Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3744
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดวงกมล ชาติประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | กาญจนา กาญจนทวี, 2516- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-07-20T08:52:06Z | - |
dc.date.available | 2007-07-20T08:52:06Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743347577 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3744 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้สื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทย โดยวิเคราะห์จากแรงจูงใจ พฤติกรรม และความพึงพอใจของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทย 7 ฉบับ คือ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการ กรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ Bangkok Post และ The Nation ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ 5 ฉบับ และเว็บที่มีผู้เยี่ยมชมมากอีก 4 แห่งทั้งสิ้น คือ 37 วัน คำตอบของแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยรครั้งนี้มีทั้งสิ้น 1,297 ชุด จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไทยใช้หนังสือพิมพ์ออนไลน์ในการเปิดรับข่าวสารเป็นอันดับที่ 4 รองจากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ต่างประเทศจะใช้สื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์นี้เป็นอันดับสองรองจากโทรทัศน์ โดยแรงจูงใจที่ผลักดันให้เปิดรับคือ ความสะดวกเนื่องจากมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่เป็นประจำ และความสะดวกที่สามารถเปิดรับเฉพาะข่าวสารที่สนใจ แต่เนื่องจากกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทยมีกระจายอยู่ทั่วโลก ความแตกต่างทางประชากรศาสตร์จึงส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการใช้สื่อที่แตกต่างกัน กล่าวคือผู้อ่านที่อาศัยอยู่ต่างประเทศมีแรงจูงใจด้านความต้องการอ่านข่าวสารเกี่ยวกับเมืองไทยได้ทุกที่ (t = .00, p<0.01) และทุกเวลา (t = .00, p<0.01) ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปีมีแรงจูงใจด้านความต้องการให้เป็นคนทันสมัย (f = 8.14) โดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มตัวอย่างเปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทยคนละ 2-3 ฉบับ ต่อครั้ง โดยใช้เวลาอ่านประมาณ 10-20 นาที และนิยมอ่านในช่วงเวลา 8.00-16.00 น. ผู้อ่านที่ไม่ได้จ่ายค่าบริการอินเทอร์เน็ตเองมีความถี่ในการเปิดรับมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ซึ่งมากกว่าผู้จ่ายค่าบริการอินเทอร์เน็ตเองที่เปิดรับประมาณวันละ 1 ครั้ง (Chi-square 0.006, p<0.05) เนื้อหาที่ผู้อ่านเปิดรับมากที่สุดคือ ข่าวและรองลงมาคือบันเทิง และข่าวที่อ่านมากที่สุดคือข่าวหน้าหนึ่ง และรองลงมาคือข่าวคอมพิวเตอร์-เทคโนโลยี และข่าวการตลาด ตามลำดับคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์เป็นปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมการอ่านแตกต่างกัน เช่น ผู้อ่านในประเทศไทยเปิดรับข่าวสังคม, ข่าวเทคโนโลยี-คอมพิวเตอร์, ข่าวบันเทิง และข่าวภูมิภาค-ในประเทศมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ Chi-square 8.43, 26.06, 6.87 และ 16.07 (p<0.01) เป็นต้น โดยรวมแล้วผู้อ่านมีความพึงพอใจในความสดใหม่ของข่าวและการใช้งานง่าย แต่ผู้อ่านร้อยละ 78.2 ต้องการให้หนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทยมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีรูปแบบการนำเสนอเฉพาะตัว คือ นำเสนอข่าวใหม่เสมอในหนึ่งวัน และนำเสนอข่าวด่วนก่อนหนังสือพิมพ์จะตีพิมพ์ พร้อมทั้งมีการนำเสนอลิงค์สู่ข่าวหรือบทความที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลึกและกว้างกว่าการเปิดรับสารจากสื่ออื่นๆ สุดท้ายคือการศึกษาถึงปัญหาของผู้อ่าน จากการวิจัยพบว่าปัญหาหลักคือความล่าช้าในการใส่ข้อมูลใหม่ รองลงมาคือมีข้อมูลน้อยเกินไป การไม่สามารถอ่านฟอนท์ภาษาไทย เกิดความเมื่อยล้าและปวดตา และสุดท้าย คือ เวลาจำกัดในการอ่านข้อมูล | en |
dc.description.abstractalternative | This research aims to find out the motivations, behaviour and level of satisfaction of Thai on-line newspaper readers. The study covers readers of seven on-line newspapers; Thairath, DailyNews, Manager, Bangkok BizNews, Than Business News, Bangkok Post and the Nation. An electronic survey was conducted through five on-line newspapers and four highly visited web sites for a period of 37 days. There were 1,297 responses, which were all used for this study. Results showed that readers residing in Thailand used the on-line media as the fourth most preferred source of news after traditional media which are television, radio and newspaper. On the other hand, readers living abroad use the on-line media as their second most preferred source of news after television. Overall, the respondents said that initial motivation for reading on-line newspapers was based on their need for convenience. They cited that fact that they were always connected to the Internet and that it was easier to find any specific news they wereinterested in at on-line newspapers. Naturally readers have different motivation, behaviours and levels of satisfaction towards the on-line media. Respondents living outside the Kingdom, for example, give high preferrence to on-line newspapers because they can read news about Thailand anytime (t = .00, p<0.01) and in any location (t = .00, p<0.01). Readers aged between 18 to 25 years old, meanwhile, preferred reading news on-line because they want to be fashionable (f = 8.14, p<0.01). By average, readers access 2 to 3 on-line newspapers whenever they log on to the Internet and spend 10 to 20 minutes reading the news. They also access the newspaper web sites between 8.00 am. to 4.00 pm. It should be noted that readers who do not pay for their own Internet access visit on-line newspapers more often than those who have paid for it (chi-square value at 16.21, p<0.01). In terms of content, the respondents indicated that they mostly read news and entertainment articles. The type of news they explored most were front-page news (or headline news) followed by information technology and business news. Interestingly, however, readers living in Thailand prefer reading social news, information technology, and entertainment and local news. Readers, on the average, are satisfied with regards to the freshness of news and ease of navigation of the Thai on-line newspapers surveyed in this study. However, 78.2% of the respondents recommended changes for the on-line newspapers. They wanted on-line newspapers to have a unique way of presentation as opposed to the present day methods of imitating their printed editions. They also required on-line newspapers to provide breaking news throughout the day as well as post the headline news before the availability of the printed newspaper. The also preferred having links to other news or articles related to stories that they read. Finally, this research also deal with the obstacles. According to readers, the topping list was that Thai on-line newspapers were slow in updating their news. Following this, they complained that there was not enough information on the web sites. Their browsers could not read Thai fonts and were, therefore, unable to read Thai-language news. Some respondents also said they did not like to read on-line editions because reading from computer screens could result to sore eyes. The last obstacle was that they simply had too limited time to read news on the Internet | en |
dc.format.extent | 13685884 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.299 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเปิดรับข่าวสาร | en |
dc.subject | ความคาดหวัง (จิตวิทยา) | en |
dc.subject | การจูงใจ (จิตวิทยา) | en |
dc.subject | หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ | en |
dc.title | แรงจูงใจ พฤติกรรม และความพึงพอใจของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทย | en |
dc.title.alternative | Motivations, behaviour and satisfaction of readers of Thai on-line newspapers | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การหนังสือพิมพ์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Duangkamol.C@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1999.299 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
karnjana.pdf | 10.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.