Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37557
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติวรรณ อมาตยกุล-
dc.contributor.advisorพสชนัน นิรมิตรไชยนนท์-
dc.contributor.authorอานันท์ อุเทนสุต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-12-19T07:07:57Z-
dc.date.available2013-12-19T07:07:57Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37557-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบตัวชี้วัดองค์กรสุขภาวะ พัฒนารูปแบบกระบวนการการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับองค์กรธุรกิจเอกชนเพื่อการเป็นองค์กรสุขภาวะในระยะ 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2556-2560) กลุ่มประชากรได้แก่องค์กรธุรกิจเอกชนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในประเทศไทยที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรกับแผนงานสุขภาวะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ ศึกษาจากกรณีศึกษาที่ดีโดยการลงพื้นที่ภาคสนาม 4 องค์กรเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกต แบบทดสอบ และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก การสังเกต การทดสอบตัวชี้วัดและการตรวจสอบคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม การทดสอบตัวชี้วัดองค์กรสุขภาวะใช้การประมาณค่าการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กร 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การคำนวณค่าอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นของตัวชี้วัดองค์กรสุขภาวะ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหารายกรณีศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกรณีศึกษา และการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการดำเนินงานด้านสุขภาวะของกรณีศึกษาเพื่อสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดองค์กรสุขภาวะ ประกอบด้วยการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กร 4 มิติ คือ การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางจิตสังคม การสนับสนุนทรัพยากรสุขภาพสำหรับบุคคลและการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมen_US
dc.description.abstractalternativeผลการทดสอบตัวชี้วัดองค์กรสุขภาวะ พบว่าตัวชี้วัดองค์กรสุขภาวะมีพลังในการวัดระดับการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กร รูปแบบกระบวนการการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับองค์กรธุรกิจเอกชนเพื่อการเป็นองค์กรสุขภาวะมี 8 ขั้นตอนประกอบด้วย การสร้างความท้าทายจากปัญหา การเผชิญหน้ากับปัญหาความท้าทาย การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การแก้ไขจุดอ่อนพัฒนาจุดแข็ง การสร้างปัจจัยแห่งความสำเร็จ การกระทำสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม และการสร้างแนวปฏิบัติที่ดี ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับองค์กรธุรกิจเอกชนเพื่อการเป็นองค์กรสุขภาวะ มีประเด็นยุทธศาสตร์ คือ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการเป็นองค์กรสุขภาวะ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาขีดความสามารถการเรียนรู้ของบุคลากร กลยุทธ์ที่2 ส่งเสริมกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะ กลยุทธ์ที่3 การสนับสนุนทรัพยากรด้านสุขภาพ และกลยุทธ์ที่4 การเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตัวชี้วัดองค์กรสุขภาวะ รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับองค์กรธุรกิจเอกชนเพื่อการเป็นองค์กรสุขภาวะเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยให้ผู้บริหารสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายการดำเนินธุรกิจได้อย่างดี เหมาะสมกับการนำไปใช้พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรเพื่อเผชิญกับปัญหาวิกฤติ การแก้ไขปัญหา การมองอนาคตและโอกาสทางธุรกิจ การพัฒนาจุดแข็ง การวางแผนงาน และการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้บรรลุถึงความสำเร็จ องค์กรธุรกิจเอกชนจึงควรนำเครื่องมือดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมเพื่อการก้าวเป็นองค์กรสุขภาวะอย่างสมบูรณ์ยั่งยืนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1125-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectการศึกษาต่อเนื่องen_US
dc.subjectสุขภาวะen_US
dc.subjectองค์กรธุรกิจen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงานen_US
dc.subjectContinuing educationen_US
dc.subjectWell-beingen_US
dc.subjectBusiness enterprisesen_US
dc.subjectQuality of work lifeen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบกระบวนการการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กรธุรกิจเอกชนเพื่อการเป็นองค์กรสุขภาวะen_US
dc.title.alternativeThe development of a lifelong learning process model in private business organizations to be healthy organizationsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKiatiwan.A@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1125-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ananda_ut.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.