Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35691
Title: | ผลของการกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าร่วมกับการฝึกโดยใช้แรงต้านต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อต้นขาในชายสุขภาพดี |
Other Titles: | Effects of neuromuscular electrical stimulation with resistance training on the performance of the thigh muscles in healthy males |
Authors: | วิรัลย์พัช พินิจสถิล |
Advisors: | สมพล สงวนรังศิริกุล ชมพูนุท สุวรรณศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sompol.S@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | กำลังกล้ามเนื้อ การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ สมรรถภาพทางกาย Muscle strength Muscle strength training Physical fitness |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าร่วมกับการฝึกโดยใช้แรงต้านต่อการเพิ่มสมรรถภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา วิธีดำเนินการ: สุ่มอาสาสมัครจำนวน 52 คนออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า(NMES), กลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้าร่วมกับการฝึกโดยใช้แรงต้าน(RNMES), กลุ่มที่ได้รับการฝึกโดยใช้แรงต้าน(R)และกลุ่มควบคุม(C) ในแต่ละกลุ่มจะทำการฝึกสัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ที่ระดับความหนัก 60%ของแรงหดตัวสูงสุดที่กล้ามเนื้อสามารถทำได้ในขณะเกร็งค้างยกเว้นกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบค่าความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและงอเข่าขณะเกร็งค้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าที่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อแบบหดสั้นและแบบยืดยาวออกที่ความเร็ว 30 องศาต่อวินาทีและ 120 องศาต่อวินาทีภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มภายหลังการฝึก ผลการศึกษา: ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาของอาสาสมัครภายหลังการฝึกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 3 กลุ่ม คือกลุ่ม NMES RNMES และกลุ่ม R โดยความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าขณะเกร็งค้างและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าที่ความเร็วเชิงมุม120 องศาต่อวินาทีไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม แต่ที่ความเร็วเชิงมุม 30 องศาต่อวินาทีมีเพียงกลุ่ม RNMES เท่านั้นที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม (p<0.05) สรุปผลการศึกษา: การกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าสามารถใช้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านที่ระดับความหนัก 60%ของแรงหดตัวสูงสุดที่กล้ามเนื้อสามารถทำได้ในขณะเกร็งค้าง |
Other Abstract: | Objective: To study the effect of neuromuscular electrical stimulation with resistance training on the performance of the thigh muscle. Methods: Fifty-two healthy volunteers were randomized into one of 4 groups: neuromuscular electrical stimulation group(NMES) resistance exercise with neuromuscular electrical stimulation group(RNMES) resistance group(R) and control group(C). The training period was 3 times a week for 4 weeks at 60%MVIC in each group except control group. The maximum voluntary isometric contraction (MVIC) of the quadriceps,30 degrees/second eccentric/concentric isokinetic contraction of the quadriceps and 120 degrees/second eccentric/concentric isokinetic contraction of the quadriceps were compared within group and between group after training. Results: The strengthening of volunteers’ thigh muscles after training were significant increase in 3 groups; NMES, RNMES and R. There was no significant difference between groups in MVIC and 120 degrees/second isokinetic contractions. But only RNMES group was significant increase in 30 degrees/second isokinetic contractions between groups. (p<0.05). Conclusion: Neuromuscular electrical stimulation can be applied to increase the capability of muscle performance efficiently same as resistance exercise especially if apply with resistance exercise training at 60%MVIC. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35691 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1013 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1013 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
viranpatt_pi.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.