Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42073
Title: | การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ |
Other Titles: | Development of mathematical reasoning ability and creativity of tenth grade students using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle |
Authors: | วรนารถ อยู่สุข |
Advisors: | จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ljinnadit@hotmail.com |
Subjects: | ความสามารถทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) Mathematical ability Mathematics -- Study and teaching (Secondary) |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม ภายหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 2.เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 3.ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม ภายหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 4.เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (ฉบับก่อนเรียน) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (ฉบับหลังเรียน) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ (ฉบับก่อนเรียน) และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ (ฉบับหลังเรียน) การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1.ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ภายหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 2.ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ภายหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ภายหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 4.ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ภายหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were : 1.to study mathematical reasoning ability of students compare to the criteria of 60% of total score after learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle. 2.to compare mathematical reasoning ability of students between before and after learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle. 3.to study mathematical creativity of students compare to the criteria of 60% of total score after learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle. 4.to compare mathematical creativity of students between before and after learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle. The subjects were 44 tenth grade students of Nakhonnayok Witthayakhom School in first semester of the 2012 academic year. The research instruments consisted of mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle, pretest and posttest for mathematical reasoning ability, and pretest and posttest for mathematical creativity. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, average percent, and t-test. The results of the study revealed that : 1.mathematical reasoning ability of students after learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle was higher than 60% of the set criterion score. 2.mathematical reasoning ability of students after learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle was higher than that before learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle at the .05 level of significance. 3.mathematical creativity of students after learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle was higher than 60% of the set criterion score. 4.mathematical creativity of students after learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle was higher than that before learning by using mathematical extra-curricular activities and experiential learning cycle at the .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42073 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.612 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.612 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
woranart_yo.pdf | 83.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.