Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43277
Title: การศึกษาความชุกของพฤติกรรมก้าวร้าวและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: THE PREVALENCE OF AGGRESSIVE BEHAVIOR AND ASSOCIATED FACTOR IN PATIENTS WITH DEMENTIA AT DEMENTIA CLINIC , KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL
Authors: ปิ่นชนานันท์ ตังอังคะนันท์
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: sookjaroen@gmail.com
Subjects: ภาวะสมองเสื่อม
การประเมินพฤติกรรม
Dementia
Behavioral assessment
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณา เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรค สมองเสื่อม จานวน 110 คน ที่มาเข้ารับการรักษาที่คลินิคโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบสมรรถภาพสมอง ของไทย Thai Mental State Examination (TMSE) แบบประเมินความก้าวร้าว Rating scale for Aggressive Behavior in the Elderly (RAGE) แบบทดสอบความรู้สึกเป็นภาระ Zarit Burden Interview Thai vertion) แบบประเมินความสามารถในการทากิจวัตรประจาวัน MBAI ข้อมูลที่บันทึกได้นามาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้สถิติ Chi-square ,T-test ,Peason Product Moment Correretion Coefficienc และ สถิติการถดถอย Logistic Regression Analysis ด้วยวิธี Backward likelihood ratio ผลการศึกษา : ความชุกของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว คิดเป็นร้อยละ 36.4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่(p<0.05)ได้แก่ สถานภาพสมรส โสด หม้าย หรือหย่า รายได้น้อย การไม่ได้รับยาต้านโรคจิต ความรู้สึกเป็นภาระการดูแลสูง จากการวิเคราะห์สถิติพหุตัวแปรพบว่าปัจจัยการทานายปัญหา พฤติกรรมก้าวร้าว ได้แก่ สถานภาพสมรส โสด หม้าย หรือหย่า และความรู้สึกเป็นภาระสูง โดยมี ค่า adjusted odd ratio เป็น 3.143 และ 2.924 ตามลาดับ สรุป : ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีความชุก ของพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 36.4 ซึ่งต่ากว่ารายงานจากต่างประเทศ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มี พฤติกรรมก้าวร้าว เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเป็นภาระการดูแลสูงและสถานภาพสมรส โสด หม้าย หรือหย่า
Other Abstract: Objective : To study the prevalence of aggressive behavior among patients with dementia at dementia Clinical ,King Chulalongkorn Memorial hospital. Methodology : This was a descriptive study consecutively recruited 110 patients with dementia and caregivers. The questionnaire consisted of the questionnaire assessed for demographic and clinical data, the Thai Mental State Examination (TMSE) , The Rating scale for Aggressive Behaviour in the Elderly (RAGE), the thai version of Zarit Burden Interview , and the Modified Barthel Activity of Daily Living Index ( MBAI). The statistical analysis was performed for descriptive and inferential statistics to demonstrate for the associated factors of aggressive behavior , including Pearson Chi-square test , T-test, Peason Product Moment Correretion Coefficienc and Logistic Regression Analysis With Backward likelihood ratio. Results: The prevalence of aggressive behavior among patients with dementia was 36.4 % . The associated factors for aggressive behavior were single or widowed or divorced marital status, low income, not prescribed for antipsychotic medication, high feeling of burden . The multivariate analysis showed that marital status and feeling of burden were the predictive factors for aggressive behavior with adjusted odd ratio of 3.143 and 2.924 respectively. Conclusion: The prevalence of aggressive behavior among the patients with dementia at the dementia clinic , King Chulalongkorn Memorial Hospital was 36.4 percentage , which is lower than the reports from western countries. The factors associated with aggressive behavior were single or widowed or divorced marital status and high feeling of burden from caregivers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43277
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.685
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.685
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5374812130.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.