคุมในการทดลองหมู่บ้านแห่งที่ 4 นี้อยู่ห่างจากตัวอำเภอมากกว่า 3 หมู่บ้านที่กล่าวแล้วข้างต้น จุดมุ่งหมายในการมี “หมู่บ้านควบคุมนี้” ก็เพื่อที่จะวิเคราะห์ดูว่านอกจากตัวแปรในเรื่องคุณสมบัติของผู้นำหมู่บ้านแล้ว ยังมีตัวแปรอื่นที่มีส่วนช่วยอธิบายความสำเร็จในการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานอยู่ด้วยหรือไม่ เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำหมู่บ้าน 77 คน และชาวบ้าน 253 คน สำหรับผู้นำหมู่บ้านนั้นเลือกจากบุคคลผู้ซึ่งชาวบ้านระบุว่ามีบทบาทต่างๆ ที่สำคัญในการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้าน ส่วนชาวบ้านนั้นเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามชั้น (Stratified random sampling) ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลดังกล่าวโดยใช้วิธีสัมภาษณ์ประกอบแบบสอบถามสำหรับชาวบ้าน 1 ชุด และสำหรับผู้นำอีก 1 ชุด ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้นำในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานสูงมีความทันสมัยมากกว่าผู้นำในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานต่ำกว่า เฉพาะแต่ในกรณีหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่างกันมากเท่ากัน คือ หมู่บ้านระดับ 3 กับระดับ 1 และ “หมู่บ้านควบคุม” (ระดับ 3) กับหมู่บ้านระดับ 1 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 1 2. ผู้นำในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานสูงมีพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารมากกว่าผู้นำในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานต่ำกว่า เฉพาะแต่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่างกันมากที่สุดเท่านั้น คือหมู่บ้านระดับ 3 กับหมู่บ้านระดับ 1 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 1 3. ผู้นำในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานสูงมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่าผู้นำในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานต่ำกว่าในแทบทุกหมู่บ้านที่อยู่ในข่ายของการเปรียบเทียบ ยกเว้นผู้นำ “หมู่บ้านควบคุม” กับผู้นำหมู่บ้านระดับ 2 และผู้นำหมู่บ้านควบคุมกับผู้นำหมู่บ้านระดับ 1 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 1 4. ผู้นำในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานต่างกัน ได้รับการยอมรับนับถือจากชาวบ้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 1 5. ความแตกต่างกันในระดับของการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน ไม่ได้เกิดจากความแตกต่างขององค์ประกอบทางประชากรของผู้นำหมู่บ้านที่อยู่ในข่ายของการเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 2 6. ความสัมพันธ์ระหว่างความทันสมัย พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้นำนั้น เมื่อพิจารณาในทุกหมู่บ้านรวมกันแล้วปรากฏว่าผู้นำมีความทันสมัย พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7. แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความทันสมัย พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้นำในแต่ละหมู่บ้านแล้ว ปรากฏว่า 7.1 ผู้นำในหมู่บ้านระดับ 3 มีความทันสมัย พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 3 7.2 ผู้นำในหมู่บ้านระดับ 2 มีความทันสมัย พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ไม่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3 ที่ตั้งไว้ 7.3 ผู้นำในหมู่บ้านระดับ 1 มีความทันสมัย สอดคล้องกันกับพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกันกับพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นเดียวกัน แต่มีความทันสมัยกับพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารที่ไม่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 3 ที่ตั้งไว้ 7.4 ผู้นำหมู่บ้านควบคุม มีความทันสมัยที่สอดคล้องกันกับพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีความทันสมัยที่ไม่สอดคล้องกันกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ไม่สอดคล้องกันกับพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 เช่นเดียวกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 3 ที่ตั้งไว้ โดยสรุปแล้วปรากฏว่า ผลการวิจัยเป็นไปอย่างที่คาดคิดไว้ กล่าวคือคุณสมบัติและพฤติกรรมของผู้นำเป็นตัวอธิบายความแตกต่างกันในระดับการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานของแต่ละหมู่บ้านได้-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the role of village leaders in the development of the Rural Primary Health Care Program. Its main focus was on the differences in their personal attributes and behavior patterns, such as modernity, communication behavior, and achievement motivation, which were conceived of as three major factors making for high or low level of rural health development. An assessment of the credibility of local leaders was also made to see whether it could account for the different degrees of development under study. Three villages in Amphoe Lamplaimas, Changwad Buriram, was included in the sample. They were purposively selected to represent 3 levels of health development: high, moderate, and low, respectively. These three villages are about the same size; are located about the same distance from the District Headquarters; and have been made experimental units of the said Program at the same time (in 1979). Two sets of indicators were used to ascertain the levels of development, namely, the Basic Need Determinants and the Village Minimum Standard of Living. In addition, another village was selected to function like a “control group” in an experimental research design. This fourth unit of study was much further from the seat of the District than the three original ones, but was ranked high on the scale of health development as measured by the said two sets of indicators. Altogether, the four villages constituted the sampling frame and their residents were treated as the population or universe from which the final sample was drawn. As a result, there were 77 village leaders and 253 randomly selected villagers in the total sample. Since the present investigator was able to draw both on previous research findings and on existing social psychological theories to formulate the research problem, he hypothesized that a strong relationship would be found between certain leadership traits and the degrees of health development. To be more specific, it was hypothesized that: 1. Compared to those leaders in less developed villages, leaders in the highly developed ones would be more superior regarding such personal characteristics as modernity, communication behavior, and achievement motivation. 2. Demographic characteristics of village leaders could not be regarded as possible explanations of differences among high and low levels of health development. 3. There would be a strong relationship amongst the three aforementioned personal attributes of village leaders. That is, leaders who are high or low on modernity would be high or low on communication behavior and achievement motivation as well. An interview schedule or questionnaire was used to collect the relevant data. In addition to percentage differences, certain more sophisticated techniques of data analysis were used to test the hypothesized differences and relationships. The research findings show that, insofar as modernity, communication behavior, and primary health care are concerned, there were statistically significant differences between leaders of the highly developed villages and those of the least developed ones. But with respect to the trait of achievement motivation, the differences were not thoroughly consistent, particularly between the “control” village and those lower on the scale of health development. Moreover, it was found that demographic characteristics of village leaders did not have significant impact on the degrees of health development under study. It is also worth noting that public acceptance of local leaders (the problem of credibility) played no part in the effectiveness of the program. Therefore, it will not go far wrong to conclude that the greater the differences in leadership traits and behavior, the greater would be the difference in the levels of health development among the villages under study.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้นำชนบท-
dc.subjectสาธารณสุขมูลฐาน-
dc.titleอิทธิพลของผู้นำหมู่บ้านที่มีต่อการพัฒนาสาธารณสุขขั้นมูลฐาน : การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทผู้นำในสามหมู่บ้านของจังหวัดบุรีรัมย์en_US
dc.title.alternativeThe influences of village leaders on the development of primary health care : A comparative study of leadership roles in three buriram's villagesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anant_li_front.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
Anant_li_ch1.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open
Anant_li_ch2.pdf16.5 MBAdobe PDFView/Open
Anant_li_ch3.pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open
Anant_li_ch4.pdf14.1 MBAdobe PDFView/Open
Anant_li_ch5.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open
Anant_li_back.pdf26.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.