Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45014
Title: | การพัฒนาค่าความแตกต่างอุณหภูมิเทียบเท่าสำหรับการคำนวณค่าการส่งผ่านความร้อนผ่านเปลือกอาคารชุดพักอาศัย |
Other Titles: | The temperature difference equivalentfor the OTTV calculation of condominium buildings |
Authors: | ปริฉัตร ว่องไววรวิทย์ |
Advisors: | อรรจน์ เศรษฐบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Atch.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ความร้อน -- การถ่ายเท อาคารชุด Heat -- Transmission Condominiums |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาค่าความแตกต่างอุณหภูมิเทียบเท่า (TDeq)สำหรับการคำนวณค่าการส่งผ่านความร้อนผ่านเปลือกอาคารชุดพักอาศัยให้มีการปรับเปลี่ยนทันตามยุคสมัย โดยทำการศึกษาด้วยการจำลองผลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ VisualDOE4.1 และศึกษาการกำหนดแบบอาคารอ้างอิงจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เปลี่ยนตัวแปรจำลองผลไปทั้งสิ้น 3,820 กรณี สำหรับศึกษาการใช้พลังงานการทำความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้ได้ค่าสัมประสิทธิ์ต่างๆ ที่จะใช้ในขั้นตอนต่อๆไป ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ วัสดุประกอบผนังอาคารตามกฎกระทรวงจำนวน 191 วัสดุ ทิศทางการหมุนอาคาร 4 ทิศทาง ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ (absorptance = α) ตั้งแต่ 0.1 - 0.9 และนำผลที่ได้จากการจำลองมาหาสมการถดถอยทางสถิติ (regression) และแทนค่าสัมประสิทธิ์ต่างๆ ลงในสมการคำนวณ ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (overall thermal transfer value, OTTV) และการคำนวณความต้องการความเย็นในการปรับอากาศต่อหน่วยพื้นที่ (Cooling Requirement = CR) จากนั้นนำผลที่ได้จากการคำนวณไปแสดงเป็นแผนภูมิ โดยแบ่งช่วงของมวลอุณภาพ (Density Specific Heat = DSH) ออกเป็น 4 ช่วง จากนั้นสรุปให้เป็นตารางค่าความแตกต่างอุณหภูมิเทียบเท่า (TDeq) พร้อมวิธีการคำนวณสำหรับอาคารชุดพักอาศัยที่มีสัดส่วนของพื้นที่กระจกและผนังทึบ (Window to Wall Ratio = WWR)=40% ใช้กระจกลามิเนตสีเขียว 6 มม.+6 มม. มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (Solar Heat Gain Coefficient = SHGC) = 0.52 เท่านั้น ผลการจำลองสรุปได้ว่า เมื่อค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ (α) = 0.1 มีประสิทธิภาพในการลดพลังงานการทำความเย็นของอาคารชุดพักอาศัยได้ดี โดยในทุกทิศทางการวางอาคารนั้นแปรผันตามค่าความต้านทานความร้อน (U-value) ของวัสดุประกอบอาคาร ยิ่งมีค่าสูงมาก ค่า α= 0.1 ยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดพลังงานมากเช่นกันการเพิ่ม DSH จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในกรณีที่วางอาคารตามทิศทาง 180 องศา การเพิ่ม DSH ให้มีค่ามากกว่า 100 กับวัสดุที่มีค่า α= 0.9 จะมีประสิทธิภาพในการลดค่า TDeqให้มีค่าเทียบเท่าการใช้วัสดุที่มีค่า α= 0.7 เมื่อวัสดุนั้นมีค่า DSH ค่ามากกว่า 100 การเพิ่มค่า DSH ในวัสดุที่มีค่า α = 0.1กับการวางอาคารทุกทิศทางมีประสิทธิภาพน้อยกว่า การเพิ่มค่า DSH ในค่า αอื่นๆ สังเกตจากเส้นความเปลี่ยนแปลงของค่า TDeqเมื่อมีค่า DSH เพิ่มขึ้น แผนภูมิแสดงค่าการใช้พลังงานการทำความเย็นมีการลดค่าลงบ้างเล็กน้อย หรือ แทบจะไม่มีผล สามารถสรุปได้ว่าค่า DSH จะมีผลต่อการถ่ายเทความร้อนน้อยลงเมื่อค่า αของวัสดุนั้นต่ำกว่า 0.3 จากการเปรียบเทียบการคำนวณจากสมการของดนุสรณ์ และสมการที่ได้จากการศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้พบว่า เมื่อคำนวณผนัง 1 ชนิดไม่ว่าจะในทิศทางใด หรือสีใดก็ตาม เมื่อคำนวณด้วยสมการของดนุสรณ์จะได้ผลลัพธ์เพียงค่าเดียว ในขณะที่สมการในงานวิจัยนี้ผนัง 1 ชนิดสามารถเลือกคำนวณได้ตามลักษณะทิศทาง สีของผนังและมวลอุณหภาพของวัสดุผนังที่ใช้ประกอบอาคารสำหรับการวิจัยในอนาคตควรพัฒนาสมการสำหรับคำนวณกับอาคารชุดพักอาศัยที่มีWWR หลากหลาย กระจกชนิดต่างๆ รวมทั้งลักษณะของแผงกันแดดแบบต่างๆ ของอาคารชุดพักอาศัย |
Other Abstract: | This research studies the developmentof the Temperature Difference Equivalent (TDeq) for calculating the Overall Thermal Transfer Value (OTTV) through the building envelope to be up-to-date. This was achieved by studying with the computer simulation programs VisualDOE 4.1. Studying the baseline building model was based on the related researchs. Parameters in the simulation have 3,820 cases for the energy consumption of air conditioning to define the coefficients which are going to be used in the next step. The parameters studied include 191 building materials under regulation, 4 directions for rotating the building model, and 5 values of solar absorptant coefficients ranging from 0.1 to 0.9. All the results of the simulation for statistical regression were brought together. The various coefficients were used to calculate the OTTV and Cooling Requirement (CR) equations. The results were also shown in graphs and charts and by separating the Density Specific Heat (DSH) into 4 ranges. Then, summarized into the tables of TDeq and method of calculation for residential condominiums with a total area of glass and solid walls (Window to Wall Ratio = WWR) = 40% using green laminated glass 6mm. + 6mm. with a Solar Heat Gain Coefficient (SHGC) = 0.52 only. Results conclude that solar absorption coefficient (α) = 0.1 is effective in reducing the cooling energy of residential condominiums with placing the building in all directions. The Direction of the building is varied by the overall coefficiency of heat transmission (U value) of the building materials. When the U value is a high rate theα = 0.1 are extremely effective in reducing energy consumption as well. Adding DSH is the most effective in cases of placing the building in the direction of 180 degrees. DSH value of more than 100 on materials with α = 0.9 is effective in reducing the TDeq value the same as using materials with α = 0.7 when the materials have the same DSH. Increasing the DSH in materials with α = 0.1 for the building where places are in all directions is less efficient than adding the DSH value in other α value. It was observed that the chart shows the energy consumption is reduced a little or has almost no effect. It can be concluded that the DSH value will gain less affect when the α value is less than 0.3. A comparison between Danusorn, the 2011 equation and an equation from this research found that when calculating OTTV, whether in any direction or any color the calculation with Danusorn, and the 2011 equation will output a single value. In contrast, the equations in this research can be calculated according to directions, colors, and the DSH of the wall materials used in building. Future research should develop equations for calculating residential condominiums with a wide range of glass types, WWR, and include the effects of shading types. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45014 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1736 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1736 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
parichat_wo.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.