Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44754
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสม-
dc.contributor.authorวรีรัตน์ เกตุเต็ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2015-08-25T07:59:07Z-
dc.date.available2015-08-25T07:59:07Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44754-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกวิ่งสลับช่วงบนลู่กลและวิ่งสลับช่วงบนพื้นราบที่มีต่อตัวแปรทางสรีรวิทยาในเยาวชนชายกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย อายุ 19-23 ปี แบ่งเป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ฝึกวิ่งสลับช่วงบนลู่กล จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ฝึกวิ่งสลับช่วงบนพื้นราบจำนวน 15 คน ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกสลับช่วงจำนวน 3 รอบ โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ 75-85 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดและค่าอัตราการเต้นหัวใจที่ 55-65 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด โดยในสัปดาห์ที่ 1-6 ทำการฝึกสลับช่วงในอัตราส่วน 1:1 (4 นาที: 4 นาที) และสัปดาห์ที่ 7-12 ทำการฝึกสลับช่วงที่ อัตราส่วน 1.5:1 (6 นาที: 4 นาที) ทำการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยาก่อนการฝึก หลังฝึกสัปดาห์ที่ 6 และหลังฝึกสัปดาห์ที่ 12 ได้แก่น้ำหนักตัว ปริมาณไขมันในร่างกายอัตราการเต้นหัวใจขณะพัก อัตราการเต้นหัวใจสูงสุดสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในท่าเหยียดเข่าและท่างอเข่า นำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 12 ทั้งกลุ่มที่ฝึกวิ่งสลับช่วงบนลู่กลและกลุ่มที่ฝึกวิ่งสลับช่วงบนพื้นราบมีค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ปริมาณไขมันในร่างกายอัตราการเต้นหัวใจขณะพักอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจ และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดมีค่าไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ฝึกวิ่งสลับช่วงบนลู่กลและกลุ่มที่ฝึกวิ่งสลับช่วงบนพื้นราบ แต่พบว่าค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในท่าเหยียดเข่าและท่างอเข่าของกลุ่มที่ฝึกวิ่งบนพื้นราบมีมากกว่ากลุ่มที่ฝึกวิ่งบนลู่กลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 สรุปได้ว่าการฝึกวิ่งสลับช่วงบนลู่กลและบนพื้นราบมีผลดีต่อการพัฒนาสมรรถภาพของระบบหัวใจและหายใจได้ไม่แตกต่างกัน แต่การฝึกวิ่งสลับช่วงบนพื้นราบสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้มากกว่ากลุ่มที่ฝึกวิ่งบนลู่กลen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the effects of interval running on treadmill and on field upon physiological variables in male youths. Male students of Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University, aged 19-23 years were recruited. They were divided into 2 groups which were treadmill interval (n=15) and field interval (n=15) training groups. Both groups performed training assigned program that consisted of three intervals of high-intensity work (75-85%MaxHR)/low-intensity work (55-65 %MaxHR). In weeks 1-6, the interval training programs were performed at the ratio of 1:1 (4 minutes: 4 minutes) and weeks 7-12 at the ratio of 1.5:1 (6 minutes: 4 minutes). Physiological variables including body weight, body fat, resting heart rate, maximum heart rate, maximum oxygen consumption, cardiac output, and leg muscle strength at the positions of knee extension and knee flexion were measured at before the training, after week 6 training, and after week 12 training and then analyzed statistically. The results are as follow : 1. After week 12 training, both treadmill and field interval training groups showed significant increase in maximal oxygen consumption and leg muscle strength (p<.05). 2. There were no significant difference in body weight, body fat, heart rate at rest, maximal heart rate, cardiac output and maximal oxygen consumption between treadmill and field interval training groups. However, field interval training group had significantly higher in leg muscle strength at the knee extension and knee flexion position than treadmill interval training group (p<.05). In conclusion, treadmill and field interval training do not provide different results in terms of development in cardio-respiratory system but field interval training provides greater improvement in leg strength than treadmill interval training.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1612-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวิ่ง -- การฝึกen_US
dc.subjectRunning -- Trainingen_US
dc.titleการเปรียบเทียบระหว่างการฝึกวิ่งสลับช่วงบนลู่กลและวิ่งสลับช่วงบนพื้นราบที่มีผลต่อตัวแปรทางสรีรวิทยาen_US
dc.title.alternativeA comparison between treadmill and field interval training on physiological variablesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisordaroonwanc@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1612-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wareerat_ke.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.