Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37899
Title: การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนสังคมสีเขียวของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Other Titles: The communication to mobilize green society of office of The National Economic and Social Development Board
Authors: ศิริลักษณ์ สุวรรณเกตุ
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: kkaewthep@hotmail.com
Subjects: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม -- การจัดการ
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม -- ระบบสื่อสาร
การสื่อสาร -- แง่สังคม
การสื่อสาร -- แง่สิ่งแวดล้อม
National Economic and Social Development Board
Environmental protection -- Management
Environmental protection -- Communication systems
Communication -- Social aspects
Communication -- Environmental aspects
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการขับเคลื่อนและการเผยแพร่ข่าวสาร ลักษณะเครือข่ายการทำงานและกระบวนการสื่อสารผ่านเครือข่าย และปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาข้อมูลเอกสารต่างๆ ย้อนหลัง 3 ปี (2553-2555) ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนจากสำนักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา สศช. และภาคีการพัฒนาตาม 7 มิติของสังคมสีเขียว ได้แก่ ภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การขนส่งและพลังงาน นวัตกรรมสีเขียว นวัตกรรมทางสังคม และการรับมือภัยพิบัติภายใต้การเติบโตสีเขียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินการขับเคลื่อน มี 4 ขั้นตอน คือ 1.สศช.สรุปข้อคิดเห็นและจัดทำร่างข้อเสนอจากภาคีการพัฒนาตาม 7 มิติ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ 2.สศช.แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานบริหารการพัฒนาสังคมสีเขียวจากความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี 3.หน่วยงานเจ้าภาพประสานการดำเนินงานกับหน่วยงาน/ภาคีการพัฒนา ได้แก่ คณะกรรมการระดับชาติ กระทรวง และจังหวัด 4.การติดตามและประเมินผล พบว่าการดำเนินการขับเคลื่อนมีการสื่อสารจากล่างขึ้นบน การเผยแพร่ มี 4 ลักษณะ คือ 1.การที่สศช.เผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย 2.เผยแพร่ผ่านสื่อบุคคลซึ่งเป็นผู้บริหารไปร่วมระดมความเห็นในสื่อกิจกรรมที่องค์กรอื่นเป็นผู้จัด 3.เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน 4.เผยแพร่ในรูปแบบของการศึกษาวิจัยในภาคปฏิบัติการทั้งที่ดำเนินการเองและร่วมกับหน่วยงานอื่น 2) เครือข่ายการทำงาน มี 5 ประเภท ซึ่งช่วยให้สศช.สามารถเลือกการทำงานได้ ได้แก่ 1.เครือข่ายระดับนโยบาย(คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11) 2.เครือข่ายภาคีการพัฒนาตาม 7 มิติของสังคมสีเขียว 3.ภาคีเครือข่ายตามแต่ละภาค (ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ) 4.เครือข่ายระดับภูมิภาค/พื้นที่(จังหวัดและส่วนท้องถิ่น) 5.คณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อการพัฒนาสังคมสีเขียว 3) การสื่อสารของเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนสังคมสีเขียวตาม 7 มิติ เป็นเครือข่ายแบบหลวมๆ ในลักษณะการขอความร่วมมือจากภาคีการพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนที่ได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนในแต่ละมิติ(ประเด็น)ไว้อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่มิใช่ภาครัฐซึ่งมีจุดแข็งอยู่ที่มีความสนใจในประเด็นสังคมสีเขียวอยู่แล้ว ส่วนภาครัฐมีจุดแข็งอยู่ที่ความคงทนถาวร ดังนั้น กระบวนการสร้างเครือข่ายจึงเป็นกลยุทธ์การประสานจุดแข็งของทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกัน ดังนั้น รูปแบบการสื่อสารภายในเครือข่ายจึงเป็นแบบผสมผสานระหว่างการสื่อสารแนวดิ่งของภาครัฐกับแนวราบหรือการมีส่วนร่วมของภาคอื่นๆที่มิใช่รัฐ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการสื่อสารในการขับเคลื่อนสังคมสีเขียว คือ ปัจจัยส่งเสริมต่อการขับเคลื่อน ได้แก่ (1)ความตระหนัก (2)ปัจจัยทางด้านองค์กร การมีเจ้าภาพและเป็นผู้นำเครือข่าย (3)การสื่อสาร ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อน ได้แก่ (1)ความเข้าใจและความตระหนัก (2)ปัจจัยทางด้านองค์กร และการขับเคลื่อนของเครือข่าย (3)เศรษฐกิจ และกฎหมาย
Other Abstract: This objective research to study the operation and diffusion, the types of network and communication process, and the factors affecting which influence communication process by using qualitative research methods and conducting data by documentation back in 3 years(2010-2012) and in-depth interviews in a target group of the representative from Development Evaluation and Communication Office(DECO); National Economic and Social Development Board(NESDB) and the members based on 7 issues of Green Society which are Agriculture, Industry, Tourism, Transportation and Energy, Green Innovation, Social Innovation, and Coping with Disasters beneath Green growth. The result of this research found that 1)The operation is 1.NESDB summarizes the opinion and suggestion draft from all member and submits to Council of Ministers. 2.NESDB appoints Green Society Development Committee by agreement of Council of Ministers. 3.Host unit cooperates with other sectors (National Committee, Ministry, and Province). 4.Monitoring and Evaluation. The operation is a kind of bottom-up communication. The diffusion by: 1.Various communication channel. 2.Personal channel or chief executives brainstorming in event channels of other organizations. 3.Mass communication. 4.Operations research by NESDB and co-studying with other sectors. 2)5 types of network which help NESDB choosing operation channels, consist of 1.Subcommittee to mobilize Plan 11th(2012-2016) 2.Network based on 7 issues of Green Society 3.Network in each sector(:government sector, private sector, civil society sector, and academic sector). 4.Provincial Network consists of province and local area. 5.Green Society Development Committee. 3) Communication process of network based on 7 issues of Green Society This loose network is a kind that NESDB needs collaboration from all member; government and non government sectors which most of them are non government sectors have operated mobilizing in each issue before and have prominent point at Interest in Green Society. As government sector has prominent point at Durability. Therefore, network construction process is complementary strategy. Network also has mixed communication between vertical(government sector) and horizontal (not government sectors). 4)The contextual factors which influence communication process of network including Support factors: (1)Awareness (2)Organization, Host, Leadership of network (3)Communication. Obstacle factors:(1)Understanding and Awareness (2)Organization, Network mobilization (3)Economy and Law.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37899
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1204
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1204
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriluck_su.pdf13.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.