Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36871
Title: เงื่อนไขทางสังคมที่มีผลต่อปรากฎการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาท ของนักเรียนอาชีวะ : ศึกษากรณีโรงเรียนอาชีวะแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Social conditions contributing to violence among technical college students : a case study of on technical college in Bangkok metropolitan area
Authors: ทิวา วงศ์ธนาภา
Advisors: สุริชัย หวันแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจในปรากฏการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะ โดยมุ่งความสนใจไปที่เงื่อนไขทางสังคมภายในบริบทและสภาพแวดล้อมของสถาบันว่ามีกระบวนการทางสังคมอะไรที่เป็นแบบแผนและกลไกที่นำไปสู่การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของปรากฏการณ์การก่อเหตุทะเลาะวิวาท และนักเรียนนักศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีโลกทัศน์และกระบวนการให้เหตุผลอย่างไรในพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ขอบเขตของการศึกษา เป็นการศึกษาจากโรงเรียนอาชีวะแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้วิธีการศึกษาแบบธรรมชาติ ซึ่งจัดอยู่ในระเบียบวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเพื่อหาความหมายของข้อมูล และสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการอุปนัย การนำเสนอผลการศึกษาเป็นในลักษณะการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการรับน้อง ค่านิยม ประเพณี พิธีกรรม ระบบสัญลักษณ์ รวมทั้งกระบวนการปฏิสังสรรค์ของบุคคลในสังคมทำให้เกิดแบบแผนของสังคมที่เป็นกลไกสำคัญต่อการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท คือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน การให้ความหมายและการตีความความรู้สึกแห่งศักดิ์ศรี โดยแบบแผนของสังคมเหล่านี้ ทำให้บุคคลเกิดโลกทัศน์และกระบวนการให้เหตุผลต่อพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ในลักษณะที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมนักเรียนอาชีวะ และมีควาสมเหตุสมผลตามกลุ่มอ้างอิง จึงมีพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาโดยต่อเนื่อง
Other Abstract: The purpose of this study is to understand an important social phenomenon of conflicts actually leading to fighting between technical colleges in Bangkok metropolitan area. Emphasis is given to specific socio-cultural contexts in which the phenomena occur, i.e. how in particular situations, students organized themselves as an informal power group. This concerns with symbols, rituals, and interactions among individuals in specific ways so as the group spirits perpetuated through time. A technical college is purposively selected. The author has participated in various activities in order to gain deep insights into the causes of conflicts and of their groupness which articulating through rituals and symbols and interactions among themselves. It is under a close observation that causes can be revealed.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36871
ISBN: 9746343556
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tiwa_wo_front.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open
Tiwa_wo_ch1.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open
Tiwa_wo_ch2.pdf10.91 MBAdobe PDFView/Open
Tiwa_wo_ch3.pdf9.03 MBAdobe PDFView/Open
Tiwa_wo_ch4.pdf10.68 MBAdobe PDFView/Open
Tiwa_wo_ch5.pdf19.55 MBAdobe PDFView/Open
Tiwa_wo_ch6.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Tiwa_wo_back.pdf13.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.