Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35293
Title: พฤติกรรมการรับข่าวสารที่มีผลต่อการยอมรับการถือมังสวิรัติ ของสมาชิกพุทธ สถานสันติอโศก
Other Titles: Media exposure affecting the adoption of vegetarianism among the members of Santi-Asoke Buddhist center
Authors: เยาวดี รักษ์วิริยะ
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ข่าวสาร
การสื่อสาร
สื่อมวลชนในศาสนา
การประชาสัมพันธ์ -- มังสวิรัติ
พุทธสถานสันติอโศก
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องพฤติกรรมการรับข่าวสารที่มีผลต่อการยอมรับการถือมังสวิรัติของสมาชิกพุทธสถานสันติอโศก แขวงคลองกุ่ม เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจ ว่าจะมีผลต่อการยอมรับการถือมังสวิรัติของสมาชิกแตกต่างกันอย่างไร 2. เพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณลักษณะของสมาชิกที่มีการยอมรับการถือมังสวิรัติเร็วและการยอมรับการถือมังสวิรัติช้าของสมาชิก ประชากรที่นำมาศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นสมาชิกของพุทธสถานสันติอโศก จำนวน 286 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ แบบแผนการวิจัยใช้แบบ one-shot descriptive study สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์การกระจาย การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้โปรแกรม SPSS (Statistical package for the social science) ณ ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับข่าวสารจากสื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ มีผลต่อการยอมรับการถือมังสวิรัติต่างกัน โดยสื่อบุคคลจะมีผลมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อเฉพาะกิจ 2. ความแตกต่างของคุณสมบัติของสมาชิกในเรื่อง อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสถานภาพสมรส ไม่เป็นปัจจัยสำคัญในการยอมรับการถือมังสวิรัติเร็วหรือช้าต่างกัน จากผลการวิจัยยังพบว่า สื่อมวลชนไม่มีผลต่อการยอมรับการถือมังสวิรัติของสมาชิกพุทธสถานสันติอโศกเลย สื่อเฉพาะกิจมีผลบ้างในการยอมรับ สื่อบุคคลจะเป็นสื่อสำคัญที่สุดในการยอมรับการถือมังสวิรัติของสมาชิก แต่เมื่อสมาชิกยอมรับการถือมังสวิรัติแล้ว สื่อเฉพาะกิจกลับเป็นแหล่งสำคัญที่สมาชิกรับข่าวสารเกี่ยวกับอาหารมังสวิรัติเพิ่มเติมมากที่สุด
Other Abstract: This study intended to study : 1. The media exposure that affects the adoption of vegetarianism among the members of Santi-Asoke Buddhist Center, Bangapi District, Bangkok. 2. The differential characteristics of the ones who early and the ones who lately adopt vegetarianism. The subjects of this study included 286 members of Santi-Asoke Buddhist Center. All were individually interviewed according to the 49-item prepared questionnaires. The research design was a one-shot descriptive type. Statistical analysis used were percentage mean, standard deviation and coefficient of variation. As for the data processing, the statistical package for the social science (SPSS) is used. Results of the study 1. Message reception from different communication media yielded different effects on the adoption of vegetarianism. Interpersonal media were the most effective, and specialized media ranked the second most effective. 2. There is no dominant relationship between early adopters and lately adopters regarding to their differential characteristics, such as sexes, age, educational background, careers, income and marriage status. According to the study, mass media did not have any affect on the adoption of vegetarianism, where as interpersonal media was the most effective. Specialized media was the most frequently mentioned source of information after the vegetarianism had been adopted.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35293
ISBN: 9745631523
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yaowadee_ra_front.pdf15.75 MBAdobe PDFView/Open
Yaowadee_ra_ch1.pdf16.83 MBAdobe PDFView/Open
Yaowadee_ra_ch2.pdf20.81 MBAdobe PDFView/Open
Yaowadee_ra_ch3.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Yaowadee_ra_ch4.pdf10.3 MBAdobe PDFView/Open
Yaowadee_ra_ch5.pdf8.87 MBAdobe PDFView/Open
Yaowadee_ra_back.pdf58.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.