Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37574
Title: | การพัฒนาหลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้านสู่การสร้างจิตวิทยาศาสตร์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีชุมชนบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | A development of ethnobotany curriculum for promoting scientific mind through local involvement : Ban Kiriwong community, Lansaka district, Nakhon Sri Thammarat province case |
Authors: | กิตติมา ไกรพีรพรรณ |
Advisors: | สำลี ทองธิว สจ๊วร์ต, จิม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sumlee.T@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน ทฤษฎีสรรคนิยม การวางแผนหลักสูตร พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน บ้านคีรีวง (นครศรีธรรมราช) Science -- Study and teaching Constructivism (Education) Curriculum planning Ethnobotany Ban Kiriwong (Nakhon Sri Thammarat) |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคสนามที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับผู้เรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการผสมผสานแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และปรัชญาการศึกษาสำหรับท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตวิทยาศาสตร์สำหรับผู้เรียน และประเมินคุณภาพของหลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้านที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ชาวบ้านในชุมชนบ้านคีรีวงจำนวน 24 คน คณะครูในโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 (ชุมชนบ้านคีรีวง) จำนวน 5 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 คน วิธีการหลักที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมได้จากหลายแหล่งโดยใช้วิธีการตรวจสอบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้กรอบทฤษฎีทางสังคมวิทยาและทางการศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้านที่ชุมชนบ้านคีรีวง สำหรับช่วงชั้นที่ 3 ผสมผสานแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และปรัชญาการศึกษาสำหรับท้องถิ่นเพื่อสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียน มีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบคือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย โครงสร้างเนื้อหา การจัดกระบวนการเรียนรู้ โครงสร้างเวลาเรียน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ เอกลักษณ์ของหลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้านอยู่ที่สาระซึ่งพัฒนาขึ้นจากการบูรณาการสาระแกนกลาง สาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 กับความรู้เรื่องพรรณไม้ในท้องถิ่นที่ปลูกฝังการให้ความสำคัญกับพรรณไม้ในชุมชน เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาท้องถิ่นสำหรับการศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เนื้อหาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสาระพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน 6 สาระ คือ 1) โครงสร้างของพืชและลักษณะทางพันธุกรรมของพืชในสวน สมรม 2) การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืชในสวนสมรม 3) เทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในสวนสมรม 4) ระบบนิเวศในสวนสมรม 5) ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำและพืชในสวนสมรม 6) ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืชในสวนสมรม สาระพฤกษศาสตร์พื้นบ้านทั้ง 6 สาระจัดเป็น 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) พันธุกรรมพืชในสวนสมรม 2) ระบบนิเวศและความหลากหลายของพืชในสวนสมรม 3) ดิน น้ำ และพืชในสวนสมรม 4) การใช้ประโยชน์จากพืชในสวนสมรม 2. จากการทดลองใช้หลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน พบว่า หลังการทดลองใช้หลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ย ของคะแนนจิตวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรพฤกษศาสตร์พื้นบ้านได้แก่ 1) ความคุ้นเคยกับชาวบ้านในชุมชนบ้านคีรีวงและครูในโรงเรียน 2) ชาวบ้านสนใจในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีความต้องการถ่ายทอดความรู้ท้องถิ่น รวมทั้งจิตสำนึกในการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ในชุมชนอย่างยั่งยืนให้กับลูกหลานในชุมชนบ้านคีรีวง 3) การที่ครูเห็นความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่สร้างจิตวิทยาศาสตร์และมีความเชื่อมโยงกับท้องถิ่น 4) การที่ครูสามารถนำข้อมูล/ความรู้/หลักสูตร/แผนการสอนไปปรับใช้ และการทำผลงานวิชาการ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรได้แก่ 1) ทัศนคติในแง่ลบที่มีต่อนักวิจัยภายนอก 2) ภาระกิจที่มีมากของชาวบ้านคีรีวงและครู 3) ชาวบ้านและครูขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชุมชนรวมทั้งการจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียน |
Other Abstract: | To develop the ethnobotany curriculum through local involvement for key stage 3 students and to evaluate the ethnobotany curriculum. This curriculum based on the Rural Philosophy for Education and Constructivist theory for promoting scientific mind. Field research study, which primarily based on participant observation and indepth interview were conducted throughout the study. The target groups were comprised of 24 Kiriwong villagers 5 teachers and 16 students, selected by purposive sampling technique. The researcher verified all data by using triangulation technique and analysed these verified data under the theoretical framework in social sciences and educational theories. Research finding were as follows: 1. The ethnobotany curriculum for key stage 3 students based on the Rural Philosophy for Education and Constructivist theory for promoting scientific mind was consisted of 8 components: vision, mission, goal, the content, learning process, time table, learning resources, and the methods of assessment and evaluation. The identity of the ethnobotany curriculum was its content that integrated the science standards in Thai National basic curriculum of the year 2544 and the local wisdom. The ethnobotany content consists of 6 contents; 1) plant biology and genetic of plants in the mix crop orchard 2) plant reproduction 3) biotechnology for plant in mix crop orchard 4) ecosystem in mix crop orchard 5) soil water plant relationships 6) mix crop orchard diversity and the use of plant by kiriwong community. These 6 contents were grouped into 4 units of learning; 1) genetic of plants in the mix crop orchard 2) ecosystem and plant diversity in mix crop orchard 3) soil water plant in mix corp orchard 4) the use of plant in mix crop orchard. 2. The application of the ethnobotany curriculum based on the Rural Philosophy for Education and Constructivist theory for promoting scientific mind revealed that the posttest score on scientific mind of students being provided by ethnobony curriculum was higher than its pretest scores at the .05 level of significance. 3. The supporting factors on the ethnobotany curriculum development through local involvement were 1) familiarity with villagers and school teachers 2) the villagers are interested in science and technology and willing to transfer their knowledge and conservation concern on the mix crop orchards 3) the teachers concern on the importance of science curriculum which involves with the community 4) the teachers can improve their knowledge, curriculum, and lesson plan. In the part of the obstacles, there were 1) negative attitude on the outsider 2) a lot of activities for the villagers and the teachers 3) the villagers and teachers do not understand how to develop science curriculum which can link to the community and create the lesson plan to promote the student’s scientific mind. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37574 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2176 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.2176 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kittima_kr.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.