Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44544
Title: การกักเก็บสารลิโมนีนและเมทิลีนบลูในผงแห้งที่ไม่ละลายน้ำด้วยกระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอย
Other Titles: ENCAPSULATION OF LIMONENE OIL AND METHYLENE BLUE IN WATER-INSOLUBLE POWDER BY SPRAY DRYING
Authors: เยาว์วีร์ อิ่มสุทธิ์
Advisors: อภินันท์ สุทธิธารธวัช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Apinan.S@Chula.ac.th,apinan.s@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกักเก็บสารเมทิลีนบลูที่เป็นตัวแทนสารละลายน้ำและลิโมนีนที่เป็นตัวแทนของสารไม่ละลายน้ำ ทำได้โดยนำสารละลายแป้งไฮแคป-100 ที่ทำหน้าที่เป็นสารห่อหุ้ม ผสมกับพอลิเมอร์ทั้งสามชนิด คือ better sol ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ พอลิอะคริลิกแอซิต และพอลิเอทิลีนไกลคอล โดยผ่านเครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย จากนั้นทำการศึกษาปริมาณสารที่กักเก็บได้และอัตราการปลดปล่อยสารจากอนุภาคโดยใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ Avrami มาคำนวณค่าพารามิเตอร์ทางจลศาสตร์ จากการศึกษาอินฟาเรดสเปกตรัม สรุปได้ว่า อันตรกิริยาระหว่างแป้งไฮแคป-100 กับพอลิเมอร์ better sol เป็นอันตรกิริยาทางเคมี ซึ่งเกิดปฏิกิริยาเชื่อมขวางระหว่างหมู่ไฮดรอกซิลของแป้งกับหมู่คาร์บอกซิลิกของพอลิเมอร์ better sol ในขณะที่อันตรกิริยาระหว่างแป้งไฮแคป-100 กับพอลิอะคริลิกแอซิต และพอลิเอทิลีนไกลคอลเป็นอันตรกิริยาทางกายภาพ สำหรับการกักเก็บเมทิลีนบลูในอนุภาคที่ผสมพอลิเมอร์ better sol และพอลิเอทิลีนไกลคอล เมื่อความเข้มข้นพอลิเมอร์เพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตราการปลดปล่อยเมทิลีนบลูลดลง ในขณะที่พอลิอะคริลิกแอซิตไม่สามารถช่วยชะลอการปลดปล่อยได้ สำหรับค่าพารามิเตอร์ n ที่ได้จากสมการ Avrami มีค่าอยู่ในช่วง 1.16 แสดงว่ากลไกการปลดปล่อยเมทิลีนบลูเกิดจากการการละลายของเมทริกซ์อนุภาค ในส่วนของการกักเก็บลิโมนีน พบว่าการเติมพอลิเมอร์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ร้อยละคงอยู่ของลิโมนีนลดลง อย่างไรก็ตาม การเติมพอลิเมอร์ better sol สามารถกักเก็บลิโมนีนได้มากกว่ากรณีเติมพอลิเอทิลีนไกลคอล เนื่องจากพอลิเอทิลีนไกลคอลไม่สามารถกักเก็บลิโมนีนไว้ภายในอนุภาคได้ สำหรับค่าพารามิเตอร์ n ที่ได้จากสมการ Avrami มีค่าอยู่ในช่วง 0.51 และ 0.94 แสดงว่ากลไกการปลดปล่อยลิโมนีนจากอนุภาคที่เติมพอลิเมอร์ better sol เกิดจากการแพร่ การบวม และการละลายของเมทริกซ์อนุภาคผสมกัน
Other Abstract: Encapsulation of methylene blue as soluble-water compound and limonene as insoluble-water compound were prepared by mixing hicap-100 as wall material with polymer. The colloidal polymer named Better sol, polyethylene glycol (PEG) and polyacrylic acid (PAA) were used as wall materials. The mixture was fed through the spray drying. The retention of limonene was obtained and release rates were fitted with Avrami’s equation to estimated kinetic parameter. The infrared spectrum investigated that interaction between hicap-100 and better sol is chemical interaction. The chemical interaction was obtained from hydroxyl group of hicap-100 cross-linked with carboxylic group of better sol. In case of interaction between hicap-100 and PEG/PAA is physical interaction. The release rate of the methylene blue from the spray dried powder was decreased with the increasing of Better sol and PEG content. However, the increasing of PAA content was no significant difference in release rate of methylene blue. The kinetic parameter, n values were in the range of 1.16, implying that the release of encapsulated methylene blue was controlled by the polymer dissolution mechanism. In case of encapsulated limonene, the retention of limonene decreased as the polymer content increased. The adding of better sol was more efficiency in retention oil than adding PEG. The kinetic parameter, n values were in the same range of 0.51 to 0.94, implying that the release of encapsulated limonene was controlled by the anomalous mechanism.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44544
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570499921.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.