Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3759
Title: การเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมกับความรู้ ทัศนคติและการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสังคมของพุทธศาสนิกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Buddhism information exposure, knowwledge, attitude and the quality of life and social development among Buddhists in Bangkok metropolis
Authors: พิไล จิรไกรศิริ, 2497-
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tanawadee.B@chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับข่าวสาร
ธรรมะ
คุณภาพชีวิต
การพัฒนาสังคม
พุทธศาสนิกชน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมของพุทธศาสนิกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร กับการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมกับความรู้ ทัศนคติ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจ ที่ได้จากการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรม กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พุทธศาสนิกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 408 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่า T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างที่มี อายุแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมจาก สื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจและจากรายการธรรมะของกรมการศาสนา/วัด แตกต่างกัน 2. กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพการสมรส แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมจากสื่อมวลชน สื่อบุคคล และจากรายการธรรมะของกรมการศาสนา/วัด แตกต่างกัน ยกเว้น การเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรม จากสื่อเฉพาะกิจไม่แตกต่างกัน 3. กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ การศึกษา อาชีพและรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรม จากสื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และจากรายการธรรมะของกรมการศาสนา/วัด ไม่แตกต่างกัน 4. การเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมจากสื่อเฉพาะกิจ สื่อบุคคลและรายการธรรมะของกรมการศาสนา/วัด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความรู้เกี่ยวกับ พุทธธรรมเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ยกเว้นการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมจากสื่อมวลชน ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับพุทธธรรมเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม 5. การเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมจากสื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และรายการธรรมะของกรมการศาสนา/วัด ไม่มีความสัมพันธ์กับ ทัศนคติต่อการนำพุทธธรรมไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม 6. การเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมจากสื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และรายการธรรมะของกรมการศาสนา/วัด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม 7. ความพึงพอใจที่ได้จากการเปิดรับข่าวสารด้านพุทธธรรมจากสื่อต่างๆ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
Other Abstract: To study level of exposure to Buddhism information of Buddhists in Bangkok metropolis, the relationship among Buddhism information exposure, knowledge, attitude and its application to the improvement of the quality of life and social development and the relationship between satisfaction of Buddhism information exposure and its application to the improvement of the quality of life and social development. A sample size of 408 Bangkok Buddhists were opinion surveyed by using the interview quesitonnaire. The statistical techniques used to analyse the data were frequency, percentage, mean, t-test, one-way ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient, SPSS program was used for data processing. The results of the study are as follows: 1. Buddhists with different ages are significantly different in Buddhism information exposure to mass media, interpersonal media, specialized media and Buddhism programs of the Religious Affair Department and Temple. 2. Buddhists with different marital status are significantly different in Buddhism information exposure to mass media, interpersonal media and Buddhism programs of the Religious Affair Department and Temple, except specialized media 3. Buddhists with different sexes, education, occupation and income were not significantly different in Buddhism information exposure to mass media, interpersonal media, specialized media and Buddhism programs of the Religious Affair Department and Temple. 4. Exposure to interpersonal media, specialized media and Buddhism programs of the Religious Affair Department and Temple except mass media is positively correlated with knowledge concerning the application of Buddhist doctrine for the quality of life and social development. 5. Exposure to mass media, interpersonal media, specialized media and Buddhism program of the Religious Affair Department and Temple is not significantly correlated with attitude concerning the application of Buddhist doctrine for the quality of life and social development. 6. Exposure to mass media, interpersonal media, specialized media and Buddhism programs of the Religious Affair Department and Temple is significantly and positively correlated with the practice for the quality of life and social development. 7. Satisfaction with exposure to Buddhism information concerning the quality of life and social development is significantly correlated with the practice for the quality of life and social development
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3759
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.301
ISBN: 9741312903
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.301
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pilai.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.