Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43868
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์en_US
dc.contributor.authorชญาน์ดนย์ คุปตะวินทุen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.coverage.spatialไทย
dc.coverage.spatialเพชรบุรี
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:35Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:35Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43868
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการจัดการโฮมสเตย์ เป็นการจัดการบ้านพักที่อยู่ ในชุมชนชนบทที่มีคนในชุมชนเป็นเจ้าของบ้าน และต้องมีสมาชิกในครอบครัวอาศัยอยู่เป็นประจำ โดยนักท่องเที่ยวสามารถเข้าพักร่วมกับเจ้าของบ้านได้ ซึ่งสมาชิกในบ้านมีความยินดีและเต็มใจที่จะรับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งถ่ายทอดประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยวและพานักท่องเที่ยวเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวและทำกิจกรรมต่างๆ โดยเจ้าของบ้านได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของตัวเงิน เพื่อให้โฮมสเตย์เป็นกิจกรรมที่เสริมรายได้เพิ่มเติมจากอาชีพหลักของชุมชน โดยก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการโฮมสเตย์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการโฮมสเตย์ ตลอดจนเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการโฮมสเตย์บ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีให้กับ ผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแบบโฮมสเตย์ได้ในระยะยาวต่อไป วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าพักโฮมสเตย์ จำนวน 423 คน เจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ จำนวน 32 คน และเจ้าหน้าที่ อบต. จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจและสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้มีการตรวจสอบเครื่องมือ โดยค่าความตรงเท่ากับ 0.91 และค่าความความเที่ยงเท่ากับ 0.75 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.8 มีอายุระหว่าง 25 – 31 ปี ร้อยละ 33.1มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 46.1 มีอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.5 มีรายได้ต่อเดือนๆละ ระหว่าง 10,001 – 15,000 บาท ร้อยละ 25.4 มักเดินทางไปท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน ร้อยละ 49.8 เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ร้อยละ 49.8 ไปท่องเที่ยวครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเวลาระหว่าง 2-3 วัน ร้อยละ 50.8 ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโฮมสเตย์บ้านหม้อ จากอินเตอร์เน็ท ร้อยละ 38.0 มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวครั้งนี้ประมาณ 1,000 บาท หรือน้อยกว่า ร้อยละ 25.4 ต้องการไปท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากที่สุด ร้อยละ 51.4 2. ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการโฮมสเตย์บ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 10 ด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่พัก ( = 3.58) ด้านความปลอดภัย ( = 3.56) ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิกในครัวเรือน( = 3.53) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( = 3.58) ด้านวัฒนธรรม ( = 3.51) ด้านการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ( = 3.54) ด้านการบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์ ( = 3.53) ด้านประชาสัมพันธ์ ( = 3.50) ยกเว้น ด้านอาหารและโภชนาการ ( = 3.48) และ ด้านรายการนำเที่ยว ( = 3.48) อยู่ในระดับมาก 3. ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในโฮมสเตย์ เจ้าหน้าที่ อบต.บ้านหม้อ และเจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำแนวทางพัฒนาการจัดการโฮมสเตย์บ้านหม้ออำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ จำนวน 10 ด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่พัก ( = 3.76) ด้านอาหารและโภชนาการ ( = 3.78) ด้านความปลอดภัย ( = 3.82) ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิกในครัวเรือน( = 3.84) ด้านรายการนำเที่ยว ( = 3.83) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( = 3.86) ด้านวัฒนธรรม ( = 3.77) ด้านการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ( = 3.89) ด้านการบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์ ( = 3.82) และ ด้านประชาสัมพันธ์ ( = 3.62) สรุปผลการวิจัย ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการโฮมสเตย์ บ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 10 ด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ในด้าน ที่พัก ด้านความปลอดภัย ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิกในครัวเรือน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม ด้านการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ด้านการบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์ ด้านประชาสัมพันธ์ ยกเว้น ด้านอาหารและโภชนาการ และ ด้านรายการนำเที่ยว อยู่ในระดับมาก และ นักท่องเที่ยวที่เข้าพักในโฮมสเตย์ เจ้าหน้าที่ อบต.บ้านหม้อ และเจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำแนวทางพัฒนาการจัดการโฮมสเตย์บ้านหม้อไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ ทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeHomestay Management is a type of managing residence in rural communities, which there are people in the community as a homeowner and must have family members living on a regular basis . The tourists can stay with the homeowner . The house members are happy and willing to receive tourists to stay at their homes and convey traditions and local cultures and take tourists visiting attractions and participating outstanding local activities .The homeowners will receive compensation in the form of money. Homestay is a great activity that produces supplementary income from the main occupation of the community which strengthens the community. Purposes The purposes of this research were to study the state of homestay management of Banmor Sub District Muang District Phetchaburi Province, to study the opinion about guidelines for developing homestay management and develop the guidelines for developing homestay management Methods 473 samples were selected from tourists who travelled to stay at homestay ,homestay owners and Sub district Administrative Organization officers. Questionnaire and in-depth interview were used for data collecting. The statistical analysis was analyzed in term of means, standard deviation. Results 1. The opinion of tourists toward guidelines for developing homestay management on Thai homestay standard including 10 aspects and was ranked in highest level in terms of accommodation security courtesy of the homeowner and household members environment and natural resources value creation and value of products the management of homestay public relations and was ranked in high level in term of food and nutrition and excursions 2. The opinion of tourists ,homestay owners and Sub district Administrative Organization officers toward the possibility of bringing guidelines for developing homestay management to apply successfully on Thai homestay standard including 10 aspects and were ranked in highest level in all terms of accommodation, food and nutrition, security , courtesy of the homeowner and household .excursions, environment and natural resources, culture, Value creation and value of products. the management of homestay and public relations Conclusions The opinion of tourists toward guidelines for developing homestay management on Thai homestay standard was ranked in highest level in 8 aspects and were ranked in high level in 2 aspects.And the opinion of tourists , homestay owners and Sub district Administrative Organization officers toward the possibility of bringing guidelines for developing homestay management to apply successfully on Thai homestay standard including 10 aspects was ranked in the highest level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1329-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวโดยชุมชน -- การจัดการ
dc.subjectการท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ไทย -- เพชรบุรี
dc.titleแนวทางพัฒนาการจัดการโฮมสเตย์บ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีen_US
dc.title.alternativeA MANAGING DEVELOPMENT GUIDELINE OF BANMOR HOMESTAY MUANG DISTRICT PHETCHABURI PROVINCEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorlprapat@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1329-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478307439.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.