Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36712
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ-
dc.contributor.authorรัตน์ยาภรณ์ ฉายศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-11-22T08:53:50Z-
dc.date.available2013-11-22T08:53:50Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36712-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมบัติของน้ำมันดีเซลจากขยะพลาสติกและแนวการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน โดยการนำมาตรฐานไบโอดีเซลชุมชนมาใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ เพื่อให้ได้น้ำมันมีคุณภาพเหมาะแก่การใช้ประโยชน์เป็นน้ำมันให้แก่ชุมชนและเกษตรกร โดยนำตัวอย่างน้ำมันที่ได้จากขยะพลาสติกมาวิเคราะห์คุณภาพ และทำการปรับปรุงคุณภาพเมื่อพบว่ามีค่าที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จากผลการทดสอบพบว่าค่าที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประกอบด้วย ค่าความหนืด จำนวนซีเทน ปริมาณเถ้าซัลเฟต ปริมาณน้ำและตะกอน ค่าการกัดกร่อนแผ่นทองแดง และค่าความเป็นกรด ส่วนค่าที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประกอบด้วย จุดวาบไฟ ค่าความหนาแน่น และปริมาณกำมะถัน โดยพบว่ามีค่าจุดวาบไฟ เท่ากับ 98.5 ºC ต่ำกว่าข้อกำหนด ที่กำหนดให้ไม่ต่ำกว่า 120 ºC ค่าความหนาแน่น เท่ากับ 812.9 kg/m3 ต่ำกว่าข้อกำหนดที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 860 และไม่สูงกว่า 900 kg/m3 และปริมาณกำมะถัน เท่ากับ 0.08 %wt สูงกว่าค่าที่กำหนดไว้ว่าไม่สูงกว่า 0.0015%wt จึงทำการปรับปรุงค่าความหนาแน่นและจุดวาบไฟด้วยวิธีแยกน้ำมันเบาออกด้วยเครื่องระเหยแบบหมุนที่อุณหภูมิ 170 ºC เป็นเวลา 2 ชั่วโมง พบว่าจุดวาบไฟเพิ่มขึ้นจาก 98.5 เป็น 140 ºC ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ค่าความหนาแน่น แม้จะเพิ่มขึ้นจาก 812.9 เป็น 818.4 kg/m3 แต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยอาจมีสาเหตุจากสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำมันไบโอดีเซลที่แตกต่างจากน้ำมันดีเซลจากขยะพลาสติก การปรับปรุงค่าความหนาแน่นในขั้นปลายจึงกระทำได้ยาก ดังนั้นจึงควรปรับปรุงในขั้นตอนการผลิตให้เหมาะสม ส่วนการกำจัดกำมะถันแบ่งเป็น 2 ชุดทดลอง คือ ชุดที่ 1 ใช้ถ่านไม้ และชุดที่ 2 ใช้ถ่านกัมมันต์ เป็นตัวดูดซับ ที่อัตราส่วนของน้ำมันต่อตัวดูดซับเป็น 10 : 3 โดยน้ำหนัก ณ อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าถ่านทั้ง 2 นี้ มีประสิทธิภาพในการดูดซับกำมะถันในน้ำมันได้ 100% แม้ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าค่าความหนาแน่นจะไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แต่จากการวิเคราะห์พบว่าน้ำมันจากขยะพลาสติกนั้นมีศักยภาพที่จะสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ได้แก่ เครื่องยนต์ทางการเกษตร เครื่องจักรกลที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซล หรือ เครื่องยนต์ดีเซลชนิดที่มีรอบต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับ รถกระบะ รถบรรทุก รถแทรกเตอร์ เรือประมง รถขุดและเก็บขนขยะ และเครื่องจักรกลที่ใช้ในเทศบาลได้ และยังมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซล จึงเหมาะที่จะใช้เป็นพลังงานทางเลือก และจะเป็นทางออกอีกทางหนึ่งของประเทศไทยในการก้าวสู่การใช้พลังงานจากขยะที่ยั่งยืนen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the quality of diesel from waste plastic and the methods for upgrading the quality of oil by comparing with the community biodiesel standard. According to the experiment, The oil sample from waste plastic was used. The research showed that perfect parameters that waste plastic can be the biodiesel were viscosity at 40 ºC, cetane number, sulphated ash, water and sediment, copper strip corrosion and acid number, contrast with flash point standard, density at 15 ºC and sulfur contents. Those parameters which their values were less than the biodiesel standard were upgraded by separating light oil using rotary evaporator at 170 ºC for 2 hours. This method worked with flash point only. To remove the sulfur, there were 2 experiments which were 1.) charcoal and 2.) activated carbon to adsorb fuel 24 hour at adsorption rate between fuel and adsorbent at 10:3. Both experiments showed that charcoal and activated carbon effectively adsorbed 100% of sulfer in fuel. However, There was no experiment to let the density meet the standard of biodiesel because of the differences of physical and chemical property of biodiesel and diesel from waste plastic. Thus, it should be upgraded in the production process by choosing suitable temperature then the diesel can effectively be separated from light oil. The research found that diesel from waste plastic can be use with diesel engines ,for instance agricultural engines, and diesel engines with low revolution. In addition, it can be use with diesel-engine cars, trucks, tractors, boats and garbage trucks. Furthermore, This kind of oil costs lower than diesel so it is one of an important renewable energy.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1561-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเชื้อเพลิงไบโอดีเซลen_US
dc.subjectน้ำมันดีเซลen_US
dc.subjectขยะพลาสติกen_US
dc.subjectBiodiesel fuelsen_US
dc.subjectDiesel fuelsen_US
dc.subjectPlastic scrapen_US
dc.titleการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันจากขยะพลาสติกให้ได้มาตรฐานไบโอดีเซลชุมชนen_US
dc.title.alternativeUpgrading of waste plastic oil to standard community biodieselen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorprasert.r@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1561-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rattayaporn_ch.pdf10.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.