Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36151
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย-
dc.contributor.authorจรสวรรณ โกยวานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-14T12:47:56Z-
dc.date.available2013-10-14T12:47:56Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36151-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงสำหรับองค์กรอุตสาหกรรมบริการ เพื่อให้องค์กรอุตสาหกรรมบริการ หรือองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สามารถนำแนวทางที่จัดทำขึ้นไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการความเสี่ยงในองค์กรของตน ทำให้องค์กรอุตสาหกรรมบริการมีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีแนวทางเดียวกัน มีการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้การบริการมีคุณภาพเป็นไปตามความต้องการ และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและผู้รับบริการ พร้อมทั้งสร้างความแข็งแกร่งในด้านคุณภาพของภาคธุรกิจและของประเทศโดยส่วนรวม การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงสำหรับองค์กรอุตสาหกรรมบริการ โดยทำ การศึกษาข้อกำหนดมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงของออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ( AS/NZS 4360 ) มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานการบริหารจัดการต่างๆที่เกี่ยวกับความเสี่ยงในงานอุตสาหกรรมบริการของประเทศไทยและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อทำการปรับปรุงข้อกำหนดที่มีอยู่เดิมให้มีความสมบูรณ์และเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้น นำแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดขึ้นไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญ โดยผลจากการประเมินสรุปได้ว่าแนวทางการบริหารความเสี่ยงมีความเหมาะสมแต่ยังขาดความกลมกลืนและการสื่อความหมายที่ดี จากนั้นจึงทำการปรับปรุงแก้ไขแล้วนำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับศูนย์บำบัดสุขภาพธารน้ำแร่ โรงพยาบาลระนอง เพื่อประเมินว่าแนวทางการบริหารความเสี่ยงนั้น สามารถนำไปใช้จริงได้ดีเพียงใด ซึ่งจากการประเมินความเสี่ยงหลังจากมีแนวทางการบริหารความเสี่ยงแล้ว พบว่า พบว่าเปอร์เซ็นต์การเกิดความสูญเสียจากความเสี่ยงโดยเฉลี่ยของจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางด้านต่างๆลดลงร้อยละ 64.13en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to develop risk management guideline for service industry. The service industry and other organizations are able to involve this guideline of risk management. Moreover, it can be applied to their organization in order to make a same guideline to risk management, effective, service level and satisfactory of costumers in the service industry. Furthermore, this guideline of risk management are strongly supported the quality in private section beyond to the nationwide. Firstly, development of the risk management guideline for service industry was started by studying risk management standard of Australian New Zealand (AS/NZS 4360). The next step of research was comparing between AS/NZS 4360 and Thai service industries risk management standard include law of spa, in order to improve former risk management guideline. Better and more specified risk management guideline is expected after the improvement. Developed risk management guideline was examined by specialists. And examination results indicated that new risk management guideline was more suitable than former one, but still lack of conformity and understandability. These weaknesses were enhanced and improved risk management guideline was practical used in Ranong Medical Spa Center. Risk evaluation after applying new risk management guideline shown that percent by average of accident was reduced by 64.13%.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1253-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศูนย์บำบัดสุขภาพธารน้ำแร่en_US
dc.subjectการบริหารความเสี่ยงen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมบริการ -- การบริหารความเสี่ยงen_US
dc.subjectMedical Spa Centeren_US
dc.subjectRisk managementen_US
dc.subjectService industries -- Risk managementen_US
dc.titleการพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงสำหรับองค์กรอุตสาหกรรมบริการ : กรณีศึกษา ศูนย์บำบัดสุขภาพธารน้ำแร่en_US
dc.title.alternativeDevelopment the risk management guideline for service industry : a case study of “Medical Spa Center”en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisordamrong.t@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1253-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jarotwan_ko.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.