Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3775
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขันทอง สุนทราภา-
dc.contributor.advisorประวิทย์ โคมหอม-
dc.contributor.authorบุญชู มหาผล, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2007-07-26T06:52:53Z-
dc.date.available2007-07-26T06:52:53Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741762283-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3775-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีค่ามวลโมเลกุล 1.4 x 10[superscript 6] ดอลตัน ค่าร้อยละการกำจัดหมู่แอซีทิล 87.79 +- 1.81 ด้วยวิธี Colloidal titration และความหนืด 904.8 เซนติพอยส์ เพื่อเตรียมเป็นเมมเบรนจากสารละลายไคโตซานเข้มข้นร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนัก ในกรดแอซีติกเข้มข้นร้อยละ 1 การทำให้เมมเบรมแห้งในตู้อบลมร้อนและตู้อบสุญญากาศที่ระยะเวลาต่างๆ ทำให้ได้ลักษณะสัณฐานแตกต่างกัน ผลการทดสอบการแยกเกลือของเมมเบรนในโมดูลแบบแผ่นและกรอบจากน้ำเกลือสังเคราะห์เข้มข้นร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก พบว่า เมมเบรนที่เตรียมโดยใช้ระยะเวลาระเหยตัวทำละลาย 4 ชั่วโมง ในตู้อบสุญญากาศให้ค่าร้อยละการกักกันเกลือสูงสุดเท่ากับ 80.83+-4 ให้ฟลักซ์ 0.08+-0.2 ลิตรต่อตารางเมตรต่อนาที สมรรถนะของเมมเบรนนี้เหมาะสมในการนำไปใช้บำบัดน้ำล้างเห็ดดองเค็มของโรงงานกรณีศึกษา ผลการทดสอบเมมเบรนไคโตซานที่เตรียมขึ้นกับน้ำล้างเห็ดดองเค็มที่มีความเค็มอยู่ระหว่างร้อยละ 2-2.5 โดยน้ำหนัก พบว่าสามารถแยกเกลือและสารอินทรีย์ได้ โดยให้ค่าร้อยละการกักกันเกลือสูงสุดเท่ากับ 82.93+-2.57 ค่าร้อยละการกำจัดซีโอดีสูงสุด เท่ากับ 95.33+-0.24 และค่าฟลักซ์สูงสุดเท่ากับ 0.08+-0.02 ลิตรต่อตารางเมตรต่อนาทีen
dc.description.abstractalternativeChitosan flakes with molecular mass of 1.4 x 10[superscript 6] Dalton, deacetylation degree by colloidal titration of 87.79+-1.81, and viscosity of 904.8 centipoises were synthesized from shrimp shells. The membranes were then prepared from chitosan solution of 1.5% in 1% acetic acid (weight by weight). Drying of membranes in oven and vacuum oven for different duration provided different membrane morphology. Chitosan membranes were tested for desalination of 4% by weight of synthetic solution in plate and frame module. It was found that the highest salt rejection of 80.83+-4% and flux of 0.08+-0.2 l/m[square]/min could be obtained from the membrane dried in vacuum for 4 hours. This performance was suitable for treatment of salted mushroom washing water of case industry. The system was then tested with salted mushroom washing water having salinity of 2-2.5%. It was found that the flux, salt rejection and COD rejection were 0.08+-0.02 l/m[square]/min, 82.93+-2.57% and 95.33+-0.24%, respectivelyen
dc.format.extent3506155 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย--การบำบัดen
dc.subjectเมมเบรนen
dc.titleการบำบัดน้ำล้างเห็ดดองเค็มโดยใช้เมมเบรนไคโตซานen
dc.title.alternativeTreatment of salted mushroom washing water by chitosan membraneen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkhantong@sc.chula.ac.th-
dc.email.advisorprawit@misshinthai.com-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonchoo.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.