Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43178
Title: | การดัดแปลงพระอภัยมณีของสุนทรภู่เป็นสื่อร่วมสมัย |
Other Titles: | THE ADAPTATION OF SUNTHORN PHU'S "PHRA APHAI MANI" TO CONTEMPORARY MEDIA |
Authors: | ชญานิศ นาคีรักษ์ |
Advisors: | ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | prapassornch@hotmail.com |
Subjects: | วรรณคดีไทย การเล่าเรื่องหนังสือ Thai literature Book talks |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกลวิธีในการเล่าเรื่องในนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ และศึกษารูปแบบหรือลักษณะการดัดแปลงนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่มาเป็นสื่อร่วมสมัย โดยศึกษาจากนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ และสื่อที่มีการนำเนื้อเรื่องดังกล่าวมาดัดแปลงเป็นสื่อร่วมสมัย รวมทั้งสิ้น 4 สื่อ 13 เรื่อง ได้แก่ นิทานภาพ 6 เรื่อง การ์ตูนคอมมิค 3 เรื่อง การ์ตูนแอนิเมชั่น 2 เรื่อง และภาพยนตร์ 2 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวม พระอภัยมณีฉบับนิทานคำกลอนนั้นเล่าเรื่องแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวคือ เมื่อเหตุการณ์หนึ่งจบลง อีกเหตุการณ์หนึ่งก็เกิดขึ้น ทั้งยังมีการเล่นคำทั้งสัมผัสในและสัมผัสนอกของทั้งคำและเสียง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสุนทรภู่ที่ช่วยให้เรื่องมีสีสันมากขึ้น ส่วนแก่นของเรื่องเป็นภาพสะท้อนชีวิตส่วนหนึ่งของสุนทรภู่ ด้านตัวละครในเรื่องนั้นมีค่อนข้างมาก แต่ตัวละครที่มีบทบาทโดดเด่นและส่งผลกระทบต่อเรื่องนั้นมีเพียงตัวละครหลักอย่างพระอภัยมณี สุดสาคร นางสุวรรณมาลี และนางละเวงวัณฬา กับตัวละครเอกอย่างพระฤๅษี นางเกษรา และอื่นๆ เท่านั้น ด้านพัฒนาการการเล่าเรื่อง ผู้วิจัยพบว่าเปลี่ยนแปลงไปตามโครงเรื่องและลักษณะของสื่อ โดยนิทานภาพเล่าเรื่องตามลำดับของเวลา ให้เหตุมาก่อนผล ส่วนการ์ตูนคอมมิค การ์ตูนแอนิเมชั่น และภาพยนตร์มีการลำดับพัฒนาการของเรื่องแบบผสมผสาน คือ มีทั้งที่เล่าตามลำดับของเวลาและการเล่าย้อนกลับไปในอดีต จากนั้นจึงกลับมาเล่าเรื่องในปัจจุบันต่อ ในส่วนของการดัดแปลงสื่อนั้น สื่อแต่ละประเภทคงโครงเรื่องหลักของพระอภัยมณีไว้ แต่ดัดแปลงรายละเอียดของเหตุการณ์หรือตัวละครต่างๆ กระทั่งสลับลำดับการเล่าเรื่องให้แตกต่างกันออกไป โดยเน้นความเหมาะสมของกลุ่มผู้รับเป็นหลัก ในนิทานภาพที่จัดทำเพื่อเด็กเล็กนั้นส่วนใหญ่คงเนื้อหาเดิมในฉบับนิทานคำกลอนไว้ แต่ตัดทอนรายละเอียดบางอย่างลงเพื่อให้อ่านได้ใจความ และเล่าเรื่องผ่านภาพประกอบกับตัวอักษรควบคู่กันไป ส่วนการ์ตูนคอมมิคที่เหมาะสำหรับเด็กโตจนถึงวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเนื้อหากับตัวละครเพื่อเพิ่มปมปัญหาของเรื่องและเน้นความเป็นเหตุผลในการกระทำของเหล่าตัวละครหลักมากขึ้น ด้านการ์ตูนแอนิเมชั่นที่มีกลุ่มผู้ชมเป็นเด็กโตจนถึงบุคคลทั่วไปนั้นเน้นสร้างสีสันให้แก่เนื้อเรื่องมากกว่าสื่ออื่น ตั้งแต่ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวกับเสียงพากย์กับเพลงประกอบ และมีการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครออกมา สุดท้ายภาพยนตร์ที่มีกลุ่มผู้ชมกว้างขึ้น แต่ด้วยความยาวของภาพยนตร์ที่จำกัด การเล่าเรื่องจึงรวบรัดด้วยการตัดสลับเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว และสื่ออารมณ์กับผู้ชมด้วยเทคนิคพิเศษได้ดีขึ้น |
Other Abstract: | This research aims to study elements and tactics of story planning in Phra Aphai Mani poem-tale by Sunthornphu. Including, understanding a large number of tale’s adaptations formats that transformed to be contemporary media by observing original Sunthornphu’s tale and adapted media based on Sunthornphu version. The media consist of 13 stories such as 6 picture books, 3 comics, 2 animations and 2 movies. According to thesis was overall seen that Phra Aphai Mani in poem version had continuously narrative and no end style which is able to explained as when a situation is finished, another story happen after. Moreover, there was an interesting creativity in the poem version which was providing special wording format affects the reading sound more beautiful. It enhanced the story of his became more incredible colourful when it is read. In part of main themes is Sunthornphu’s slide of life. In the story, there were a large number of created characters however, the main characters or important that ran the story consisted of Phra Aphai Mani, Sudsakorn, Suwanmalee, and Lavaingwanla with other main character; hermit and others only. Researcher found that the development of narratives in “Phra Aphai Mani” were adapted by two main factors both plot and type of media that it present. In picture books , the narratives are ordered by timeline and consequences always come after each action different from comic book , animations and movies in these media events order are mixed some are ordered by timeline but some are not In parts of contemporary media, each medium still maintained the main theme of original version; poem version but they had just adapted only some situations’ details, characters or changed the chronology variously by depending on customer target. For example, picture book created for children was mostly maintained poem wording in the media but cut some deliberate details for easier understanding and using words with picture corporate all together. Comic book media suits for children, teenagers and adults age, mostly, they added more information to increase a number of problems and enrich its rationality of main characters. In Animation was targeted to teenager until higher age people, it was created become more exciting in the story theme than other media such as animation picture with voice design and soundtrack. There was well-design of characters’ emotion expression better than other media obviously. Lastly, movies are limited by a certain time to draw audience’s attention in the theater so the producers have to shorten the plot by using parallel cutting and other techniques to engage with the audience. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43178 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.651 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.651 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584658728.pdf | 5.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.