Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3758
Title: กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการบวชป่าชุมชน
Other Titles: Communication strategy in the community forest ordination project
Authors: ใจทิพย์ สอนดี
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
โครงการบวชป่าชุมชน
การอนุรักษ์ป่าไม้
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เนื้อหาและวิธีการนำเสนอสื่อพิธีกรรมในโครงการบวชป่าชุมชน, การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการบวชป่าชุมชน, ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการบวชป่าชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึก ระดับแกนนำของประชาชนที่เข้าร่วมเป็นผู้ดำเนินการหลักของโครงการบวชป่าชุมชน จำนวน 56 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. เนื้อหาและวิธีการนำเสนอสื่อพิธีกรรมในโครงการบวชป่าชุมชน ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ คน ชุมชน อยู่ร่วมกับป่าได้ ซึ่งนำแนวคิดทางศาสนาและความเชื่อ วิธีการจัดการป่าด้วยองค์กรชุมชน ผ่านการนำเสนอเนื้อหาด้วยการจัดการตามขั้นตอนของสื่อพิธีกรรม การจัดการตามหลักกฎเกณฑ์ของชุมชน และการเฉลิมพระเกียรติ โดยเน้นการนำเสนอด้วยสื่อสัญลักษณ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่เข้าร่วมในโครงการ ปรากฏว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในฐานะผู้ปฏิบัติการในขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ การเตรียมการ การดำเนินการ โดยกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนมีบทบาทเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลทางวิชาการ การจัดการ และหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการจากภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรธุรกิจ พระสงฆ์ มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนในฐานะภาคีร่วมกันในการทำงาน 3. ปัจจัยการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความเชื่อและความศรัทธา ความรู้สึกที่สอดคล้องตรงใจ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเชิญชวน แรงกดดัน คุณลักษณะเฉพาะของโครงการ
Other Abstract: The objective of this research is to study the contents and methodology of communication strategy in the community forest ordination, public participation and the influencing factors for the community forest ordination by means of qualitative research. Data collection are from observation and in-dept interview from 56 samples of key person in the project. The results of the research are as followed: 1. Contents and methodology of communication strategy in the community forest ordination consist of 2 major principles which are people and communities can live together with the forest. It can be categorized in religious ideas and believe are used in order to project forest by processing of the forest ordination, community forest management is proposed through evidences of community regulation. During the celebration for the King by put the Royal symbol on the trees. 2. Public participation in the project are operated by the people exist and in every step such as preparation and implementation. Non-GovernmentalOrganization (NGO) plays significant role to support various aspects such as being an advisor and resource allocation. Other supporting agencies are committee from government sectors, academic, business sector and the monks. 3. Participation factors consist of internal factors are belief and coincident feelings and external factors are the factors from motivation, pressure, specific, characters of the project. These lead the people to participate in the project
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3758
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.303
ISBN: 9741309643
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.303
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaithip.pdf8.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.