Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42330
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุวดี ศิริ-
dc.contributor.authorพัชรภรณ์ ภาณุรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-05-12T08:30:38Z-
dc.date.available2014-05-12T08:30:38Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42330-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าของผู้บริโภค ที่เป็นลักษณะแบบรายวันตามตลาดหรือแผงลอย และการซื้อปลีกจำนวนไม่มากตามร้านชำหรือโชวห่วย ได้ปรับเปลี่ยนมาสู่การเข้าใช้บริการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เมื่อระบบโครงข่ายการคมนาคมได้มีการกระจายสู่พื้นที่ชานเมืองมากขึ้น ที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวออกไป แต่สถานที่รองรับการจับจ่ายใช้สอยยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงทำให้เกิดลักษณะของการรวมกลุ่มร้านค้าประเภทหนึ่ง ที่คนทั่วไปเรียกว่า คอมมูนิตี้ มอลล์ หรือ ศูนย์การค้าชุมชน และจากการที่แนวคิดและวิธีการในการดำเนินโครงการคอมมูนิตี้ มอลล์ยังเป็นเรื่องใหม่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการคอมมูนิตี้ มอลล์ โดยมีกรณีศึกษาคือ โครงการเพียวเพลสทั้ง 3 โครงการของบริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บริการคอมมูนิตี้ มอลล์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ลักษณะทางกายภาพของโครงการ พบว่า ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการใช้บริการคอมมูนิตี้ มอลล์ คือ (1) การเข้าถึงโคงการที่สะดวกสบาย ด้วยทำเลที่ใกล้แหล่งที่พักอาศัย ใช้ระยะเวลาในการเดินทางน้อยกว่า 10 นาทีหรือรัศมี 3 กิโลเมตรโดยรอบโครงการ (2) มีการจัดเตรียมสถานที่จอดรถในจำนวนที่เพียงพอ (3) ร้านค้าภายในโครงการ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ขนมและเครื่องดื่ม เพื่อรองรับต่อความต้องการของผู้เข้าใช้บริการ 2. พฤติกรรมของผู้เข้าใช้บริการ พบว่า ผู้เข้าใช้บริการส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ มีที่พักอาศัยโดยรอบโครงการอยู่ในชุมชนบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว เข้าใช้บริการกับครอบครัว ญาติ พี่น้อง โดยมีระดับรายได้ปานกลางถึงสูง จากผลการศึกษาดังกล่าว สามารถวิเคราะห์ความสอดคล้องของลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการเข้าใช้บริการได้ว่า การใช้บริการส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์การเข้าใช้บริการที่ชัดเจน เช่น การจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค และรับประทานอาหาร จึงไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าจำนวนมาก แต่ต้องมีร้านสำหรับซื้อสินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร ขนมและเครื่องดื่ม โดยพบว่าระดับการให้บริการของซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร ขนมและเครื่องดื่มจะมีการกำหนดราคาที่แปรผันตามระดับรายได้ของผู้เข้าใช้บริการ อีกทั้งในโครงการคอมมูนิตี้ มอลล์จะมีธนาคารเพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางเงิน ที่จะมีลักษณะเป็นเคาน์เตอร์ที่ให้บริการได้หลากหลายกว่าเครื่องบริการอัตโนมัติen_US
dc.description.abstractalternativeConsumer behavior has changed from daily shopping at fresh markets, food stalls, and retail shops to modern retail stores such as department stores, supermarkets, and hypermarkets, etc. With the expansion of transportation networks and housing into suburbs, the number of shopping centers in suburban areas is often less than demand. Such a gap in the market has led to groups of stores forming what’s known as a community mall, which is still a new concept in Thailand. The aims of the current study were to investigate consumer behavior and influences affecting the choice to shop at community malls, in particular the Pure Place community malls by the Pure Sammakorn Development Co., Ltd. According to the findings of the research, two main factors influencing consumers’ choice of mall are 1) physical location and 2) consumer behavior. The community malls most often chosen are located in consumers’ neighborhood with easy access and within 3 kilometers of their home, or less than a 10-minute drive. In addition, the community malls most preferred have ample parking. Furthermore, community malls have various kinds of stores to satisfy the needs of consumers including supermarkets, restaurants, bakeries, and cafés. In terms of consumer behavior, those with medium to high incomes who live in single family homes in real estate development projects tend to visit community malls with their families. It can be seen that consumers usually visited community malls with clear and specific purposes, for instance, shopping for household goods, and dining. Therefore, the concern is that there be shops offering consumer products, food and drink to suit everyday needs. Also, having an excessively large number of shops is not the main issue for consumers. Products in supermarkets and various types of food shops are priced to appeal to different levels of consumer income. Finally, besides the two main businesses mentioned, the other important service provided in community malls is banking, usually with small branches to serve the needs of consumers for simple financial transactions.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.971-
dc.subjectบริษัทเพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์en_US
dc.subjectศูนย์การค้าชุมชนen_US
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen_US
dc.subjectPure Sammakorn Development Companyen_US
dc.subjectShopping mallsen_US
dc.subjectConsumer behavioren_US
dc.titleพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการคอมมูนิตี้ มอลล์ : กรณีศึกษา บริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัดen_US
dc.title.alternativeBehavior and factors influencing consumers’ choice of community mall : a case study on the Pure Sammakorn Development Co., Ltd.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorYuwadee.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.971-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharaporn_pa.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.