Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34719
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลัดดา วงศ์รัตน์-
dc.contributor.advisorไพรัช สายเชื้อ-
dc.contributor.authorหัตธยา ธงรบ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-13T03:33:30Z-
dc.date.available2013-08-13T03:33:30Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745673846-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34719-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ทำที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแต่ละเดือนต่อความชุกชุมของแพลงค์ตอนสัตว์ ได้กำหนดสถานีทดลองไว้ 8 สถานี โดยเริ่มจากปากแม่น้ำขึ้นไปตามลำน้ำเป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร ทำการสุ่มตัวอย่าง เดือนละครั้งในช่วงน้ำลงต่ำสุด ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2527 ถึงเดือนมกราคม 2528 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความเค็มของน้ำในรอบปีเปลี่ยนแปลงมากคือ 0.00-31.60 ppt และแบ่งได้เป็น 2 ช่วง ของความแตกต่างอย่างชัดเจน คือ ช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม มีความเค็มสูง ระหว่าง 23.60-29.50 ppt และช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน มีความเค็มต่ำ ระหว่าง 0.00-3.60 ppt ระดับความเค็มมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความชุกชุมของแพลงค์ตอนสัตว์ กล่าวคือในสถานีที่ 8 ซึ่งมีความเค็มสูงจะมีความชุกชุมของแพลงค์ตอนสัตว์สูง เท่ากับ 194 x 10³ ตัวต่อลูกบาศก์เมตร พบแพลงค์ตอนสัตว์ทั้งหมด 11 phylum ประกอบด้วย 37 ชนิด แต่มีเพียงกลุ่มเดียวที่มีปริมาณมากที่สุด ตลอดปี คือ order Copepoda (class Crustacea, phylum Arthropoda) ซึ่งมีปริมาณ 70-90 % ของแพลงค์ตอนสัตว์ทั้งหมด ความขุ่นของน้ำในรอบปี พบว่ามีเพียง 2 เดือนเท่านั้นที่ระดับความขุ่นสูงมาก คือ เดือนมิถุนายน มีความขุ่น 213.40 NTU. และเดือนกรกฎาคม มีความขุ่น 213.40 NTU. และเดือนกรกฎาคม มีความขุ่น 205.40 NTU. ส่วนเดือนอื่นๆ มีระดับความขุ่นค่อนข้างต่ำมาก คือ 12.90-135.80 NTU. ความขุ่นของน้ำมีแนวโน้มสัมพันธ์เชิงลบกับความชุกชุมของแพลงค์ตอนสัตว์ ระดับ pH ของน้ำผันแปร ในรอบปีอยู่ระหว่าง 6.30-7.50 และมีแนวโน้มสัมพันธ์เชิงบวกกับความเค็ม และความชุกชุม ของแพลงค์ตอนสัตว์ อุณหภูมิของน้ำผันแปรในรอบปีอยู่ระหว่าง 24.60-31.80 ℃ และไม่แสดงว่ามีอิทธิพลต่อความชุกชุมของแพลงค์ตอนสัตว์ นอกจากนี้ได้วิเคราะห์ผลทางสถิติ พบว่า การเปลี่ยนแปลง ความเค็มความขุ่น ระดับ pH และอุณหภูมิของน้ำในแต่ละเดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่พบความแตกต่าง ระหว่างสถานีต่างๆ ในเดือนเดียวกัน ในทำนองเดียวกันการเปลี่ยนแปลงความชุกชุมของแพลงค์ตอนสัตว์ในแต่ละเดือนก็แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่ต่างกันระหว่างสถานีต่างๆ ในเดือนเดียวกัน
dc.description.abstractalternativeThis research was carried out in the Bang Pakong estuary, Bang Pakong district, Chacheongsao province. The objective of the study was to compare the effect of monthly change of water quality on zooplankton abundance. Eight experimental stations, along the Bang Pakong river about 17 km. from the mouth of the river, were selected. Samples were taken monthly, during lowest tide, from February 1984 to January 1985. The results were as follows: The water salinity ranged from 0.00-31.60 ppt and could be divided into two categories, the upper range of 23.60-29.50 ppt was found in December-May and the lower range of 0.00-3.60 ppt was found in June-November. Interaction of salinity and zooplankton density showed positive correlation. For example, the density as high as 194.03 x 10³ per cubic meter was taken from the high salinity plot whereas only 36.31 x 10³ per cubic meter from the low salinity plot. Thirty seven species of 11 phyla of zooplankton were reported but only those in the order Copepoda (class Crustacea, phylum Arthropoda) always had the highest number of about 70-90%. The water turbidity at the high level of 213.40 NTU. And 205.40 NTU. Were found in June and July, respectively. For the rest of the year, the low range of water turbidity, 12.90-135.80 NTU, was shown. There was a tendency of negative correlation between turbidity and zooplankton density. The water pH ranged from 6.30 to 7.50 showed positive correlation to salinity and zooplankton density. Statistical analysis showed monthly significant differences of salinity, turbidity, pH, temperature and zooplankton density, but no differences among stations during the same month.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคุณภาพน้ำ -- ไทย (ภาคกลาง)
dc.subjectแพลงค์ตอน
dc.subjectปากน้ำ -- ไทย (ภาคกลาง)
dc.subjectนิเวศวิทยาปากน้ำ -- ไทย (ภาคกลาง)
dc.subjectแม่น้ำบางปะกง
dc.titleการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและความชุกชุมของแพลงค์ตอนสัตว์ บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงen_US
dc.title.alternativeChange in water quality and zooplankton abundance in Bang Pakong estuaryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hattaya_th_front.pdf9.75 MBAdobe PDFView/Open
Hattaya_th_ch1.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Hattaya_th_ch2.pdf11.64 MBAdobe PDFView/Open
Hattaya_th_ch3.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open
Hattaya_th_ch4.pdf37.57 MBAdobe PDFView/Open
Hattaya_th_ch5.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open
Hattaya_th_back.pdf21.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.