Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3814
Title: | การใช้เครื่องปรับอากาศในห้องนอนกับการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก |
Other Titles: | Air-conditioning bedroom and allergic sensitization |
Authors: | ปณิธิ บุญดำเนิน, 2520- |
Advisors: | จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | ภูมิแพ้ในเด็ก เครื่องปรับอากาศ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เครื่องปรับอากาศในห้องนอนกับการถูกกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง สถานที่ศึกษา คลินิกโรคภูมิแพ้เด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร ผู้ป่วยเด็กโรคภูมิแพ้อายุ 3-18 ปีที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคภูมิแพ้เด็กในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกเป็นโรคหอบหืด (asthma) และ/หรือโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) และ/หรือเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic conjunctivitis) ที่มีการทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศอย่างน้อย 1 ชนิดขึ้นไป ในระหว่างเดือน มกราคม 2546 ถึง ธันวาคม 2548 วิธีการศึกษา ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา จะได้รับการบันทึกข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่บ้านของผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ป่วย บิดามารดา และข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย ผลการศึกษา มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 109 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 67 คน (61.5%) และหญิง 42 คน (38.5%) พบว่ามีการใช้เครื่องปรับอากาศในห้องนอน 57 คน (52.3%) และไม่มีการใช้เครื่องปรับอากาศในห้องนอน 52 คน (47.7%) โดยพบว่ามีการทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อแมลงสาบ ในกลุ่มที่ไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ 30.3% มากกว่ากลุ่มที่ใช้เครื่องปรับอากาศ 21.1% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.016, oods ratio 2.56, 95% CI 1.18-5.56) และมีการทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อ Alternaria ในกลุ่มที่ไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ 1.8% น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้เครื่องปรับอากาศ 12.8% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002, oods ratio 0.12, 95% CI 0.02-0.57) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ของการทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อรังแคแมว ในกลุ่มที่มีการเลี้ยงแมวภายในบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.023) และสำหรับการให้ผลบวกในการทดสอบผิวหนังต่อสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป (Polysensitization) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่ม (p > 0.05) รวมทั้งในกลุ่มที่มีการสูบบุหรี่ภายในบ้าน (p > 0.05) บทสรุป การใช้เครื่องปรับอากาศในห้องนอนมีความสัมพันธ์กับการถูกกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อแมลงสาบ โดยพบว่าจะมีการถูกกระตุ้นน้อยกว่าการไม่ใช้เครื่องปรับอากาศในห้องนอน แต่กลับพบว่ามีการถูกกระตุ้นจากเชื้อรา (Alternaria) ในกลุ่มที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศในห้องนอน มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีการใช้เครื่องปรับอากาศในห้องนอน การสัมผัสสัตว์เลี้ยงมีขนในบ้าน โดยเฉพาะแมว มีความสัมพันธ์กับการทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อรังแคแมว จึงไม่ควรเลี้ยงสัตว์ภายในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมว |
Other Abstract: | Objective : To study the relationship between air-conditioning bedroom and allergic sensitization. Design : Retrospective descriptive study. Setting : Out-patients Pediatric allergy clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok. Population : 3-18 years old allergic patients at out-patients clinic who were diagnosed asthma and/or allergic rhinitis and/or allergic conjunctivitis that had positive prick skin test for aeroallergen at least 1 antigen from January 2003 to December 2005. Methods : Patients who had fulfilled inclusion criteria were studied the questionnaire and collected some data from the medical record file. Results : A total of 109 patients were included, 67 (61.5%) males, 42 (38.5%) females, 57 (52.3%) households with air-conditioning, 52 (47.7%) households without air-conditioning. American cockroach sensitization was significantly more prevalent in households without air-conditioning (30.3%) VS with air-conditioning (21.1%) (p = 0.016, oods ratio 2.56) and Alternaria sensitization wassignificantly less prevalent in households without air-conditioning (1.8%) VS with air-conditioning (12.8%) (p = 0.002, oods ratio 0.12) cat danders sensitization was significantly related to cat exposure (p = 0.023). Polysensitization was no significantly related (p > 0.05) among households without air-conditioning and with air-conditioning as well as cigarette smoking (p > 0.05). Conclusion : Patients living in households without air-conditioning were at increased risk of cockroach sensitization but in mold sensitization patients were significantly found in air-conditioning bedroom. Cat exposure was significant related to cat danders sensitization so households with pets especially cat were not recommended in allergic children. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กุมารเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3814 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.922 |
ISBN: | 9745327913 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.922 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
panithi.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.