Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรมะ สตะเวทิน-
dc.contributor.authorนนทญา หงษ์รัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-01-05T04:54:50Z-
dc.date.available2014-01-05T04:54:50Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37644-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ตลอดจนการมี ส่วนร่วมของเกษตรกรที่เข้าศึกษาในโรงเรียนชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิข้าวขวัญและเกษตรกร รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้ 1. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. กลยุทธ์เกี่ยวกับผู้ส่งสาร ประกอบด้วยกลยุทธ์การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร กลยุทธ์การสื่อสาร ผ่านกระบวนการกลุ่ม กลยุทธ์การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ กลยุทธ์การปฏิบัติซ้ำ กลยุทธ์การมีส่วนร่วมและกลยุทธ์การเปลี่ยนบทบาท 2. กลยุทธ์การสร้างสารแบ่งออกเป็น 2 วิธีการ คือ 2.1 การกำหนดเนื้อหาสาร ประกอบด้วยกลยุทธ์การเรียนรู้จากปัญหาของชุมชนและกลยุทธ์การปรับประสานทางวัฒนธรรม 2.2 การนำเสนอสาร ประกอบด้วยกลยุทธ์การจัดการความรู้ กลยุทธ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ กลยุทธ์การเรียนรู้จากการปฏิบัติและกลยุทธ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3. กลยุทธ์การใช้สื่อ ประกอบด้วยกลยุทธ์ การใช้สื่อบุคคล กลยุทธ์การใช้สื่อมวลชน กลยุทธ์การใช้สื่อเฉพาะกิจ กลยุทธ์การใช้สื่อพิธีกรรมและ กลยุทธ์การใช้สื่อแบบบูรณาการ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1. ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร ประกอบด้วย กระบวนการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิข้าวขวัญและการให้สิ่งล่อใจ 2. ปัจจัยด้านผู้รับสาร ประกอบด้วย ทัศนคติของเกษตรกร ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนในโรงเรียนชาวนาและการส่งเสริมจากครอบครัว3. ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากภายนอกในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วยองค์กรสนับสนุนงบประมาณ เทคนิควิทยาการ ข้อมูล ข่าวสาร วัดและโรงเรียนและองค์การบริหารส่วนตำบลวัดดาว 3. การมีส่วนร่วมของเกษตรกร แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1. การมีส่วนร่วมในกระบวน การเรียนผ่านการเรียน 2. การมีส่วนร่วมในระดับการดำเนินงานในขั้นของการดำเนินงานen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the communication strategy for participatory development of farmers in the Chaow-na School, Suphanburi Province, factors affecting the farmers’ participation and the means of their participation. It was the qualitative research. The research was carried out through document study, indepth interview with the samples from the staff of the Kaow Kwan Foundation and farmers and non-participant observation. The findings were as follows: 1. The Communication strategy for participatory development was classited into 3 strategies: 1. Source strategy was composed of interpersonal communication between the staff and the farmers; communication through group process; learning from the model personality; repetition; participation; and role changing. 2. Message strategy was divided into 2 dimensions: 2.1 Content design was composed of learning from community problem; and cultural adjustment. 2.2 Message presentation was composed of knowledge management; integrated learning; learning from practicing; and continuing learning. 3. Media strategy was composed of the uses of interpersonal media, mass media, specialized media, rituals and integrated media. 2. Factors affecting the farmers’ participation were divided into 3 dimensions: 1. Source factor was composed of learning process; the staff of the Kaow Kwan Foundation; and the incentives. 2. Reciever factor was composed of farmers’attitudes; expected advantages; and family support. 3. External factor was compossed of financial supporting organizations; information and technology; temples; schools; and Wat Dao local administrative organization. 3. Farmers’ participationtion was divided into 2 means: 1. Participation in learning process through classroom and activities. 2. Participation in the operation of the Chaow-na School occurred in the action stage.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.45-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาการเกษตร -- การมีส่วนร่วมของประชาชนen_US
dc.subjectเกษตรกร -- การสื่อสารen_US
dc.subjectการสื่อสาร -- แง่สังคมen_US
dc.subjectโรงเรียนชาวนา (สุพรรณบุรี)en_US
dc.subjectFarmers -- Communicationen_US
dc.subjectCommunication -- Social aspectsen_US
dc.subjectChaow-na School (Suphanburi Province)en_US
dc.titleกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรีen_US
dc.title.alternativeCommunication strategy for participatory development of farmers in the Chaow-Na School, Suphan Buri Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorParama.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.45-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nontaya_ho.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.